7 ประเด็นปัญหาแผนบูรณาการงบประมาณ-อีอีซีเร่งดึงเอกชนร่วมลงทุน

19 พ.ย. 2564 | 10:39 น.

ผู้ช่วยเลขาธิการ ด้านนโยบายและแผนเผย 7 ประเด็นปัญหาแผนบูรณาการงบประมาณ ชี้อีอีซีเร่งดึงเอกชนร่วมลงทุนหนุนงบประมาณมีจำกัด

นางสาวธัญรัตน์ อินทร ผู้ช่วยเลขาธิการ ด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวในช่วง เสวนา "การจัดทำงบบูรณาการจากประสบการณ์ อีอีซี" ในงานสัมนา EEC "เปิดความสำเร็จการเป็นต้นแบบบูรณาการ สู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน" ว่า แผนบูรณาการงบประมาณยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประเด็น ประกอบด้วย
1.งบประมาณยังมีข้อจำกัดระบบการปิดผนึก (Sealing) ของงานพื้นฐานงานยุทธศาสตร์ โดยที่สำนักงบประมาณยังไม่ให้ Sealing เพิ่มเติมของการทำแผนบูรณาการ ซึ่งสำนักงบฯ ก็จะดูโครงการที่มีศักยภาพเป็นอันดับแรก 
"หลายหน่วยงานไม่ต้องการที่จะผลักดันโครงการมาทำงานร่วมกันที่มากกว่างานปกติที่ทำอยู่แล้ว โดย ณ ปัจจุบันยังไม่มีอะไรเพิ่มเติมทางด้าน Sealing เกี่ยวกับการทำแผนบูรณาการ"

2.กรรมาธิการและอีอีซี มีความกังวลพอสมควรถึงความยั่งยืน โดยจะกล่าวก็คือแผนบูาณาการไม่ได้เป็นแผนที่สามารถเป็นแผนแม่บท หรือแผนระยะยาว หรือแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่เป็นแผนปีต่อปี เพราะฉะนั้นก็ต้องรอมติจากคณรัฐมนตรี (ครม.) ว่าในปีงบประมาณแต่ละปีจะมีแผนบูรณาการใดบ้างหรือจะถอนแผนบูรณาการใดบ้าง
"การที่ยังเป็นไปในรูปแบบดังกล่าวส่งผลทำให้เแต่ละเจ้าภาพเกิดความกังวลว่าแผนนของหน่วยงานตนจะยังอยู่หรือไม่ เพราะฉะนั้นทุกหน่วยงานก็จะรอ เมื่อมีการประกาศแผนบูรณาการก็จะทำงานกันไม่ทัน  โครงการที่มาก็จะเป็นโครงการที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกันนำมารวมกันก็จะไม่ใช่การบูรณาการ  เพราะไม่ได้เน้นการทำงานเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของการบูรณาการ โดยปีนี้กว่าจะทราบว่ามีแผนบูรณาการอะไรบ้างก็ประมาณวันที่ 7 ธันวาคมซึ่งก็คงรอไม่ได้ เพราะตอนนี้เราต้องกำหนดเป้าหมายการทำงานออกมาแล้ว เเพื่อจะไปขับเคลื่อนให้หน่วยงานจัดทำโครงการขึ้นมา"

3.อาจมีหลายโครงการที่ต้องการผลักดัน แต่โครงการดังกล่าวอาจมีความซ้ำซ้อนกับแผนบูรณาการอื่น เนื่องงจากแผนบูรณาการของอีอีซี ต้องระดมสรรพกำลังของหน่วยงานต่างๆมาพัฒนาในเชิงพื้นที่มีเป้าหมาย เพื่อทำให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ แต่บางประเด็นหรือบางแนวทางที่ต้องการดำเนินการ เช่น เรื่องการท่องเที่ยวหรือสิ่งแวดล้อมก็อาจจะไปซ้ำซ้อนในเรื่องบูรณาการอื่นๆเช่นบูรณาการการท่องเที่ยว หรือต้องการผลักดันเกี่ยวกับการลงทุนก็อาจจะไปเกี่ยวข้องกับบูรณาการอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะมีความซ้ำซ้อนกันหน่วยงานก็จะสับสนว่าควรที่จะไปอยู่ในแผนบูรณาการไหนดี
"สิ่งที่ต้องการแนะนก็คือให้ไปทุกที่ทาง สำนักงบประมาณจะพิจารณาเองว่าเหมาะสม กับโจทย์เป้าหมายของแผนบูรณาการใด"
4.งบประมาณท้องถิ่น ซึ่งทางหน่วยงานท้องถิ่นไม่สามารถเสนอคำขอเข้ามาภายใต้แผนบูรณาการได้ซึ่งเป็นข้อจำกัดมากทำให้เราไม่เห็นแผนภาพรวมหรือโครงการภาพรวมในการพัฒนาพื้นที่โดยความต้องการให้ท้องถิ่นขับเคลื่อนการห้ทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนภาพรวม ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้

ธัญรัตน์ อินทร
"เราก็พยายามเข้าไปช่วยท้องถิ่นในการดูแผนดูโครงการและร่วมกันขับเคลื่อนโครงการของท้องถิ่นอยู่เพียงแต่ผลักดันให้อยู่ในแผนของอีอีซีไม่ได้เท่านั้น"
5.ขาดการเชื่อมโยงส่งต่อการดำเนินงานร่วมกันในลักษณะต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งเป็นกรณีของแผนบูรณาการอื่นทั่วไป ไม่เฉพาะของอีอีซี ซึ่งอีอีซีจะไม่ให้ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้อย่างแน่นอน โดยกรรมาธิการมีข้อสังเกตในทุกปี และมักจะได้ยินคำครหาทุกปีถึงเจ้าภาพบูรณาการ คือ แผนบูรณาการมีการรวมโครงการมาจากหลายหน่วยงานที่มีลักษณะคล้ายกันเอาไว้ในแผ่นเดียวกัน เหมือนบูรณาการตัดแปะ บางแผนก็มีการบูรณาการซ้ำซ้อนกันกับงานปกติของหน่วยงาน  ทำให้หลายบูรณาการต้องยกเลิกไป
"เดิมทีปี 60 เรามี 25 แผนงานตอนนี้เหลือแค่ 11 แผนงาน เพราะฉะนั้นวางแผนงานมีความจำเป็นเพียงแต่ว่าอาจจะขับเคลื่อนการทำงานไม่สอดคล้องกับแนวทางในการทำแผนบูรณาการก็เลยทำให้หายไป"
6.หลายหน่วงานมีความเกรงกลัวว่าจะโดนเบียดบังงบประมาณ และเกรงว่าจะโดนกำกับติดตามงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะถ้าอยู่ในบูรณาการจะไม่มีอิสระในการทำงาน เพราะต้องทำงานให้เป็นรูปแบบเดียวกันในแต่ละแนวทาง  ทำให้หลายหน่วยงานไม่ต้องการเข้าร่วมแผนบูรณาการ
7.การติดตามประมวลผล  ซึ่งเป็นปัญหามากหลายหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพบูรณาการไม่ได้จริงจังในการติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแนวทางที่คุยกันไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะเป็นการประเมินว่าหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายหรือไม่ ปีต่อไปควรที่จะอยู่ด้วยกันหรือไม่  
"แผนบูรณาการอีอีซีเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์อย่างเป็นบูรณาการและสามารถที่จะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไปได้"  
นางสาวธัญรัตน์ กล่าวอีกว่า ความท้าทายอีกเรื่องที่อีอีซีพยายามผลักดันคือการชักจูงให้เอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนการดำเนินงานรวมถึงการสนับสนุนงบประมาณกับหน่วยงานภาครัฐ เพราะรู้ว่างบประมาณแผ่นดินมีจำกัดจึงต้องผลักดันเอกชนเข้ามาร่วมซึ่งเอกชนก็พร้อม  เพราะก็ได้ประโยชน์จากการพัฒนาดังกล่าว