สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

18 ม.ค. 2565 | 06:51 น.

    สภาพัฒน์จับมือจุฬาฯ ยกทีมลงจ.ระนอง เปิดเวทีถกแผนศึกษาความเป็นไปได้ หาคำตอบสุดท้ายการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศไทย  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 13 ม.ค.2565นี้ ที่โรงแรมหญ้าหมู อำเภอเมือง จังหวัดระนอง นางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.หรือสภาพัฒน์)  เป็นประธานเปิดการสัมมนา โครงการศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศไทย

 

โดยมีนายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นางสาวเบญจวรรณ มีเผือก หัวหน้าสำนักงานจังหวัดระนอง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมรับฟัง

สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานหลัก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเล ฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศไทย โดยมีศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการฯ ให้ครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคม สิ่งแวดล้อมและกฎหมาย ตลอดจนผลกระทบของการดำเนินการในมิติภาพรวมเชิงพื้นที่ และบริบทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ และสอดคล้องแนวนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการบริการ ที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาประเทศ 

สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

โดยอาศัยศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ในการพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ที่เหมาะสมต่อการขยายศักยภาพ และขีดความสามารถรองรับการค้า การลงทุนในภูมิภาค ที่มีแนวโน้มการเติบโตจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มเปลี่ยนฐานการผลิต และการลงทุนมาสู่ภูมิภาคเอเชียมากยิ่งขึ้น 
    

ตลอดจนโอกาสในการพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ที่สามารถลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่ง มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

สำหรับการประชุมสัมมนารับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทงทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันของประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อแนวทางการศึกษาของโครงการ ซึ่งคณะผู้ศึกษาจะได้นำข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ไปพิจารณาใช้ประกอบการศึกษาพัฒนโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป 

 

นางธิดา พัทธธรรม รองเลขาธิการสภาพัฒน์  กล่าวว่า จากความได้เปรียบของตำแหน่งที่ตั้งภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เป็นโอกาสที่ไทยจะพัฒนาตนเองเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาค ซึ่งมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่เริ่มเปลี่ยนฐานการผลิตและการลงทุนมาสู่ภูมิภาคเอเชีย  จึงมีแนวความคิดอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งทางทะเล ซึ่งเป็นการขนส่งที่จะเชื่อมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของไทย 

สภาพัฒน์ควงจุฬาฯลงระนองตั้งวงหาคำตอบสุดท้าย"แลนด์บริดจ์"ข้าม2ฝั่งทะเล

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการศึกษาและจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสม ของการเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันมาแล้วหลายครั้ง แต่กลับยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ กลั่นกรองข้อมูล และศึกษาเพิ่มเติมในเชิงลึก เกี่ยวกับโอกาส ข้อจำกัด ความเสี่ยงและศักยภาพของประเทศไทย ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การขนส่งสินค้าและบริการของประเทศในปัจจุบันและในอนาคต

 

รวมถึงการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของการขนส่งในเส้นทางดังกล่าว ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาและแผนการดำเนินงานที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และความเชื่อมโยงของพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ ต่อไป