“เฉลิมชัย”ปลื้ม โรคลัมปี สกิน พบสัตว์ป่วยรายเดือนลดลงถึง 99.38%

01 ก.ย. 2565 | 03:26 น.

“เฉลิมชัย” ปลื้มผลสำเร็จปศุสัตว์ 5 มาตรการควบคุมโรคลัมปี สกิน ปัจจุบันพบสัตว์ป่วยรายเดือนลดลงถึง 99.38%” อธิบดีกรมปศุสัตว์ โชว์ศักยภาพกำลังการผลิตวัคซีนเดือนละ 50,000 โด๊ส เพื่อความมั่นคงของวัคซีนสำหรับการป้องกันโรคลัมปี สกินของประเทศ

“เฉลิมชัย”ปลื้ม โรคลัมปี สกิน พบสัตว์ป่วยรายเดือนลดลงถึง 99.38%

 

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การเกิดของโรคลัมปี สกินในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมาก พบสัตว์ป่วยรายเดือนปี 2565 เทียบปี 2564 มีจำนวนลดลงถึงร้อยละ 99.38 (ในปี 2565 พบค่าเฉลี่ยรายเดือนของจำนวนสัตว์ป่วยทั้งประเทศจำนวน 389 ตัวเท่านั้น เทียบในปี 2564 พบค่าเฉลี่ยรายเดือนของจำนวนสัตว์ป่วยทั้งประเทศ จำนวน 62,654 ตัว) รายงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน

 

“เฉลิมชัย”ปลื้ม โรคลัมปี สกิน พบสัตว์ป่วยรายเดือนลดลงถึง 99.38%

พบสัตว์ป่วยใหม่เพียง 3,115 ตัว (ข้อมูลวันที่ 30 สิงหาคม 2565) ซึ่งสัตว์ป่วยส่วนใหญ่นั้น เป็นลูกสัตว์ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน ถือเป็นผลสำเร็จอย่างยิ่งด้านปศุสัตว์จากการดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันโรคลัมปี สกินอย่างเข้มงวดต่อเนื่องของกรมปศุสัตว์ และต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือที่ให้ความสำคัญร่วมมือมาโดยตลอด

 

“เฉลิมชัย”ปลื้ม โรคลัมปี สกิน พบสัตว์ป่วยรายเดือนลดลงถึง 99.38%

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคลัมปี สกินที่สำคัญ 5 มาตรการ ประกอบด้วย 1. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นการรู้โรคให้เร็ว เพื่อให้การควบคุมโรคให้สงบอย่างรวดเร็วและการประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้เกษตรกรเฝ้าระวังและมีการป้องกันโรคอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง 2. เข้มงวดการควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ โดยกรมปศุสัตว์ได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆตามสถานการณ์การระบาดของโรค

 

 

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้น้อยที่สุด 3. ควบคุมแมลงพาหะนำโรค โดยการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมีการป้องกัน และควบคุมแมลงพาหะนำโรคอย่างถูกวิธี ด้วยการใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์และบริเวณพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อลดจำนวนแมลงพาหะในการนำโรคเข้าสู่ฟาร์ม

 

 

รวมถึงการป้องกันโดยวิธีอื่นๆ เช่น การกางมุ้ง ใช้ไฟไล่แมลง กับดักแมลง เป็นต้น ซึ่งมีการดำเนินงาน และได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมด้วย 4. รักษาสัตว์ป่วยตามอาการและระยะการป่วยของโค กระบือ เนื่องจากไม่มียาในการรักษาที่จำเพาะ แต่โค กระบือสามารถหายป่วยจากโรคดังกล่าวได้ หากมีการจัดการดูแลรักษาสัตว์อย่างเหมาะสม

 

 

“เฉลิมชัย”ปลื้ม โรคลัมปี สกิน พบสัตว์ป่วยรายเดือนลดลงถึง 99.38%

 

โดยมีหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ของกรมปศุสัตว์เข้าดำเนินการช่วยรักษาและให้คำแนะนำในการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อลดความสูญเสีย โดยกรมปศุสัตว์มีการสนับสนุนเวชภัณฑ์ในการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพโค กระบือให้กลับมามีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และ 5. ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับโค กระบือของเกษตรกร เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรค ลดการแพร่ระบาดของโรคและความสูญเสีย เนื่องจากโรคนี้มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ดี

 

 

ในปี 2564 ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์มีการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศรวม 5,360,000 โด๊ส และได้รับการบริจาคจากภาคเอกชนราว 700,000 โด๊ส โดยได้มีการดำเนินการฉีดวัคซีนให้โค กระบือของเกษตรกรทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้เร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้สำหรับป้องกันโรคทดแทนการนำเข้า ซึ่งได้มีการนำไปใช้ในพื้นที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 แล้ว โดยปัจจุบันมีศักยภาพกำลังการผลิตเดือนละ 50,000 โด๊ส และจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อไปเพื่อความมั่นคงของวัคซีนสำหรับการป้องกันโรคลัมปี สกินของประเทศ

 

สำหรับในปีงบประมาณ 2565 นี้ กรมปศุสัตว์ได้รับการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เพื่อจัดซื้อวัคซีนจำนวน 6,300,000 โด๊สเพิ่มเติม เพื่อใช้สำหรับการฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กับสัตว์ของเกษตรกรที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วและฉีดให้กับสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน

 

โดยเฉพาะในลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันระดับฝูงต่อโรคลัมปี สกิน ลดการแพร่ระบาดของโรคและการป่วยตายของสัตว์ รวมทั้งทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคดังกล่าว เนื่องจากการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคภายในประเทศจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้โค กระบือต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ตามแนวทางการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข่าวสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ www.dld.go.th หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225-6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง