กรมปศุสัตว์ ดันแผนส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ หนุนเศรษฐกิจฐานราก-เกษตรยั่งยืน

02 ก.ค. 2565 | 13:05 น.

กรมปศุสัตว์ เดินหน้าลุยแผนการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนงานเกษตรมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันเกษตร

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่สู่เกษตรกร ภายใต้แผนงานเกษตรมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในภาคเกษตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

กรมปศุสัตว์ ดันแผนส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ หนุนเศรษฐกิจฐานราก-เกษตรยั่งยืน
กรมปศุสัตว์ได้ออกแบบโมเดลการพัฒนาการเกษตรสำหรับเกษตรกรรายย่อย VRIO Mode! เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เริ่มตั้งแต่สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมรวมกลุ่มเพื่อสร้างแผนธุรกิจ กิจกรรมผักดันแผนธุรกิจ จัดเวทีหาทุน กิจกรรมติดตามประเมินผล และสร้างระบบนิเวศขอสินค้าและบริการ

ผลที่ได้จากการพัฒนาชุมชนมีความสามารถในการเรียนรู้พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รักษาและใช้ประโยชน์ ทรัพยากร สามารถ คิดได้ ทำเป็นปัญหาได้ และนำเกษตรกรสมาชิไปสู่การบรรลุเป้าหมายอาชีพอย่างยั่งยืนได้ โดยใช้ VRIO Model เป็นแนวทางการพัฒนา โดยมีเจ้าหน้าป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยงเกษตรกรและแสดงบทบาทหน้าที่ได้อย่างเต็มที่

กรมปศุสัตว์ ดันแผนส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ หนุนเศรษฐกิจฐานราก-เกษตรยั่งยืน

ทั้งนี้กรมปศุสัตว์จึงจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด ระดับเขตเข้าใจบทบาท มีความรู้ความสามาถเพียงพอเป็นพี่เลี้ยงของเกษตรกร และถ่ายทอดให้เจ้าหน้าที่อื่นในพื้นที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า จากการทำงานพัฒนาการเกษตรเราเห็นว่าสิงที่เราทำอยู่คล้ายว่าจะทำงานสำเร็จแต่ทำไมชาวบ้านยังยากจนอยู่ รัฐยังใช้เครื่องมือช่วยแบบเดิมๆ ในการพัฒนา เช่น รับจำนำ ประกัน/ชดเชยรายได้ สนับสนุนปัจจัย เราทำงานกันเหนื่อยมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์

กรมปศุสัตว์ ดันแผนส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ หนุนเศรษฐกิจฐานราก-เกษตรยั่งยืน

จากประสบการณ์การบริหารงานที่ผ่านมากรมปศุสัตว์จึงได้นำ VRIO Model ไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรรายย่อย ได้นำไปปรับใช้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างเห็นได้ชัดเกิดความสามารถในการออกแบบชีวิต ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการพัฒนาอาชีพตนเองได้ปรับโครงสร้างการผลิตจากเดิมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ2ประการความมั่นคงทางอาหารและสร้างรายได้เพิ่ม และเกษตรกรยังเชื่อมั่นว่าถ้าพัฒนาตามแนวทาง VRIO Mode จะทำให้อาชีพเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ต่อไป