คลังเดินหน้าตั้งกองทุนกบช. ชี้จำเป็นต้องมีสำนักงานมาบริหารจัดการ

23 พ.ค. 2561 | 05:18 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

คลังแจงร่างกฎหมาย กบช.อยู่ในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา เมินเสียงต้าน เดินหน้าตั้งกบช. หากกฎหมายมีผลบังคับ เหตุเป็นเรื่องการบริหารงานปกติ ไม่เกี่ยวกับบริหารเงินกองทุน

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประมาณการว่า จำนวนผู้สูงอายุจะมีถึง 20 ล้านคนในปี 2568 ทำให้เป็นภาระต่องบประมาณรัฐบาล โดยคาดว่า ในปี 2567 รัฐบาลจะมีงบประมาณในการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เบี้ยยังชีพและสมทบกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)ถึง 6.98 แสนล้านบาท คิดเป็น 15.83% ของภาระงบประมาณ  จึงมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ...เพื่อจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)

แต่ปัจจุบันกำลังได้รับการคัดค้านจากเอกชนในการจัดตั้งสำนักงานขึ้นมาดูแลกองทุน กบช. เพราะเห็นว่า กบช.เป็นเงินของภาคเอกชนทั้งหมด โดยที่ลูกจ้างจ่ายและนายจ้างสมทบ ไม่มีเงินจากรัฐมาเกี่ยวข้อง จึงไม่เห็นความสมเหตุสมผลที่จะให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวในการบริหารจัดการไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมเจ้าของเงินควรมีอิสระในการเลือกนโยบายการลงทุนและผู้จัดการกองทุนและเรียนรู้การจัดการเงินออมของตนเอง

porn

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยว่าขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ...อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ตามม.77 แห่งรัฐธรรมนูญไปแล้วหากสำนักงานกฤษฎีกาจะสอบถามในฐานะหน่วยงานรัฐก็ต้องยืนยันตามร่างกฎหมายที่เสนอไป

“เราคงพูดรายละเอียดมากไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา แต่ประเด็นที่เอกชนค้านนั้นเห็นว่า การตั้งสำนักงานขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการเป็นเรื่องปกติ ซึ่งก็เหมือนกับกอช. หรือ กบข.ที่ต้องมีหน่วยงานเข้ามาบริหาร เพราะจะมีบริษัทเล็กๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายมาดูแลในเรื่องนี้ ก็ต้องให้มีสำนักงานการกลางมาช่วยดูแล ส่วนการบริหารการลงทุนจะเป็นอีกเรื่อง ซึ่งก็ต้องขึ้นกับเรื่องทางสำนักงานจะว่าจ้างกองทุนรายเดียวหรือหลายรายมาบริหาร”

อย่างไรก็ตามกบช.เป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ ก็จะมีรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่อาจจะมีเงินสะสมไม่เพียงพอก็ต้องจัดตั้งกบช.ขึ้น ซึ่งรัฐเองก็ต้องสมทบเงินเข้าไปด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีเงินรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ทั้งนี้กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า ปีแรกของการจัดตั้งกบช.จะมีเงินสะสมในส่วนของสมาชิกและนายจ้างรวมราว 6 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่มีแรงงานในระบบราว 16 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีลูกจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคสมัครใจไปเพียง 3 ล้านคน มีเงินกองทุนรวมกันประมาณ 9 แสนล้านบาท  ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 12-13 ล้านคน ยังไม่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าว จะกำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างต้องเข้าเป็นสมาชิกกบช.

สำหรับบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภาคสมัครใจ อยู่แล้ว หากอัตราการส่งเงินสะสมและสมทบเข้ากองทุนไม่ตํ่ากว่าอัตราที่กฎหมาย กบช.กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องโอนเข้ามาเป็นสมาชิกของกบช. โดยยังคงอยู่ในระบบเดิมได้ แต่หากอัตราเงินสะสมและสมทบตํ่ากว่าที่ กบช.กำหนดหากสมัครใจเพิ่มเงินสะสมและสมทบให้เท่ากับหรือสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็จะไม่ถูกบังคับให้ต้องเข้ากบช.
MP19-3367-A

 

 

 

หน้า 19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,367 วันที่ 20-23 พ.ค. 2561  e-book-1-503x62-7