ทูตเกษตร กว่างโจว อัพเดท ตลาดยางพาราในจีนซบเซา

16 ส.ค. 2565 | 06:55 น.

อัพเดท ตลาดยางพาราในจีนซบเซา ทูตเกษตร กว่างโจว รายงาน จีนเข้าสู่ช่วงฤดูปิดกรีดยาง ผลผลิตยางใหม่เพิ่มขึ้น ยางรถยนต์คงค้างในสต็อกมาก ลุ้น ส.ค. กลับมาคึกคัก จากนโยบายส่งเสริมการบริโภครถยนต์ที่ออกมาของจีนจะช่วยให้มีการใช้ยางพาราธรรมชาติเพิ่มขึ้น

ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว รายงานตลาดยางพาราธรรมชาติของจีน ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ตามข้อมูลตรวจวัดและสังเกตการณ์จากกรมไชน่าฟาร์ม (China State Farm) ของกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ราคายางแผ่นรมควันไทยเบอร์3 (RSS3: Ribbed SmokedSheets 3) และราคา SIR 20 (Standard Indonesia Rubber 20) ยางแท่งมาตรฐานของอินโดนีเซียพบว่าราคาอยู่ในแนวโน้มปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

 

ส่วนราคายางมาตรฐาน (SCRWF: StandardChinese Rubber Whole Fraction) ที่มีของอยู่ทั้งแหล่งการผลิตและแหล่งจำหน่ายในประเทศจีน ราคาปรับลดลงในช่วงยี่สิบวันแรกของเดือน และได้ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือน ตลอดทั้งเดือนราคามีความผันผวนในช่วง 11,750 - 12,950 หยวนต่อตัน โดยราคาเฉลี่ยปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

 

แหล่งการผลิตสำคัญในต่างประเทศ

 

ราคายางแผ่นรมควันไทยเบอร์3 (RSS3: Ribbed Smoked Sheets 3) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,949 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้า ปรับลดลง 189 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 2,055 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1,875 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน SIR20 (Standard Indonesia Rubber 20) ยางแท่งมาตรฐานของอินโดนีเซีย ราคาเฉลี่ยอยู่ที่1,587 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้า ปรับลดลง 68 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

 

 

ทูตเกษตร กว่างโจว อัพเดท ตลาดยางพาราในจีนซบเซา

 

โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 1,655 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1,535 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันราคายางพาราในตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์สินค้า RSS3 ที่ครบกำหนดเวลาส่งมอบ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่1,828 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้า ปรับลดลง 241 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันโดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 1,947 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1,735 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

 

แหล่งการผลิตสำคัญภายในประเทศ

 

ทูตเกษตร กว่างโจว อัพเดท ตลาดยางพาราในจีนซบเซา

ในเดือนกรกฎาคม 2565แหล่งการผลิตยางพาราธรรมชาติหลักของจีนเข้าสู่ช่วงฤดูกรีดยาง ผลผลิตยางใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำยางดิบ (เมื่อเทียบเป็นยางแห้ง) ที่มณฑลไห่หนาน เฉลี่ยอยู่ที่ 12,676หยวนต่อตัน ลดลง 2,676 หยวนต่อตัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และที่มณฑลยูนนาน เฉลี่ยอยู่ที่ 11,781 หยวนต่อตัน ลดลง 1,267 หยวนต่อตันเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

 

แหล่งการขายสำคัญภายในประเทศ

 

ตลาดนครเซี่ยงไฮ้ราคายางมาตรฐาน (SCRWF) ซึ่งผลิตภายในประเทศ ราคาขายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12,324 หยวนต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้า ปรับลดลง 500 หยวนต่อตัน โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 12,950 หยวนต่อตัน ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,750 หยวนต่อตัน

 

ตลาดเมืองชิงต่าว ราคาขายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12,324 หยวนต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้า ปรับลดลง 500 หยวนต่อตัน โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 12,950 หยวนต่อตัน ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,750หยวนต่อตัน

 

ตลาดนครเทียนจิน ราคาขายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12,324 หยวนต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้า ปรับลดลง 519 หยวนต่อตัน โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 12,950 หยวนต่อตัน ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,750หยวนต่อตัน

 

ด้านการนำเข้า ตามสถิติของศุลกากรแห่งชาติจีน เดือนมิถุนายน 2565 ประเทศจีนมีการนำเข้ายางพาราธรรมชาติ168,200 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.71 มูลค่านำเข้าเฉลี่ย 1,641.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 2.30 โดยเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565มีการนำเข้ายางพาราธรรมชาติรวม 1,200,400 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.47

 

เดือนมิถุนายน 2565 ประเทศจีนมีการนำเข้ายางผสม (ยางธรรมชาติผสมยางสังเคราะห์) 260,200 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.80 มูลค่านำเข้าเฉลี่ย 1,760.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 โดยเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565 มีการนำเข้ายางผสม (ยางธรรมชาติผสมยางสังเคราะห์) รวม 1,505,600 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09

 

 

• การวิเคราะห์และคาดการณ์

 

ในช่วงยี่สิบวันแรกของเดือนกรกฎาคม 2565 จากการที่แหล่งผลิตยางพาราธรรมชาติหลักทั้งในและต่างประเทศต่างให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตลาดรถบรรทุกขนาดใหญ่ยังคงซบเซาโดยมียอดจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า วิสาหกิจผลิตยางรถยนต์มีความต้องการวัตถุดิบยางต่ำตามวงรอบการผลิต ในขณะที่ยังมียางรถยนต์คงค้างในสต็อกมาก และสภาพอากาศที่ร้อนมากทำให้มีการผลิตต่ำ

 

กอรปกับมีการนำเข้ายางพาราเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และปริมาณสต็อกยางพาราที่ท่าเรือชิงต่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ต่างเป็นปัจจัยกดดันต่อราคายางพาราธรรมชาติในตลาดจีน โดยราคามีการปรับลดลง ในขณะที่ช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือน จากการที่นโยบายส่งเสริมการบริโภครถยนต์มีการนำไปใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ช่วยหนุนการฟื้นตัวของการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ วิสาหกิจปลายน้ำมีต้นทุนการจัดซื้อลดลง จึงมีการจัดซื้อวัตถุดิบยางเพิ่มขึ้น ต่างเป็นปัจจัยบวกต่อราคายางพาราธรรมชาติในตลาดจีน ส่งผลให้ราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

 

ในเดือนสิงหาคม 2565 จากนโยบายส่งเสริมการบริโภครถยนต์ที่ออกมาของจีนจะช่วยให้มีการใช้ยางพาราธรรมชาติเพิ่มขึ้น ตลาดผู้บริโภครถยนต์จะกลับมาคึกคัก การผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ การเพิ่มขึ้นของการนำเข้ายางพาราธรรมชาติมีข้อจำกัด (ตามปริมาณผลผลิต)ในขณะที่ปริมาณยางในสต็อกยังคงอยู่ในระดับต่ำ ต่างเป็นปัจจัยบวกต่อราคายางพาราธรรมชาติในตลาดจีน

 

แต่การที่แหล่งผลิตยางพาราธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศต่างอยู่ในช่วงการกรีดยางทำให้อุปทานยางใหม่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่วิสาหกิจผลิตยางรถยนต์ยังคงมีสินค้าค้างอยู่ในสต็อกจำนวนมาก ความต้องการวัตถุดิบยางยังคงอ่อนตัว กอรปกับการผลิตและจำหน่ายรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าสู่ช่วงซบเซาตามวงรอบยากที่จะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในช่วงสั้น ๆ ต่างเป็นปัจจัยกดดันต่อราคายางพาราธรรมชาติในตลาดจีนโดยคาดว่าในเดือนสิงหาคมราคายางมาตรฐาน (SCRWF) ในแหล่งการขายสำคัญภายในประเทศจะแกว่งตัวอยู่ในระดับราคา 12,000 หยวนต่อตัน

 

 

ที่มา (คลิกอ่าน

 

 

สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา รายงานราคายางพารา ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2565