ผู้เลี้ยงร้องระงม วันพรุ่งนี้ ราคาไข่ไก่ร่วง 20 สตางค์

22 พ.ค. 2565 | 09:14 น.

เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ร้องระงม ราคาไข่ไก่ลด 20 สตางค์ “ไข่ล้น ราคาตก อาหารสัตว์พุ่ง” ด้าน 2 นายก “มาโนช-พเยาว์” จี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ สั่งรายใหญ่ ปลดแม่ไก่ ดันส่งออก รักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ หากมีฟาร์มไหนไม่ให้ความร่วมมือขอให้ลงโทษทันที

วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงไก่ไข่สุพรรณบุรี จำกัด แจ้งประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม วันพรุ่งนี้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร วันที่ 23 พฤษภาคม 2565  ราคาแนะนำไข่ไก่คละ อยู่ที่ 3.30 บาท/ฟอง ปรับลดราคา 20 สตางค์ จากเดิม ราคาอยู่ที่ 3.50 บาท/ฟอง  ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาสหกรณ์ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

แจ้งราคาประกาศ "ไข่ไก่" คละหน้าฟาร์ม

 

ต่อกรณีดังกล่าวนี้ นายชัยพร สีถัน อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่  กล่าวว่า  ราคาประกาศไข่ไก่คละอยู่ที่ 3.30 บาท/ฟองขายจริง 3.20  บาท/ฟอง มีไข่ไก่ดัมพ์ 3 บาท/ฟองจากบริษัทใหญ่นายทุนทุ่มตลาดหวังยึดตลาด แบบเนื้อหมู เนื้อไก่ ที่มี 

 

1.พันธุ์อยู่ในมือ

2. โรงอาหารของตัวเอง

3. ทำฟาร์มไก่ไข่ ขายไข่ดัมพ์ แล้วจะเลี้ยงแข่งเกษตรกรเพื่ออะไร กำไร พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์พอแล้ว

 

ราคาเฉลี่ยสินค้าปศุสัตว์

 

นายชัยพร กล่าวว่า ราคาไข่ไก่ไม่ไปตามราคาต้นทุนการผลิต สวนราคาอาหารสัตว์แพง ขอให้รัฐมนตรีดูตัวอย่างว่า ตลาดจะเป็นตัวกำหนดราคาไข่ไก่ ถ้าราคาไข่ไก่ไปได้ ต่องปล่อยให้ ปรับราคาได้ อย่า มัวรอ  ปัญหาราคาขึ้นได้ ไม่ยอมให้ขึ้น ราคาไข่ไก่ เวลาราคาลงมา อะไรก็หยุดไม่ได้ รัฐมนตรีชอบมาหยุดราคาไหลขึ้น ทุกตครั้ง ไม่เคยดูตลาดเลยว่าไปได้ เวลาราคาไหลลงมาต้องแสดงตัวรับปิดชอบด้วย  สินค้าเกษตรต้องปล่อยตามกลไกลตลาด

 

“วันนี้ต้องให้ผู้ใหญ่มาดู ว่าราคาไข่ไก่ ลงทำไมอาหารสัตว์ พันธุ์สัตว์ ปรับราคาขึ้น  ขอให้นายทุนหยุดเลี้ยงไก่ได้แล้ว  ขอให้เกษตรกรเหลืออาชีพไว้เลี้ยงบ้างเถอะ”

 

มาโนช ชูทับทิม

 

สอดคล้องกับ นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า วันนี้ความทุกข์ทรมานกับการหาเงินมาซื้ออาหารสัตว์  ที่หมดไปวันต่อวัน  คำพูดที่ว่าหาเช้ากินค่ำของคนจนๆกำลังเกิดขึ้นกับคนเลี้ยงไก่รายเล็กรายน้อยจะมีใครเช้าใจเห็นใจพวกเขาบ้างถ้าไก่ที่เลี้ยงหมดรุ่นคิดว่าส่วนมากจะไม่มีเงินซื้อไก่รุ่นใหม่เข้าเลี้ยงแน่นอน  ซึ่งผมเคยย้ำเตือนมาแล้วหลายครั้ง ว่า ทุกครั้งที่อาหารสัตว์ปรับราคาสูงขึ้น สัดส่วนการเลี้ยงจะตกอยู่ในมือรายใหญ่มากขึ้นๆ

 

ครั้งนี้เช่นกันค่อยดูกันไป  สรุปคือภัยขนาดใหญ่กำลังมาหลบได้หลบก่อนพักได้พักก่อนจะรอความเมตตาจากผู้ใหญ่ ( ราชการ ) บอกตรงๆมีมันเหลือกำลังและสติปัญญาจริงๆต้นต่อของปัญหามันเป็นทั้งโลกใบนี้ไม่ว่ารายขนาดไหนก็เดือดร้อนเหมือนกัน  แต่รายใหญ่เขาทนได้แต่เราสิ รายใหญ่ทนได้รู้สึกได้เหมือนกันคือการเอาไข่ในมือ (จำนวนมาก ) ทุ่มออกสู่ตลาด

 

ผู้เลี้ยงร้องระงม วันพรุ่งนี้ ราคาไข่ไก่ร่วง 20 สตางค์

ทั้งๆที่รู้ว่าจะต้องกระทบคนอื่นแต่ขอให้เอาตัวรอดไว้ก่อน  การที่เลี้ยงโดยไม่ดูกำลังตัวเองคิดแต่ครอบครองตลาดอย่างเดียวผลที่เห็นๆกันอยู่ราชการก็รู้ดีแต่ทำอะไรไม่ได้ทั้งๆที่มีกฎหมายบังคับใช้อยู่บางทีก็ปล่อยๆไปจึงเท่ากับซ้ำเติมรายเล็กรายน้อยไปโดยปริยาย

 

“วันนี้ขอเรียกร้องรายใหญ่ถ้ามีความจริงใจต้องเร่งปลดไก่ออกในจำนวนที่มากกว่าปกติ หยุดพฤติกรรมทุ่มตลาดในทุกกรณีแล้วนำไข่ส่วนเกินส่งออกต่างประเทศทุกอย่างจะคลี่คลายและให้ทุกฝ่ายอยู่กันได้ และบ่งบอกถึงความจริงใจของตัวเองว่ามีความหวังดีกับวงการ   ราชการที่เกี่ยวข้องทั้งกรมปศุสัตว์กับกรมการค้าภายในท่านก็ได้โปรดเร่งรีบทำอะไรสักอย่างเพื่อคนเลี้ยงบ้าง ได้โปรดเถอะ”

 

พเยาว อริกุล

เช่นเดียวกับ นางพเยาว์ อริกุล นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง เตรียมส่งหนังสือ ในวันพรุ่งนี้ ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เรียน นายสัตว์แพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เร่งรัดผู้เลี้ยงรายใหญ่ปลดไก่เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่

 

ตามที่ กรมปศุสัตว์ได้ขอความร่วมมือให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหญ่ปลดแม่ไก่ยืนกรง เพื่อป้องกันไม่ให้มีไข่ไก่สะสมในระบบจนทำให้ไข่ไก่ล้นตลาด และกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อย นั้นในปัจจุบันสถานการณ์ไขไก่มีการสะสมในระบบมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มราคาไข่ไก่ปรับลดลง โดยยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหญ่บางรายที่มีไก่ยืนกรง และปริมาณผลผลิตไขไก่จำนวนมาก นำไข่ราคาถูกออกมาขายในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด โดยขายจริงไข่คละใหญ่ขายอยู่ที่ 3.20 บาท/ฟอง หรือต่ำกว่านั้นในบางพื้นที่

 

ผู้เลี้ยงร้องระงม วันพรุ่งนี้ ราคาไข่ไก่ร่วง 20 สตางค์

 

ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไช่รายย่อยทั่วประเทศ ได้รับความเดือดร้อนประสบปัญหาในการขายไขไก่ เนื่องจากต้นทุนปัจจุบันที่ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าอาหารสัตว์ ที่สูงเป็นเงาตามตัวใกล้เคียงราคาขาย ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีข้อต่อรองทางการค้าใดๆ ขาดทุนได้ เกษตรกรรายย่อยจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ กรมปศุสัตว์ในการเข้มงวดให้มีการปลดไก่ตามเวลา พร้อมพิจารณาออกตรวจสอบฟาร์มรายใหญ่ หากมีฟาร์มความไหนที่ไม่ให้ความร่วมมือ ขอให้พิจารณาลงโทษตามมาตรการทางบริหารที่สามารถทำได้ต่อไปด้วย