ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

26 ต.ค. 2564 | 10:49 น.

ส่งออกไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19  เดือนกันยายน ยอดพุ่ง 17% โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ยอดรวม 9 เดือน 199,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15.5%  สินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรม พุ่งยกแผง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้จะมีสถานการณ์โควิด-19 ที่กระทบต่อภาคการผลิตและโลจิสติกส์ในช่วงล็อกดาวน์ เป็นเพราะแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง ที่มี 130 กิจกรรม ทำได้บรรลุผล มีการทำงานร่วมกันระหว่างพาณิชย์ เอกชน และส่วนราชการอื่น ในการเปิดตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา และการแก้ปัญหาส่งออก เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ การแก้ปัญหาการส่งออกผ่านด่านไปเวียดนามและไปจีน และมีการเร่งรัดเปิดด่านชายแดนได้สำเร็จ

 

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%


ส่งผลให้ การส่งออกเดือนก.ย. มีมูลค่า 23,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.1% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่มี.ค.2564 การนำเข้ามีมูลค่า 22,426.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.3% เกินดุลการค้ามูลค่า 609.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยอดส่งออกรวม 9 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 199,997.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.5% การนำเข้ามีมูลค่า 197,980.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.9% เกินดุลการค้า 2,016.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
         

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

 

 

 

ขณะที่การค้าโลกดีขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น โดยองค์การการค้าโลก (WTO) คาดเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 10.8% ส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลให้สินค้าไทยแข่งขันได้ดีขึ้น ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ที่มีมุมลบทำให้ต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น แต่ก็ส่งผลดีต่อสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ ศักยภาพของภาคเอกชนไทยเข้มแข็ง ภาคการผลิตฟื้นตัวเร็ว แม้เจอล็อกดาวน์ และโควิด-19 ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนที่เป็นบวก 30.3% มีส่วนทำให้ผลิตสินค้าส่งออกไปได้ต่อเนื่องไม่สะดุด

 

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

 

สำหรับรายละเอียดการส่งออกในเดือนก.ย.2564 สินค้าเกษตร ส่งออกเพิ่มขึ้น 12.9% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยางพารา เพิ่ม 83.6% เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง และบวกในทุกตลาด เช่น จีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น ลำไยสด เพิ่ม 73.8% มะม่วงสด เพิ่ม 55.9% มันสำปะหลัง เพิ่ม 44.4%       
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่ม 11.3%

 

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

 

สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่ม เช่น ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 29.3% โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง เพิ่ม 118.3% ผลไม้รวมกระป๋อง เพิ่ม 100.6% และมะม่วงกระป๋อง เพิ่ม 60.7% อาหารสัตว์เลี้ยง โดยตลอดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เพิ่ม 23.6% เป็นบวก 25 เดือนต่อเนื่อง ทั้งในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อิตาลี ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

 

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

 

 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 15.8% สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เพิ่ม 61% เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เพิ่ม 38.8% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เพิ่ม 32.8% รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 4.9% เป็นบวก 11 เดือนต่อเนื่อง  

 

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

 

ด้านตลาดส่งออก ตลาดหลัก เพิ่ม 18.1% โดยสหรัฐ เพิ่ม 20.2% จีน เพิ่ม 23.3% ญี่ปุ่น เพิ่ม 13.2%  อาเซียน (5 ประเทศ) เพิ่ม 25.7% CLMV เพิ่ม 8.2% และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) เพิ่ม 12.6 ตลาดรอง เพิ่ม 21.8% โดยเอเชียใต้ เพิ่ม 69.0% ทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 3.0% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 17.4% ทวีปแอฟริกา เพิ่ม 30.2% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 10.1% และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS เพิ่ม 42.5 และตลาดอื่น ๆ หดตัว 65.5% ซึ่งหลายตลาดเป็นตลาดใหม่ที่เป็นเป้าหมายที่กรอ.พาณิชย์ ได้ประชุมร่วมกันและเห็นว่าจะต้องเร่งผลักดันการส่งออก และทำได้ดีจนส่งออกดีขึ้น

ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ส่งออกไทยทะยานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ก.ย.โต17%

 

ด้านนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์  ผู้อำนายการสำนักงานนโยบาบและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งออกไทยเดือน ก.ย. 64 กลับมาอยู่ที่เหนือระดับ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่า 23,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อีกครั้งเป็นเดือนที่ 3 หลังจาก มี.ค. 64 มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 24,222 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ มิ.ย. 64 มีมูลค่า 23,699 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ การส่งออกช่วงที่เหลือของปี 2564 น่าจะมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศยังมีทิศทางฟื้นตัวดีตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าสำคัญ ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ มองว่าการส่งออกทั้งปี 2564 จะขยายตัวได้ในระดับ 2 หลัก เกินกว่าเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ 4% แน่นอน สอดคล้องกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ประเมินไว้