ราคาไก่ยังเพิ่ม แม้ภาครัฐมีมาตรการแทรกแซง

16 ม.ค. 2565 | 04:14 น.

คาดมาตรการตรึงราคาไก่ของภาครัฐไม่ประสบผลสำเร็จระยะสั้น เหตุอุปทานไก่ยังคงตึงตัว สวนทางอุปสงค์ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเข้าใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน

ปศุสัตว์ ราคาไก่ยังคงปรับตัวเพิ่มขื้นอย่างต่อเนื่องแม้ภาครัฐมีมาตรการแทรกแซงราคา

 

บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง(บล.) มองว่ามาตรการของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาตรึงราคาไก่มีชีวิต ขายส่งหน้าฟาร์ม  ราคาไข่ไก่ขายส่งหน้าฟาร์ม และราคาชิ้นส่วนไก่ขายปลีกให้ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบันคาดว่าจะไม่ประสบผลสำเร็จ   

 

เนื่องจากภาวะอุปทานไก่ที่ยังคงตึงตัว ณ ปัจจุบันบวกกับอุปสงค์ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเข้าใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีนสำหรับผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนไก่ชำแหละที่เป็นราคาขายส่ง เราจึงมองว่าผู้ประกอบการจะอิงราคาขายผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนไก่กับราคาตลาด

 

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังคงอิงราคาขายกับราคาตลาด ไม่ใช่ราคาควบคุมหรือราคาตรึง  ซึ่งเป็นราคาที่ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และเนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ให้ราคาตรึงหรือราคาขอความร่วมมือ

ตรึงราคาไก่เป็นระยะเวลา 6 เดือน และตรึงราคาไข่ไก่ไว้ที่ 2.9บาท/ฟอง

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา กรมการค้าภายในและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเช่น เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ และสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย ได้บรรลุข้อตกลงที่จะตรึงราคาไก่เป็นหรือไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มและราคาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนไก่ขายปลีกเป็นระยะเวลา 6 เดือนในช่วงระหว่างเดือนม.ค. จนถึงเดือนมิ.ย. 2565 เพื่อแก้ปัญหาราคาหมูที่ปรับตัวขึ้นแพงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจะไปส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ประเภทอื่นที่ใช้ทดแทน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามมา ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าฟารม์ ถูกตรึงไว้ที่ 33.5 บาท/กก.

 

ขณะที่ราคาขายปลีกไก่มีชีวิต ทั้งตัว (ทั้งที่มีและไม่มีเครื่องใน) อยู่ในช่วง 60-65 บาท/กก. ราคาน่องไก่และสะโพกไก่อยู่ในช่วง 60-65 บาท/กก. และราคาอกไก่อยู่ในชว่ ง 65-70 บาท/กก. และเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา กรมการค้าภายในและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง  เช่น สมาคมไก่ไข่   ผู้ประกอบการไก่ไข่รายเล็กและรายใหญ่ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะตรึงราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มหรือราคาขายส่งไว้ที่ 2.9 บาท/ฟองจนกว่าสถานการณ์ราคาไข่ไก่ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจะลดลงกลับสู่ระดับปกติ

 

มาตรการควบคุมราคาโดยการตรึงราคาไก่ของหน่วยงานภาครัฐไม่น่าจะได่ผลในระยะสั้น

เราคิดว่ามาตรการแทรกแซงราคาของหน่วยงานภาครัฐเพื่อควบคุมราคาไก่ที่ปรับตัวเพิ่มสูงโดยเข้าไปตรึงราคาไก่หน้าฟาร์มให้ต่ำกว่าราคาตลาดมีแนวโน้มที่จะไม่ประสบผลสำเร็จในระยะสั้น   เนื่องจากอุปทานไก่ ณ ปัจจุบันที่ลดลงจากช่วงก่อนหน้า  เรามองว่ามาตรการเข้าตรึงราคาดังกล่าวถือว่า เป็นการบิดเบือนภาพของกลไกอุปทานและอุปสงค์ณ ปัจจุบันซึ่งอยู่ในภาวะที่อุปทานตึงตัวและอุปสงค์ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่เราอาจเห็นความเป็นไปได้ที่ราคาไก่อาจมีแนวโน้มลดลงได้ในอีก 45-60 วันข้างหน้า

 

สำหรับในปี 2565 เรามองว่าผู้ประกอบการไก่จะยังคงมีกำไรที่ดีมากในปี 2565 โดยไม่ต้องไปคำนึงถึงราคาไก่ที่รัฐบาลตรึงไว้ที่ 33.5 บาท/กก. และเนื่องจากระดับราคาไก่ไม่ชีวิตหน้าฟารม์ ที่ 33.5 บาท/กก. ถือว่าต่ำกว่าต้นทุนการผลิตไก่ของผู้ประกอบการไก่รายย่อยอย่างมากซึ่งอยู่ในช่วง 38-40 บาท/กก. เรามองว่ามาตรการนี้ถือว่าเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการไก่รายย่อยไม่ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมไก่ในระยะกลาง