“โอมิครอน”ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งออกไทย

11 ม.ค. 2565 | 06:37 น.

“โอมิครอน”ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งออกไทย  สรท.ยังยืนตัวเลขส่งออกปี65  ที่5-8% แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า พร้อมเสนอรัฐเร่งแก้ปัญหาค่าเงินบาท-แรงงานขาดแคลน- ต้นทุนผลิตที่สูง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดถึงสถานการณ์ส่งออกว่าขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด–19 อย่างสายพันธุ์ “โอมิครอน” ทั่วโลกได้รับผลกระทบรวมถึงไทย ที่มีการพบจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย แม้รายงานผลกระทบจากการติดเชื้อยังคงไม่รุนแรงนัก แต่รัฐบาลหลายประเทศต้องพิจารณาทบทวนเรื่องการกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ว่าจำเป็นมากน้อยเพียงใด และหากนำกลับมาใช้อีกจะต้องเข้มงวดในระดับไหน ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญซึ่งสรท.คาดการณ์ส่งออกในปีนี้น่าจะโตที่5-8%

“โอมิครอน”ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งออกไทย

ขณะที่ภาพรวมส่งออกไทย11เดือนปี2564 (ม.ค.-+พ.ย.64)เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 246,243.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.4% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 242,315.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 29.4% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม - พฤศจิกายนของปี 2564 เกินดุล 3,927.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 15,545.9 ล้านบาท

“โอมิครอน”ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งออกไทย

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการส่งออกไทยในปีนี้นั้นยังคเป็นเป็น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด–19 “โอมิครอน” ทั่วโลกรวมถึงไทย ,แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อส่งออกที่กำลังฟื้นตัว , ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า ,ค่าระวางเรือยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และมีแนวโน้มที่จะทรงตัวสูงยาวจนถึงปลายปี และ ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

“โอมิครอน”ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งออกไทย

ทั้งนี้สรท.มีข้อสนอแนะไปยังหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย ให้รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับเหมาะสม ,ขอให้กระทรวงพลังงาน ควบคุมต้นทุนพลังงานให้อยู่ในระดับเหมาะสม ไม่เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่อยู่ในช่วงการฟื้นฟูหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 และ  ขอให้กระทรวงแรงงาน เร่งช่วยเหลือเรื่องปัญหาการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในภาคการผลิต

“โอมิครอน”ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งออกไทย