นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง

18 ม.ค. 2565 | 04:40 น.

เทศบาลนครอุดรธานีมามาดใหม่ จัดตั้งสภาพลเมืองชุมชนและระดับเมือง ให้ทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารพัฒนาเมืองร่วมกัน ให้เมืองอุดรธานีบรรลุเป้าสู่การเป็นเลิศ และศูนย์กลางการธุรกิจ การลงทุน การคมนาคมในอีสานตอนบนและอนุภูมิภาค GMS

ดร.ธนดร  พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี เปิดเผยถึงการดำเนินการนโยบายรเร่งด่วนของเทศบาลนครอุดรธานี ตามที่เคยได้แถลงนโยบายการบริหารงานของเมืองอุดรธานีก่อนเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งนโยบายหนึ่งคือ การจัดสภาพลเมืองเมือง เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารของเทศบาลนครอุดรธานี  
               

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินนโยบายเร่งด่วน  “การจัดตั้งสภาพลเมืองอุดรธานี”ระดับชุมชน ซึ่งมีผลสรุปออกมาดังนี้ เทศบาลนครอุดรธานีมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตใหญ่ มีการแบ่งกลุ่มสภาพลเมืองระดับชุมชนได้ จำนวน 18 กลุ่มจาก 105 ชุมชน

ดร.ธนดร  พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี

นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง

ประกอบด้วย เขต 1 มี 4 กลุ่ม เขต 2 มี 4 กลุ่ม เขต 3 มี 6 กลุ่ม และเขต 4 มี 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ประธานชุมชน ประธาน/ตัวแทน อสม. ตัวแทนผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกจากชุมชน ตัวแทนเยาวชนในชุมชน คัดเลือกจากในชุมชน ผู้ทรงคุณในชุมชนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ของชุมชน คัดเลือกจากชุมชนเช่นกัน 

 

ส่วนสภาพลเมืองในระดับเมือง  ได้เชิญคณะผู้บริหารเทศบาล และผู้นำเอกชน ตัวแทนองค์กร สมาคม หน่วยงานภาคเอกชน  หัวหน้าส่วนราชการ ประธานกลุ่มสภาพลเมืองระดับชุมชน ทั้ง 18 กลุ่ม  ประธานชุมชน, ประธาน อสม.เทศบาลนครอุดรธานี , ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครอุดรธานี , หอการค้าจังหวัด , สภาอุตสาหกรรมจังหวัด , สมาคมส่งเสริมพ่อค้าจีน จังหวัด, สมาคมชาวเวียดนามจังหวัด, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว, สมาคมกีฬาแห่งจังหวัด, สมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญ , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาชีพต่าง ๆของจังหวัดอุดรธานี

นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง

นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง

เพื่อร่วมกันจัดตั้ง“สภาพลเมืองระดับเมืองอุดรธานี”  ซึ่งจะประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด,สมาคมพ่อค้าจีน, สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด, สมาคมธุรกิจไทย- เวียดนาม สมาคมเวียดนามจังหวัด, นักธุรกิจ พ่อค้าตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่างๆ สถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษาทุกแห่ง และตัวแทนจากภาคเครือข่ายตามความเหมาะสม 

 

ดร.ธนดรฯกล่าวถึงความสำคัญและหน้าที่ การมีส่วนร่วมในการบริหารเมืองอุดรธานี และคณะบริหารของเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งตนเคยกล่าวไว้ว่า คือ”คณะผู้บริหารเมือง”ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน เป็นกลไกและกระบวนการของประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ที่พลเมืองได้มีพื้นที่ในการเสนอสิ่งที่อยากเห็น ปัญหาที่ต้องการให้แก้ไข และพูดคุยนำเสนอทางออกร่วมกัน

นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง

อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมันและพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งเป็นองค์กรติดตาม ตรวจสอบ และถ่วงดุลการทำงาน ของตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามนโยบาย  แผนงานพัฒนาท้องถิ่น และได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่  

 

ทั้งนี้ เพื่อให้แผนงานโครงการพัฒนาเมืองอุดรธานี ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามที่มีนโยบายเอาไว้ ให้ครบทั้ง 3 มิติ ตั้งแต่ต้นน้ำคือประชาชน ชุมชน กลางน้ำคือสภาพลเมืองระดับเมือง และปลายน้ำคือการพัฒนาเมืองอุดรธานี ให้เป็นเมืองแห่งความเลิศ เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งการธุรกิจ การลงทุน การคมนาคมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) 
    นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง        

ดร.ธนดรฯกล่าวถึงหลักการของสภาพลเมืองว่า สภาพลเมืองเป็นของคน ทุกคนสามารถใช้อำนาจของตนผ่านสภาพลเมืองได้อย่างแท้จริง ไม่ต้องผ่านตัวแทน ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าชุมชนเมืองร่วมกัน เป็นการพัฒนาประชาธิปไตยทางตรง ด้วยการใช้กระบวนการประชุมพูดคุย นำเสนอปัญหาด้วยพลังปัญญาและพลังสังคม ความต้องการไปยังคณะผู้บริหารเมือง (คณะผู้บริหารเทศบาลนครอุดรธานี) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและร่วมหาทางออกด้วยการร่วมกันแสวงหา 
    

เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างประชาชนกับฝ่ายบริหารท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันและสนองคามต้องการของประชาชน โดยมีสภาท้องถิ่น ฝ่ายบริหารท้องถิ่น คอยเป็นพี่เลี้ยง จัดสรรงบประมาณ นำเอาความต้องของประชนมาทำเป็นแผนการพัฒนาเมือง ด้วยการบรรจุเข้าแผนการพัฒนาเมือง

นครอุดรธานีตั้ง"สภาพลเมือง" เวทีประชาธิปไตยทางตรงร่วมพัฒนาเมือง

มีหน้าที่หลัก ๆ คือ นำเสนอนโยบาย แพนพัฒนาท้องถิ่น ความต้องการต่อองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.), ติดตาม ตรวจสอบ ถ่วงดุลการทำงานของตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าทำงานกับ อปท. หน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามนโยบาย/แผนพัฒนา และทำงานร่วมกัน  และสนับสนุความเข้มแข็งของชุมชนเมืองเพื่อให้ผู้นำชุมชนมีศักยภาพ มีความเข้มแข็งจัดารปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนตนเองได้