“คีโต” ให้ได้ประโยชน์ลดความอ้วน

16 ก.พ. 2564 | 08:11 น.

ช่วงนี้กระแส “คีโตเจนิคไดเอท (Keto genic Diet)” หรือ ที่เราเรียกกันว่า “คีโต” กำลังมาแรงมาก ซึ่งการกินคีโตนั้นเป็นหนึ่งในวิธีลดนํ้าหนักรูปแบบใหม่ ไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลข้างเคียงกับร่างกายและสุขภาพ เป็นการปรับเปลี่ยนให้ร่างกายเน้นใช้ไขมันเป็นพลังงานหลัก หลักๆ เลยการทานคีโตเพื่อลดความอ้วน จะลดการทานคาร์บ หรือ คาร์โบไฮเดรต แต่ทดแทนด้วยไขมัน หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าจะยิ่งทำให้อ้วนหรือไม่ และเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้วจริงหรือไม่ลองมาทำ ความรู้จักกับ “คีโต” กัน

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า Keto Diet คือรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นไขมันเป็นหลัก เพื่อให้ร่างกายใช้ไขมันเป็นพลังงานหลักแทนคาร์โบไฮเดรตหรือกลูโคส และเพื่อให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันได้อย่างต่อเนื่อง วิธีนี้สามารถช่วยลดนํ้าหนักได้ และยังได้สุขภาพที่ดีด้วย

การทานอาหารแบบคีโตแทบจะไม่ได้แตกต่างจากเวลาที่เราทานอาหารธรรมดาเท่าไรนัก เพียงแต่ตัดคาร์โบไฮเดรตและนํ้าตาลออกไป และเพิ่มไขมันเข้ามาแทน เพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานจากไขมันมาใช้ ส่วนสารอาหารประเภทอื่นๆ อย่างพวกวิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ก็ยังคงทานได้ปกติ แต่ถ้าเราทานคาร์โบไฮเดรตพร้อมกับไขมันและสารอาหารอื่น ๆ เหมือนที่เคยทำมา ร่างกายเราก็จะดึงคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงานก่อน จนแทบไม่ได้ใช้พลังงานจากไขมันเลย

โดยปกติร่างกายจะเผาผลาญนํ้าตาลในเลือดที่ได้จากการย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน แต่หากปริมาณนํ้าตาลในเลือดไม่เพียงพอ ร่างกายจะหันไปเผาผลาญไขมันที่เก็บสะสมไว้ให้กลายเป็นสารคีโตนบอดี้ส์ (Ketone Bodies) และใช้สารชนิดนี้สร้างพลังงานเพื่อนำไปใช้ที่สมองและส่วนต่างๆ จนกว่าร่างกายจะได้รับคาร์โบไฮเดรตอีกครั้ง ซึ่งเรียกว่ากระบวนการคีโตซิสนั่นเอง และกระบวนการนี้มักเกิดขึ้นหลังจากจำกัดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตไปแล้ว 2-4 วัน

วิศิษฐ์  ลิ้มลือชา

สำหรับคีโตเจนิก กินอะไรได้บ้าง?

1. เนื้อสัตว์ : ทุกชนิด ติดมันได้, เครื่องใน, ไข่, อาหารทะเล, เบคอน

2. ผัก : ผักใบเขียวทุกชนิด กินได้ไม่ต้องนับคาร์บ (หลีกเลี่ยงผักหัวใต้ดินอย่างแครอทและมันทั้งหลาย, ถั่วฝักยาว,
ถั่วแขก, ฟักทอง) มะเขือเทศ, มะเขือยาว, กะหลํ่าดอก, บรอคโคลี, แอสพารากัส - มีคาร์บบ้าง นับไว้ปลอดภัยกว่า 3. ไขมัน : นํ้ามันมะกอก, นํ้ามันมะพร้าว, เนย, นํ้ามันอะโวคาโด นํ้ามันแมคคาเดเมีย, กะทิ! (นํ้ามันพืชใช้ได้เล็กน้อย) 

4. ผลิตภัณฑ์นม : ชีสทุกชนิด, เนย(ห้ามมาการีน), ครีมชีส, ครีม, วิปครีม -ทุกอย่าง full fat 5. ถั่ว: ถั่ว ที่อนุญาตให้ทานคือ ถั่วเมล็ดเดี่ยว (nuts) เช่น อัลมอนด์ พิชตาชิโอ มะม่วง หิมพานต์ (คาร์บเยอะหน่อย) วอลนัท โดยเฉพาะแมคคาเดเมีย พวกเมล็ดเจีย (chia seed), เมล็ดฟักทอง, เม็ดแมงลัก, งา

“คีโต” ให้ได้ประโยชน์ลดความอ้วน

6. เครื่องดื่ม:นมอัลมอนด์, ชา, กาแฟ(ใส่ครีมแทนนม), นํ้าโซดา, นํ้ามะนาว(ไม่ใส่นํ้าตาล ใส่หญ้าหวานแทนถ้าอยากหวาน), นํ้าแร่-นํ้าเปล่าดีที่สุด 7. ผลไม้ : อะโวคาโด(ไขมันสูง แม้มีคาร์บแต่ส่วนใหญ่คือไฟเบอร์), เนื้อมะพร้าว, มะนาว, เลมอน,  มะกอก, เบอรี่ทั้งหลาย (จำกัดปริมาณ) 8. เครื่องปรุง : นํ้าส้มสายชูข้าว นํ้าส้มสายชู ซอสทาบัสโก วาซาบิแท้ นํ้าปลา ซีอิ๊วขาว ซอสพริก ผงโกโก้ปราศจากนํ้าตาล ผงคาเคา (Cacao) มายองเนส นํ้าซุปกระดูก มัสตาร์ด นํ้าสลัด หญ้าหวาน /อิริทริทอล/ นํ้าตาลหล่อฮั้งก้วย วิปครีม ครีมชีส

“คีโต” ให้ได้ประโยชน์ลดความอ้วน

“ขณะที่คีโตเจนิก ควรเลี่ยงอะไรบ้างนั้น  อาหารคีโตควรเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตตํ่า และนํ้าตาลน้อย เพราะต้องจำกัดการรับคาร์โบไฮเดรตปริมาณ 20-50 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม การกินคีโตเจนิกไม่ได้เหมาะกับทุกคน อาหารคีโตเจนิกดีสำหรับผู้ที่มีนํ้าหนักเกิน เบาหวานหรือต้องการปรับปรุงสุขภาพการเผาผลาญ แต่อาจไม่เหมาะสำหรับนักกีฬา หรือผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อหรือนํ้าหนัก ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจกินอาหารตามหลักการนี้ เพราะในช่วงแรกของการทานคีโตนั้นร่างกายอาจต้องใช้เวลาปรับสภาพอยู่หลายวัน และจะได้ผลก็ต่อเมื่อคุณมีความสมํ่าเสมอในการรับประทาน” 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,654 วันที่ 18 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564