“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ

23 พ.ค. 2565 | 05:58 น.

“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ "จุรินทร์" ฟุ้งยุทธศาสตร์ของไทยถูกต้องชัดเจนภายใต้ รัฐหนุนเอกชนนำ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนความตกลงทางการค้าโดยเฉพาะFTAกับประเทศคู่ค้า

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤติหลายวิกฤติ ว่าจะเป็น โรคอุบัติใหม่ เทคโนโลยีดิสรัปชั่น และวิกฤติซ้อนวิกฤติที่ไทยต้องฝ่าฟัน ทั้งโควิด โรคอุบัติใหม่ วิกฤติเศรษฐกิจ สงครามการค้า สงครามรัสเซีย-ยูเครน และที่สำคัญประเด็นใหม่ที่เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า นอกจากกำแพงภาษีสุดท้ายที่น่ากลัวที่สุดคือ การนำเศรษฐกิจกับการค้าระหว่างประเทศมามัดรวมกันเป็นเงื่อนไขบังคับแบ่งข้างแบ่งขั้วในทางการเมืองการค้าโลก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

โดยที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ทำนโยบายสำคัญภายใต้การขับเคลื่อนที่ รุก และ ลึก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประสบความสำเร็จในหลายเรื่องโดยเฉพาะตัวเลขส่งออกปีที่แล้ว 2564 โตถึง +17.1% ทำเงินเข้าประเทศ 8.5 ล้านล้านบาท  และปีนี้ตั้งเป้าเป็น 9 ล้านล้านบาทไตรมาสที่หนึ่งปีนี้ทำเงินเข้าประเทศจากการส่งออก 2.4 ล้านล้านบาท แนวโน้มยังเดินได้ภายใต้วิกฤติซ้อนวิกฤติ

 

“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก  ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ

เพราะยุทธศาสตร์ของไทยถูกต้องชัดเจน นอกจากนี้ยังมีกรอ.พาณิชย์ ที่จับมือใกล้ชิดกับเอกชน ดันภาคการส่งออกเดินไปข้างหน้านำเงินเข้าประเทศ แก้ปัญหาทุกข้อเชิงลึก ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้หลัก รัฐหนุนเอกชนนำ เอกชนต้องเป็นทัพหน้า บุกไปยิงประตูทำเงินเข้าประเทศ ภาครัฐเป็นกองหลัง

“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก  ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ

นอกจากความร่วมมือกับภาคเอกชนแล้ว ไทยยังมีความตกลงการค้าหรือ FTA 14 ฉบับ มีประเทศเข้าร่วม FTA 18 ประเทศ  และมี RCEP เป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และล่าสุดยังค ประสบความสำเร็จในการเป็นประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปคโดยมีเป้าหมายที่ 3 เรื่อง คือ Open. Connect. Balanceที่เปิดกว้างเสรีทางการค้าในสมาชิกเอเปค ทุกเขตเศรษฐกิจ 21 เขต จะขับเคลื่อนเข้มข้นชัดเจนขึ้นในรูป FTA เอเปค หรือ FTAAP ให้เสร็จปี 2040 แต่ถ้าอะไรที่ตกลงได้ก่อนจะทำก่อน 

“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก  ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ

การเชื่อมโยงบุคคล สินค้า บริการ ระหว่างกันให้คล่องตัว อำนวยความสะดวก สุดท้ายคือการสร้างสมดุลระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน SMEs สตรี กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องและการขับเคลื่อน BCG Model ก็เป็นที่ยอมรับและจะส่งผ่านการประชุมซัมมิทในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ต่อไป ก่อนที่ประเทศไทยจะส่งไม้ต่อให้กับสหรัฐอเมริกาในปีหน้า ถ้า FTAAP สำเร็จ จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน RCEP มีประชากร 2,900 ล้านคน ประชากรคิดเป็น 38%ของประชากรโลก GDPเป็น 68% ของ GDPโลก 

“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก  ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ

และFTAใหม่ที่จะขับเคลื่อน เช่น  ไทย-อังกฤษ ไทย-อียู ไทย-เอฟตา (กลุ่มนอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์) ไทย-ยูเรเซีย(รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอาร์มาเนีย) และลงลึกต่อไปเป็นมินิเอสทีเอ ทำ MOU กับระดับรัฐหรือมณฑลของประเทศใหญ่ เช่น กับไห่หนาน ของจีน กับโคฟุ ของญี่ปุ่น กับรัฐเตลังคานาของอินเดีย กับมณฑลกานซู่ของจีน เป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำเชิงรุกและเชิงลึก

“พาณิชย์”เดินหน้ารุกตลาดส่งออก  ชี้ในวิกฤติยังมีโอกาสเสมอ

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทำแผนปี 2565 ส่งออกสินค้าและบริการในหมวด Soft Powerเพราะประเทศไทยมี Soft Power ด้านวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เป็นลำดับที่ 5 ของเอเชียรองจาก ญี่ปุ่น จีน เกาหลีและอินเดีย