ฝีดาษลิง ล่าสุด อัพเดทยอดติดเชื้อทั้งหมดติดไปแล้วกี่ราย กี่ประเทศเช็คเลย

30 พ.ค. 2565 | 07:49 น.

ฝีดาษลิง ล่าสุด อัพเดทยอดติดเชื้อโรคฝีดาษลิงทั้งหมดติดไปแล้วกี่ราย กี่ประเทศ หลัง กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์ เช็คเลย

ฝีดาษลิง ล่าสุด กรมควบคุมโรค ได้อัพเดทรายงานสถานการณ์ยอดติดเชื้อโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ทั่วโลกล่าสุด ประจำวันที่ 27/5/2565 ดังนี้ ผู้ป่วยทั่วโลกจำนวน 344 ราย การระบาดยังคงพบเป็นการติดต่อแบบคนสู่คน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ เป็นเพศชายและเป็นกลุ่ม MSM

ประเทศทีมีผู้ป่วยสูง 5 อันดับแรก ผู้ป่วยทั่วโลก

  • สเปน 120 ราย
  •  อังกฤษ 77 ราย
  • โปรตุเกส 49 ราย
  • แคนาดา 26 ราย
  • เยอรมัน 13 ราย

ประเทศใหม่ที่พบผู้ป่วย ได้แก่

  •  ไอร์แลนด์เหนือ
  •  เวลส์
  • โบลิเวีย
  • ซูดาน

ข้อมูลทางระบาดวิทยาของสถานการณ์ทั่วโลก จากรายงานทั้งหมด มี 163 ราย ที่มีการรายงานข้อมูลปัจจัย เพศ พบว่า

  • ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 98)
  • เพศหญิง (ร้อยละ 2)

สําหรับอายุจากรายงาน 67 รายที่มีข้อมูล ทั้งหมดเป็นกลุ่มอายุ 20-59 ปี จากรายงานที่มีข้อมูลอาการ 89 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99) มีผื่น โดยผื่นที่พบ ได้แก่

  • ลักษณะแผลหรือ ulcerative lesion (ร้อยละ 81)
  • ไม่ระบุลักษณะ (ร้อยละ 9)
  • ตุ่มน้ำใส (ร้อยละ 6)
  • ผื่นนูน (ร้อยละ 1)
  • และตุ่มหนอง (ร้อยละ 1)

 

ตําแหน่งของผื่น ได้แก่

  • ไม่ระบุตําแหน่ง (ร้อยละ 79)
  • บริเวณอวัยวะเพศ (ร้อยละ 58)
  •  บริเวณ ปาก (ร้อยละ 19)
  • และบริเวณรอบทวารหนัก (ร้อยละ 1)

อาการอื่นที่พบ ได้แก่

  • ไข้ (ร้อยละ 24)
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขา หนีบโต ไอ กลืนลําบากเล็กน้อย ปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 1)

จากรายงานที่มีข้อมูลสายพันธุ์ 9 ราย ทั้งหมดเป็นสาย พันธุ์ West African จากรายงานทั้งหมด มี 80 ราย ระบุว่ามีประวัติเดินทาง 37 ราย (ร้อยละ 46) โดยมีข้อมูลระบุมี ประเทศต้นทาง 20 ราย (ร้อยละ 54) ได้แก่

  • สเปน (ร้อยละ 50)
  • อังกฤษ (ร้อยละ 15)
  • โปรตุเกส (ร้อยละ 10)
  • ไนจีเรีย เยอรมัน เบลเยียม แคนาดา ประเทศในยุโรปแต่ไม่ระบุชื่อ และประเทศในแอฟริกาแต่ไม่ระบุชื่อ (ร้อยละ 5)

 

สถานการณ์ฝีดาษวานร

 

สถานการณ์ในประเทศไทย

  • สถานการณ์โรคฝีดาษในประเทศไทย ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย สําหรับการประเมิน ความเสี่ยงของการติดต่อโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย มีโอกาสพบผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศที่มีการรายงาน ผู้ป่วย เช่น ประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก สหราชอาณาจักรอังกฤษ สเปน โปรตุเกสและแคนาดา

ประเด็นที่น่าสนใจจากต่างประเทศ

  • สวีเดน

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) เผยแพร่คําแนะนําเกี่ยวกับการป้องกันโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) โดยระบุว่า สัตว์เลี้ยงจําพวกหนูแฮมสเตอร์ หนูตะเภา และหนูเจอร์บิล ของผู้ป่วย ควรถูกแยก ออกไปไว้ในห้องปฏิบัติการของรัฐบาล และหากไม่สามารถทําได้ ก็ควรฆ่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรค แพร่ระบาดอย่างถาวรในภูมิภาค

 

  • สวิตเซอร์แลนด์

บริษัทยาโรช (Roche) พัฒนาชุดตรวจไวรัสฝีดาษวานร LightMix Modular Virus จํานวน 3 ชุด โดยชุดแรกจะใช้ตรวจจีนัสไวรัสออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) ชุดที่สองเป็นชุดตรวจหาไวรัสฝีดาษ วานรโดยเฉพาะ และชุดตรวจที่สาม สามารถใช้ตรวจหาจีนัสไวรัสออร์โธพอกซ์ได้พร้อม ๆ กันกับไวรัสฝีดาษวานร

 

ข้อสังเกตจากสถานการณ์และข้อเสนอแนะ

  • ข้อสังเกต

จากสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 พบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็น เพศชาย วัยเจริญพันธุ์ ทั้งนี้มีหลายประเทศที่พบผู้ป่วยมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศก่อนมีอาการ และผู้ป่วย หลายรายมีประวัติสัมพันธ์กับการเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์เป็นชาย หรือมีประวัติไปสถานที่ เทศกาลที่จัดเฉพาะใน กลุ่มนี้ โดยมีข้อสังเกตเขตควีเบค ประเทศแคนดา มีรายงานผู้ป่วยใหม่ 30 ราย และสันนิษฐานว่าจุดเริ่มต้นของ การระบาดน่าจะเกิดจากซาวน่าผู้ใหญ่ในเมืองมอนทรีออล ที่มีการจัดปาร์ตี้เซ็กเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่ พบผู้ป่วยยืนยันในแคนาดา

 

ข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย

  • ควรเพิ่มการเฝ้าระวังและให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อการป้องกันโรคในสถานบริการที่มีความเสี่ยง เน้น ย้ำประชาชนให้มีการปฏิบัติตามมาตรการ UP

อัพเดทล่าสุด สถานการณ์ โรคฝีดาษวานร 30/5/2565

  • รายงานผู้ป่วยทั่วโลก 494 ราย

(การระบาดยังคงเป็นการติดต่อจากคนสู่คน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชายและกลุ่ม MSM).

 

 

ฝีดาษวานร