ลุย “เกษตรยั่งยืน” เพิ่มความมั่นคงอาหาร- ลดก๊าซเรือนกระจก

25 ก.พ. 2565 | 11:32 น.

ไทย ระส่ำ ก.เกษตรฯ หลอน ความมั่นคงอาหารในเมืองวูบ “อลงกรณ์” สานนโยบายรัฐมนตรีเกษตรฯ ลุย “เกษตรยั่งยืน” ลดก๊าซเรือนกระจก สู้ค้าโลก ยกระดับ เศรษฐกิจชุมชน คุณภาพชีวิตประชาชน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการ ประชุมแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับเขต และระดับจังหวัด ทั่วประเทศผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting  โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นประธานที่ประชุม

 

อลงกรณ์ พลบุตร

 

นายอลงกรณ์ เผยหลังการประชุม ว่า จากการที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเล็งเห็นความสำคัญการแก้ไขปัญหาภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในเมือง เนื่องจากในปี2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกสะท้อนถึงการขยายตัวของเมือง(Urbanization)และชุมชนเมืองมีการผลิตอาหารได้เองไม่ถึง10%

 

“เป็นเหตุผลสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคปัจจุบันต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรในเมือง(Urban Agriculture )โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด19และยุคต่อไป(Next normal)ที่ต้องให้ความสำคัญระบบนิเวศน์เมืองเรื่องสุขภาพคนและคุณภาพเมืองจึงต้องขับเคลื่อนเกษตรในเมืองควบคู่กับเกษตรในชนบท”

 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จึงได้มอบนโยบายให้ดำเนินการโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ มีวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง 2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3. การลด PM 2.5 และลดก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) 4. การเพิ่มคุณภาพอากาศ 5. การอัพเกรดคุณภาพชีวิตของประชาชน 6. การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(Climate Change) ของโลก

 

 

 

นอกจากนี้คณะอนุกรรมการระดับเขตและจังหวัดยังรับผิดชอบการขับเคลื่อนโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนโดยการปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นทรัพย์สินและหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งยังนำมาคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วยตามเป้าหมายCarbon Neutrality และ Carbon Zeroของประเทศไทยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแรงจูงใจในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกทางหนึ่ง

 

 นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า การบริหารโครงการเชิงโครงสร้างครอบคลุมทั้งประเทศมีกลไกคณะกรรมการระดับพื้นที่แล้วยังมีคณะกรรมการระดับคลัสเตอร์ด้วยได้แก่

 

(1) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองทั้งในพื้นที่ที่วัด (Green Temple)

 

(2) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วิทยาลัย (Green College)

 

(3) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่โรงเรียน (Green School)

 

ประชุมผ่านระบบทางไกล

 

(4) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus)

 

(5) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community)

 

(6) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo)

 

(7) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นการเคหะแห่งชาติ (Green Housing )

 

(8) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม (Green Industry)

 

(9) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่โรงแรม (Green Hotel)

 

(10)คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(Green Bangkok)

 

โครงการ

 

สำหรับเกษตรกรรมยั่งยืนมี5สาขาได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ “ในเขตเมืองของแต่ละจังหวัดสามารถจัดทำสวนเกษตรในบ้านในชุมชนหรือพื้นที่สาธารณะแบบสวนขนาดเล็ก(Pocket Garden)เช่นสวนครัว สวนสมุนไพร สวนผัก หรือในพื้นที่สาธารณะต่างๆหรือการสร้างสวนป่าขนาดเล็ก(Pocket Forest)แนววนเกษตร

 

"อาทิ เช่น ในกรุงโตเกียว,ในมหานครลอนดอนและในสิงคโปร์ก็ทำสวนป่าสีเขียวในป่าคอนกรีต รวมทั้งต้องมีตลาดเกษตรในเมือง(Farmer Market)เพื่อจำหน่ายผลผลิตเกษตรในชุมชนเมืองด้วยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจพร้อมกับยกระดับคุณภาพเมืองคุณภาพขีวิตของประชาชน”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.