ทำอย่างไร "5G" จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ?

02 ธ.ค. 2564 | 10:53 น.

"5G" คืออะไร ซีอีโอ “เอสทีทีจีดีซี” เผยเทรนด์ประเทศไทยมาแน่ พ่วงมากับเทคโนโลยีใหม่ จะเตรียมความพร้อมอย่างไร ต้องฟัง

นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท เอสที  เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวภายในงานสัมมนา  “5G THAILAND BIG MOVE” เพื่อก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย กล่าวว่าวันนี้ได้ฟังกันแล้ว 5G นี่คืออะไร เคยสงสัยกันไหมว่าอุปกรณ์ 5G หรือบ้าน 5G อยู่ที่ไหน แต่ว่า 5G เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศไทยที่ช่วยผลักดัน

 

 แต่ก่อนที่เราจะ BIG MOVE ไปข้างหน้า ดังนั้นต้องมาดูภาพรวมทั้งหมดของเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งเราจะเห็นว่า 5G  เป็นส่วนไหนของเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งจะต้องมา เศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของประเทศไทย  (traditional economy)  ซึ่งประเทศไทยเศรษฐกิจจะผลักดัน 3 ส่วน  ส่วนที่ 1 เรื่องการท่องเที่ยว 2.เรื่องการเกษตร 3.อุตสาหกรรม

 

ส่วนอีกฝั่งหนึ่งเป็นเรื่อง “เศรษฐกิจดิจิทัล” ที่เราคุ้นเคยกันในเรื่องโซลเซียลมีเดีย จะสังเกตว่ามีการใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น ซึ่ง 5 G จะช่วยทำให้การใช้ดาต้าเร็วขึ้น มีการบริการใหม่ๆ  เกิดขึ้น รวดเร็ว แต่เศรษฐกิจไม่เติบโตโดยตรงอย่างเดียว แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งการเกิดเทคโนโลยีใหม่ โดยจะเกิดขึ้น 3 เซกชั่น ได้แก่ People Centricity คือ คนยังคงเป็นศูนย์กลางของธุรกิจที่จำเป็นต้องปรับการทำงานให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ 2.การทำงานที่ไหนก็ได้ ไร้ขีดจำกัด (Location Independence) และ 3. เทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ( Resilient Delivery )

1.Internet of Behaviours ยกตัวอย่างง่ายๆ ปัจจุบันที่ทุกคนเล่นโซลเซียลมีเดีย เข้าเฟซบุ๊กจะสามารถเข้าใจพฤติกรรมความสนใจ 2.Total Experience จะอยู่ในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ เพิ่มขึ้น และ 3.เมื่อมีการใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น จะต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น และดาต้าที่เร็วขึ้นจึงมีการพูดถึง เดลต้า ความเป็นส่วนตัว รวมทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (privacy-Enhancing Computation) ในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นมหาศาล แต่การเข้าถึงบริการจะง่ายขึ้นเช่นเดียว ในเรื่อง “Smart City” หรือ เมืองอัจฉริยะ ที่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีพร้อมการบริการแบบใหม่เกิดขึ้นเรื่อยผ่านระบบ 5G

 

4. เมื่อเริ่มกระจายแล้ว  distributed cloud ต่างจังหวัดก็เข้าถึง จะสามารถไปภาคเหนือ ภาคใต้ ครอบครอบทั่วประเทศ ไปจุดไหนก็ได้ 5. Anywhere Operation คือ จะจัดงานสัมมนาที่ไหนก็ได้ จะต้องเป็นเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่ง 5G จะต้องมาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ เพื่อผลักดันให้เกิด AI engineering รวมเอาเทคนิคทางด้านปัญญาประดิษฐ์หลากหลายรูปแบบเข้ากับกระบวนการ DevOps หลักแทนที่จะแยกออกไปแบบเฉพาะทาง การผสานรวม DataOps, ModelOps และ DevOps เข้าด้วยกัน จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพ การขยายตัว และความเสถียรของระบบปัญญาประดิษฐ์ให้ดียิ่งขึ้น

 

นายศุภรัฒศ์  กล่าวว่า คำถามว่าประเทศไทยจะเตรียมตัวอย่างไร ซึ่งไม่ใช่เตรียมตัวสำหรับ 5G เพียงอย่างเดียว แต่จะมีเทคโนโลยีอื่นที่จะมาพร้อมกับ 5G เมื่อเปรียบเทียบ 4G ให้นึกถึงเครื่องบิน ซึ่งมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยแล้วใช้งานได้ แต่ในส่วน 5G ให้นึกถึงภาพเครื่องบินที่มีศักยภาพสูงกว่านี้ ต่อให้ประเทศไทยไม่ได้เตรียมความพร้อมอะไร 5G ก็เกิดขึ้นอยู่ดี

 

สำหรับ “ดาต้าเซ็นเตอร์” ในประเทศไทย  ก่อนการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เติบโตประมาณ 15% แต่พอโควิดเกิดขึ้นเติบโตถึง 26% ซึ่งไม่ใช่ 4G และ 5G  แม้กระทั่งธุรกิจคลาวด์ อาทิ ไมโครซอฟต์ TikTok  อเมซอน และกูเกิ้ล ก็มีความต้องการ 5G ด้วยเช่นกัน ทุกอย่างที่เทเลคอมทำ ทุกบริการแม้แต่ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งเรามองตลาดในอนาคตจะมีการเติบโตอุตสาหกรรมดิจิทัลที่คาดการณ์ไว้ 20% ในระยะ 2-3 ปี ดังนั้นต้องผลักดัน 5G เติบโตเกิดขึ้นรวดเร็ว

 

สำหรับ บริษัท เอสที  เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เป็นใหญ่ที่สุดในอินโดจีน มีสาขาหลายประเทศ และในส่วนของประเทศไทย “ STT Bangkok 1” ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลแห่งแรกในกรุงเทพฯ ที่เปิดกว้างให้เชื่อมต่อแบบเสรี (carrier-neutral) และมาพร้อมกับมาตรฐานระดับโลก “STT Bangkok 1” ซึ่ง เป็นหนึ่งในสองอาคารของดาต้าเซ็นเตอร์แคมปัส STT Bangkok ซึ่งตั้งอยู่บนถนนหัวหมาก หนึ่งในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ตัวอาคารมีความสูง 7 ชั้น บนพื้นที่ทั้งหมด 30,000 ตารางเมตร และมีกำลังไฟพร้อมใช้สูงถึง 20 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจของลูกค้า หลังจากพัฒนาทั้งสองอาคารจนเสร็จสมบูรณ์ ดาต้าเซ็นเตอร์แคมปัสแห่งนี้จะมีกำลังไฟรวมถึง 40 เมกะวัตต์ มีระบบการผลักดัน 4G และ 5G

 

ที่สำคัญดาต้าเซ็นเตอร์ STT Bangkok 1 ยังออกแบบมาพร้อมกับมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสุด ประกอบด้วย ระบบป้องกันภัยหลายชั้น (multi-layer security) การควบคุมการเข้าออก กล้องวงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมาตรฐาน Threat and Vulnerability Risk Assessment (TVRA) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงสุด

 

ในขณะเดียวกันดาต้าเซ็นเตอร์ STT Bangkok 1 ยังได้รับการรับรองมาตรฐานในด้านความปลอดภัยข้อมูลและการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยมาตรฐาน ISO27001 และมาตรฐาน PCI-DSS (Payment Card Industry Data Security Standard) ซึ่งช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัท ในการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการเก็บข้อมูล เพื่อปกป้องข้อมูลที่มีค่าของลูกค้าจากการรั่วไหลทุกรูปแบบ รองรับด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าให้มากที่สุด