ร้องขอ"คดี แตงโม นิดา"เป็นคดีพิเศษตามประกาศกคพ. ทำได้หรือไม่

12 มี.ค. 2565 | 11:12 น.

นักวิชาการ ร้อง ยก"คดีแตงโม นิดา “ เป็นคดีพิเศษ หลังเปิดประกาศ กคพ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ เสนอให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิดทางอาญาเป็นคดีพิเศษ พ.ศ.2547 นายกฯลงตู่ เร่งรัดคดี “แม่แตงโม”  อายัดศพ “แตงโม นิดา” พิสูจน์ ใหม่ซัดอาจไม่ใช่อุบัติเหตุ

 

 

กลายเป็นคดีระดับชาติ สำหรับ คดี”แตงโม นิดา”  นางสาวนิดา พัชรวีรพงษ์ ( ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ ) นักแสดงสาว พลัดตกเรือสปีดโบ๊ทกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อช่วงค่ำคืนของวันที่24 กุมภาพันธ์2565 เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการ กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสอบสวน เร่งรัดคดีการเสียชีวิตของ "แตงโม นิดา" หรือนางสาว นิดา พัชรวีระพงษ์ (ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์)  โดยเร่งสืบสวนทุกข้อสงสัยอย่างรอบคอบตามหลักวิทยาศาสตร์

 

 

ที่สำคัญต้องโปร่งใสด้วยกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ พร้อมให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยให้ยึดข้อกฎหมาย วิชาชีพ และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ขณะ“แม่แตงโม” หรือ นางพนิดา ศิริยุทธโยธินได้ขออายัดศพ “แตงโม นิดา” เพื่อให้หน่วยงานภายนอกได้ช่วยกันพิสูจน์ คดี แตงโม นิดาอีกครั้งหลังพบหลักฐานสำคัญที่อาจจะไม่ใช่อุบัติเหตุ

  อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นางสาวรสนา โตสิตระกูล  อดีตสมาชิกวุฒิสภาและว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "คดีแตงโม" นักแสดงสาว "แตงโม นิดา" พลัดตกเรือจมน้ำกลางเจ้าพระยาท่ามกลางข้อสงสัยต่างๆในสังคม

 

ทั้งนี้นางสาวรสนา ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรี ส่งคดีนี้ไปให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ด้วยเหตุผล 3 ข้อ อีกทั้ง DSI เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการทำคดีที่มีเงื่อนงำซับซ้อนมากกว่า และเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ด้วย นั้น

 

 จากการตรวจสอบประกาศ กคพ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการร้องขอและเสนอให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123/ตอนพิเศษ 95 ง/หน้า 54/31 สิงหาคม 2547 ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ดังนี้

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10(4) และมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนดีพิเศษ พ.ศ.2547

คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) จึงกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 หลักเกณฑ์นี้เรียกว่า "หลักเกณฑ์และวิธีการในการร้องขอและเสนอให้ กคพ. มีมตีให้คดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษ พ.ศ.2547"

ข้อ 2 "หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 3ให้ประธาน กศพ. รักษาการตามหลักเกณฑ์นี้

 

หมวด 1 บททั่วไป

ข้อ 4 ในหลักเกณฑ์นี้

"ผู้ร้องขอ" หมายความว่าบุคคลตังต่อไปนี้ที่มีคำร้องขอให้ กคพ. มีมติให้คดี

(1) กรรมการคดีพิเศษ

(2) ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

 

(3) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

"กรม" หมายความว่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

"คำร้องขอ" หมายความว่า หนังสือที่ผู้ร้องขอ ร้องขอให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิด

 

 

"คณะอนุกรรมการ" หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่ กคพ. แต่งตั้งให้มีอำนาจพิจารณาทำความเห็นสนอ กคพ. เกี่ยวกับเรื่องการมีมตีให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคตีพิเศษที่ต้องดำเนินการสืบสวน และสอบสวน ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547

 

"กรรมการ" หมายความว่ากรรมการคดีพิเศษ

 

หมวด 2

คำร้องขอ

ข้อ 5 คำร้องขอเพื่อให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อ และที่อยู่ ผู้ร้องขอ

(2) สักษณะและพฤติการณ์ของการกระทำความผิด พร้อมพยานหลักฐานหรืออ้างพยานหลักฐาน

(3) ความเสียหายที่ได้รับ (ถ้ามี)

(4) ชื่อผู้กระทำความผิด (ถ้ามี)

(5) เหตุผลที่ยื่นคำร้องขอ

(6) ได้เคยมีการร้องทุกข์ กล่าวโทษ ยื่นคำร้องขอ หรือฟ้องคดีมาก่อนหรือไม่ ผลเป็นประการใด

(7) ลายมือชื่อผู้ร้องขอ

ข้อ 6 คำร้องขอและเอกสารประกอบการร้องขอ ให้ทำเป็นภาษาไทย หรือแปลเป็นภาษาไทย ที่ได้รับรองความถูกต้องแล้ว

 

หมวด 3

การดำเนินการตามคำร้องขอ

ข้อ 7 ให้ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอต่อกรม เว้นแต่ในกรณีที่กรรมการเป็นผู้ร้องขอ ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒

ข้อ 8 เมื่อกรมได้รับคำร้องขอตามข้อ 6 แล้ว ให้ส่งคำร้องขอดังกล่าวไปยัง

คณะอนุกรรมการ และให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการประชุมเพื่อดำเนินการพิจารณาเรื่องดังกล่าวโดยเร็วก่อนส่งคำร้องไปยังคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง หากอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นว่าข้อมูล ข้อเท็จจริง ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ จะสั่งให้ทำการสืบสวนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนได้

 

โดยให้ กคพ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ ก็ได้ ให้แต่ละคณะมีจำนวนไม่เกิน 5 คน โดยมีพนักงานสอบสวนคดีพิเศษระดับ 9 ขึ้นไป เป็นประธานอนุกรรมการ และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษระดับ 8 ขึ้นไป เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

 

ข้อ 9 ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องโดยเร็ว และให้คณะอนุกรรมการมีความเห็นประกอบการพิจารณาด้วยว่าสมควรที่ กคพ. จะมีมติให้คดีความผิดทางอาญานั้น เป็นคดีพิเศษหรือไม่ ประการใด โดยให้อธิบดีนำเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม กคพ. เพื่อพิจารณาต่อไป

 

ข้อ 10 การประชุมคณะอนุกรรมการ ต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด การลงมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก อนุกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

 

ข้อ 11 เมื่อ กคพ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งผู้ร้องขอทราบถึงมติดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 7 วันทำการ นับแต่วันที่ กคพ. มีมติ

 

ข้อ 12 กรณีกรรมการเป็นผู้ร้องขอ ให้ส่งเรื่อง หรือแจ้งให้อธิบดีทราบก่อนวัน

 

ประชุม กคพ. อย่างน้อย 3 วันทำการ และให้อธิบตีนำเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม กคพ. เพื่อพิจารณาต่อไป เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน หรือเป็นเรื่องสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของกรม กรรมการอาจเสนอให้พิจารณาในวันประชุม กคพ. ได้

 

ข้อ 13 ในกรณีที่ กคพ. เคยมีมติไม่รับเรื่องใดเป็นคดีพิเศษแล้ว ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องขอที่จะยื่นคำร้องขอไหม่ใด้อีก หากผู้ร้องขอได้แสดงให้เห็นว่ามีเหตุผลหรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เป็นเหตุให้สมควรจะทบทวนมติเดิม

 

ข้อ 14 ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าผู้ร้องขอเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอหรือไม่ ให้อธิบดีเป็นผู้ขี้ขาด

อย่างไรก็ตาม "คดีแตงโม นิดา"ดังกล่าวจะกลายเป็นคดีพิเศษอยู่ในความดูแลของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอได้หรือไม่ต้องติดตาม !