ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก

01 ก.ค. 2565 | 17:30 น.

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก ชี้ทุเรียนสายพันธุ์นอก มูซังคิง-โอวฉีหรือทุเรียนเบตง กำลังเป็นที่นิยมตลาดต่างประเทศ  4เดือนไทยส่งออกทุเรียนมูลค่ากว่า700ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดหลักยังเป็นจีน

ทุเรียนไทยสินค้าส่งออกสำคัญของไทยอีก1รายการของการส่งออกไทยทั้งหมด และยังเป็นความหวังที่จะช่วยผลักดันให้ตัวเลขส่งออกไทยทั้งปีขยายตัว โดยในเดือนเดือนพ.ค.การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น  21.5% เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3  โดยสินค้าสำคัญ ช่น เผลไม้สด เพิ่ม 28.7% เฉพาะมังคุด เพิ่ม 566.1% สับปะรดสด เพิ่ม 410% ลำไยแห้ง เพิ่ม 214.9%  และทุเรียนสด เพิ่ม 11.4%

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็ง เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในปี 2564 มูลค่ารวม 3,788 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกทุเรียนสด มูลค่า 3,490 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 68% และส่งออกทุเรียนแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 299 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 42%

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน มูลค่าส่งออกสูงถึง 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (90% ของการส่งออกทุเรียนของไทย) รองลงมาคือฮ่องกง มูลค่า 197 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5% ของการส่งออกทุเรียนไทย) และเวียดนาม 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3% ของการส่งออกทุเรียนไทย) สำหรับในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย. 65) ไทยส่งออกทุเรียนไปตลาดโลก มูลค่า 721 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นทุเรียนสด มูลค่า 676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (96% ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของไทย) และส่งออกทุเรียนแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และจีนไทเป โดยส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA มูลค่ารวม 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (สัดส่วน 99% ของการส่งออกทั้งหมด) ขยายตัวร้อยละ 23 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก

ทั้งนี้กรมฯได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี(FTA)ไทยทำกับคู่ค้า 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยแล้ว เหลือเพียงเกาหลีใต้ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 36 แต่จะทยอยลดเหลือร้อยละ 0 ในปี 2574 ภายใต้ความตกลง RCEP ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบและโอกาสทางการค้าของวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการไทย ในการขยายส่งออกสินค้าทุเรียนไปตลาดโลก

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก

“กรมฯ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนสวนทุเรียนศักดิ์ศรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อพบหารือกับผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน กรุยทางให้ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดในเดือน ก.ค.นี้ ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA)   นอกจากทุเรียนเบตงแล้วยังมีสินค้าที่มีศักยภาพและความพร้อมส่งออก โดยเฉพาะผลไม้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มังคุด ส้ม ลองกอง และกล้วยหิน”

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก

สำหรับวิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2564 มีสมาชิก 7 คน ปลูกทุเรียนบนพื้นที่ 25 ไร่ มากกว่า 17 ปี รวม 400 กว่าต้น ผลิตทุเรียน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์มูซังคิง พันธุ์โอวฉีหรือหนามดำ และพันธุ์ยาวลิ้นจี่ เป็นสวนเกษตรอินทรีย์ผลิตทุเรียนปลอดสารพิษและได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพและราคาของทุเรียนให้เพิ่มสูงขึ้น เน้นการทำตลาดออนไลน์ และบางส่วนจำหน่ายใน Tops Supermarket อีกทั้งจำหน่ายต้นกล้าทุเรียน ราคาต้นละ 100 บาท ส่งจำหน่ายทั่วประเทศได้ปีละ 60,000-80,000 ต้น ปัจจุบันสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งได้จำหน่ายทุเรียนแช่แข็งให้กับนักท่องเที่ยว และเตรียมขยายการผลิตเพื่อการส่งออกในอนาคต สำหรับทุเรียนของเบตง มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพื้นที่อื่น คือ มีสีเหลืองแห้ง กลิ่นหอมเฉพาะ และรสหวานจัด  

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก

นายศักดิ์ศรี สง่าราศี  เจ้าของสวนศักดิ์ศรี ซึ่งปลูกทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิง และโอวโฉสายพันธุ์จากมาเลเซีย โดยมีพื้นที่40ไร่ ปลูกทุเรียน400ต้น แต่ปีนี้ให้ผลผลิตเพียง100ต้นซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าต้องมีการจองล่วงหน้า

นายศักดิ์ศรี สง่าราศี  เจ้าของสวนศักดิ์ศรี

ทั้งนี้สาเหตุที่ทุเรียนสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับความนิยมทั้งจากคนไทยและต่างชาติเพราะเนื้อสัมผัสที่นุ่มมีกลิ่นหอม ราคาจำหน่ายอย่างพันธุ์มูซังคิง กิโลละ350-600บาทแล้วแต่เกรด  ส่วนพันธุ์โอวฉี กิโลกรัมละ700บาท ซึ่งราคาค่อนข้างสูงเพราะผลผลิตน้อย

ทุเรียนไทยยังรุ่ง “พาณิชย์”ดันใช้FTAขยายส่งออก