บอร์ดเฉพาะกิจ เคาะ 4 แผนควิกวินสู้วิกฤตเศรษฐกิจ ลุ้นอุ้มราคาพลังงานต่อ

11 ส.ค. 2565 | 07:15 น.

นายกฯ ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ เคาะ 4 แผนควิกวินสู้วิกฤตเศรษฐกิจ ลุ้นอุ้มราคาพลังงานต่อ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ นัดแรก ได้รับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจ และเห็นชอบมาตรการระยะเร่งด่วน (Quick win) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการทันทีหลังจากมาตรการที่มีอยู่เสร็จสิ้น

 

สำหรับมาตรการ Quick win ครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 4 เรื่อง ดังนี้

1.มาตรการประหยัดพลังงาน ทั้งมาตรดารแระหยัดพลังงาน การพิจารณาต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ซึ่งกระทรงงการคลังจะไปหารือกับกระทรวงพลังงานหาข้อสรุปต่อไป รวมทั้งยังมีมาตรการดูแลค่าใช้จ่ายในมุมประชาชนจัดจำหน่ายบัตรโดยสารรายเดือน เพื่อลดภาระของประชาชน โดยมีบัตรโดยสารรถ ขสมก. บัตรรถโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รฟท.) บัตรโดยสารรถไฟฟ้า MRT ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันพร้อมดำเนินการ

 

2.มาตรการแก้ปัญหาวิกฤตการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบด้านการเกษตร ทั้งโครงการบริหารจัดการปุ๊ย โครงการส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์

3.มาตรการทางการเงินภาคครัวเรือน และ SME เช่นโครงการพักทรัพย์พักหนี้ การค้ำประกันสินเชื่อ SME การสนับสนุนการให้สินเชื่อผู้ประกอบธุรกิจ

 

4.มาตรการสนับสนุนการเงินในการพัฒนาศักภาพ การขยายวัตถุประสงค์ของมาตรการทางเงิน เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจ เช่น การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สนับสนุนสินเชื่อจาก พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ ยังเหลืออยู่ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มีทุนเพื่อใช้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และเทคโนโลยี

 

พร้อมกันนี้ยังเห็นชอบมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรการต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ มาตรการประหยัดพลังงาน อาทิ ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และลดต้นทุนและปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง โดยมุ่งเนันการขนส่งทางราง 

 

เช่นเดียวกับมาตรการต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบด้านการเกษตร เช่น ศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุน/ร่วมทุน ในการจัดตั้งโรงานผลิตปุยโปแทสเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ 

 

มาตรการต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SMEอาทิ การพัฒนาทักษะทางการเงินในทุกช่วงวัย การดำเนินการของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยและมาตรการต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและการลดลงของขีดความสามารถในการแข่งขัน อาทิ มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

 

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เรื่องของราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า จะไปคุยกันในคณะอนุกรรมการก่อนว่าจะทำยังไงต่อ หรือมีมาตรการอะไรจะต่อได้บ้าง ก่อนจะสรุปมาอีกครั้ง