เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว

02 ส.ค. 2565 | 08:28 น.

เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว  มั่นใจส่งออกครึ่งปีหลังเติบโตต่อเนื่อง เสนอรัฐควบคุมต้นทุนให้แข่งขันได้ ทั้งปีมั่นใจขยายตัว8-10%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สรท. คาดการณ์การส่งออกรวมปี 2565 ทั้งปีที่ 6-8% (ณ เดือนสิงหาคม 2565) โดยมีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2565 ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อโลกที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง IMF คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2565 ประเทศพัฒนาแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

และประเทศเกิดขึ้นหรือประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ 9.5% ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น กำลังซื้อผู้บริโภคในระดับกลางและระดับล่างทั่วโลกมีสัญญาณชะลดตัว  ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง

เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว

จากสงครามยูเครนและรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก เนื่องจากน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้า รวมถึงต้นทุนการขนส่งที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาพลังงานในตลาดโลก

เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว

รวมถึงค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลยังทรงตัวในระดับสูงและเริ่มมีการปรับลดลงในหลายเส้นทาง แต่พบว่าค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่สถานการณ์ตู้เปล่าที่นำเข้ามาในประเทศไทยเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน แป้งสาลี อาหารสัตว์ ปุ๋ย เป็นต้น

เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว

ทั้งนี้ สรท.มีข้อเสนอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องอัตราดอกเบี้ยภาคเอกชนห้องกาให้ธนาคารแห่งประเทศไทย คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่0.5% เพื่อประคองให้การฟื้นตัวภาคธุรกิจยังคงดำเนินการได้ และไม่เป็นการซ้ำเติมรายจ่ายของผู้บริโภคและต้นทุนของผู้ประกอบการมากเกินไป และธนาคารพาณิชย์เร่งออกแคมเปญเพื่อช่วยเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการส่งออกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ในขณธที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งสร้างโอกาสทางการในตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น CLMV รวมถึงตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เช่นกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซาอุดิอาระเบีย อิรัก เป็นต้น  และเร่งรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศให้อยู่ระดับที่เหมาะสม ผ่านเครื่องมือหรือกลไกในการควบคุม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากเกินไป

เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว

ทั้งนี้ ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม - มิถุนายนของปี 2565 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 149,184.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 12.7% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 4,945,248 ล้านบาท ขยายตัว 23.1% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม - มิถุนายนขยายตัว 9%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 155,440.7ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 21% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 5,223,277 ล้านบาท ขยายตัว 32%

เอกชนจี้รัฐคงดอกเบี้ยนโยบาย ประคองภาคธุรกิจฟื้นตัว

ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม - มิถุนายนของปี 2565 ขาดดุลเท่ากับ 6,255.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 278,029 ล้านบาท อย่างไรก็ตามแม้สรท.มองว่าโอกาสที่ส่งออกไทยทั้งปีจะขยายตัวที่10%มีความเป็นไปได้สูงหาปัญหาการขาดแคลนชิปที่ผลิตในรถยนต์คลี่คลาย แต่หากไม่คลี่คลายสรท.มั่นใจว่าส่งออกไทยยังยังขยายตัวเฉลี่ย8%ทั้งปี