KEY
POINTS
หากการปิดด่านเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรพิจารณา
1. การกระจายความเสี่ยงการค้าไปยังด่านอื่นที่ยังเปิดอยู่
2. การพัฒนาโลจิสติกส์ทางเลือก เช่น รถไฟ, ทางทะเล (ผ่านเวียดนาม/ลาว)
3. การเจรจาระดับทวิภาคี เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจให้ผู้ค้า
อย่างไรก็นโยบายความช่วยเหลือด้านการค้า ยังรอประเมินสถานการณ์ก่อน
กรมการค้าต่างประเทศ รายงานว่า ได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบ หากมีการปิดด่านการค้าชายแดนไทย–กัมพูชา ซึ่งมีอยู่ 4 ข้อหลักๆ ได้แก่
จากข้อมูลมูลค่าการค้าในแต่ละด่านศุลกากรสำคัญ(ปี 2567) ดังนี้
อย่างไรก็ตาม หากปิดด่านอรัญประเทศเพียงแห่งเดียว จะส่งผลต่อมูลค่าการค้า มากกว่า 60% ของทั้งหมดปิดด่านคลองใหญ่ + จันทบุรี รวมกันอีก 30% ดังนั้น สรุปการปิดด่านใหญ่ 3 แห่งจะทำให้การค้าชายแดนไทย–กัมพูชาหยุดชะงักเกือบทั้งหมด
สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ ม.ค.–เม.ย. 2568 ได้แก่เครื่องดื่ม, ส่วนประกอบรถยนต์/จักรยานยนต์, เครื่องยนต์, เครื่องจักรกลเกษตรคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด
ขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญ คือ มันสำปะหลัง, เศษโลหะ (อลูมิเนียม, ทองแดง), ลวดสายไฟ ฯลฯ สินค้าเหล่านี้สำคัญต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องในไทย เช่น อาหารสัตว์, รีไซเคิล, อิเล็กทรอนิกส์ โดยการปิดด่านจะทำให้เกิดความล่าช้า, ต้นทุนเพิ่ม, ห่วงโซ่การผลิตสะดุด
แม้ปัจจุบัน เดือนมิถุนายน 2568 จะมีการ "ปรับวันและเวลาเปิด-ปิดด่าน เฉพาะการควบคุมคนเข้าออก ไม่กระทบการค้าสินค้าโดยรวมแต่ถ้ามีการ "ปิดด่านอย่างถาวร" หรือ "ปิดหลายด่านพร้อมกัน" จะกระทบทันทีในระดับดังนี้