“พิเชษฐ์” เคลียร์ปม ไซฟ่อนนมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้าน

28 ก.ย. 2561 | 08:28 น.
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ยันเจ้าหน้า-ขรก.ไม่มีเอี่ยวทุจริตไซฟ่อนนมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้าน เผยรัฐมนตรีตั้ง 3 หน่วยงานสอบข้อเท็จจริงแล้ว  “กฤษฎา” ไฟเขียว  2 สมาคม กลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ-สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ หารือ-เสนอหลักเกณฑ์ใหม่ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ ต้องขายพ่วงนมพาณิชย์ หวังเกษตรกรขายน้ำนมดิบได้เพิ่ม

8376aace7af18ea8cafa499d7e69a6ec_XL

จากการที่มีกลุ่ม ACPU ประกอบด้วยสมาชิก 11 องค์กร ได้แก่ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด สหกรณ์โคนมปากช่อง จำกัด สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก จำกัด สหกรณ์โคนมท่าม่วงจำกัด บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด บริษัท คันทรีเฟรช แดรี่ จำกัด บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชัน จำกัด บริษัท เทียนขำ จำกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สมาคมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูปผลิตภัณฑ์นม  ได้ร้องเรียนกับนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (วันที่ 24 ก.ย.61)ว่ามีขบวนการไซฟ่อนปริมาณน้ำนมโคของประเทศไทย ชี้เป็นตัวเลขปริมาณการซื้อขายน้ำนมโคเท็จ  ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางกลุ่มจึงขอปฏิเสธตัวเลขปริมาณน้ำนมโคที่ผลิตได้ในแต่ละวันของศูนย์รวบรวมน้ำนมโคและผู้ประกอบการที่มีการรายงานการซื้อขายกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

35806809_640170336344514_756374767669346304_n

ต่อกรณีดังกล่าวนี้ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  ในฐานะประธานคณะกรรมการนมทั้งระบบ ในโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียน   เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  โดยยืนยันยันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่รายงานและตรวจสอบปริมาณน้ำนมดิบจะเข้าไปสร้างตัวเลขอันเป็นเท็จนั้นไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีผลประโยชน์อันใดที่จะถึงเจ้าหน้าที่เหล่านี้เลย ส่วนที่ทางผู้แทนสหกรณ์ได้นำเสนอคลิปให้ดูนั้น ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้ทั้ง 3 หน่วยงานได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ( อ.ส.ค.) เข้าไปตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงทางรัฐมนตรีฯกำชับให้รีบหาทางป้องกันหรือแก้ไขในทันที

090861-1927-9-335x503-8-335x503

“ในเรื่องข้อมูลที่นำมาทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำนมโคที่นำมาจัดทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) การซื้อขายน้ำนมโค ปี 2561/2562 มี 4 ข้อมูล ได้แก่  1.ค่าเฉลี่ย 9 เดือน (ตุลาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561) ของปริมาณน้ำนมโคที่กรมปศุสัตว์ตรวจสอบ ณ ศูนย์ รวบรวมน้ำนมโคจริงในพื้นที่ 2.ค่าเฉลี่ย 9 เดือน (ตุลาคม 2560 ถึงมิถุนายน 2561) ของปริมาณการรวบรวมน้ำนมโคที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมโค (ผู้ขาย)  รายงานมาที่ฝายเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ 3.กรณีข้อ  1 กับข้อ 2 มีความแตกต่างกันมาก ให้นำรายงานของผู้ประกอบการ (ผู้ซื้อ)มาประกอบการพิจารณา และข้อมูลสถาบันโคนมจากสำนักงานเศรษฐกิจ”

drip-175551_1920

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า จะเห็นว่ามีชุดข้อมูลอยู่ 4 ชุด  ความเชื่อถืออยู่ชุดที่ 1  เพราะกรมปศุสัตว์ตรวจสอบจริง  ณ ศูนย์นม แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะใน 1 เดือน ตรวจเพียง 1 วันเท่านั้น จึงนำข้อมูลชุดที่ 2 คือการรับรายงานจากศูนย์นมซึ่งรายงานขายน้ำนมครบทั้ง 30 วัน คณะอนุกรรมการฯ  ยอมรับค่าต่างของข้อมูลชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 ถ้ามีผลต่าง (+) (-) 3% และไม่เกิน 1 ตัน ให้ใช้ข้อมูลที่รายงานฝายเลขานุการ คือชุดที่ 2 เป็นหลัก

กรณีผลต่างชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 เกินกว่า(+) (-) 3% และเกิน 1 ตัน  ให้นำข้อมูลที่ผู้ประกอบการ (ผู้ซื้อ) รายงานซื้อนมจากศูนย์นมเฉลี่ยทั้ง 30 วัน (ข้อมูลชุดที่ 3) มาพิจารณาประกอบ คณะอนุกรรมการพิจารณาประกอบ คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาดังนี้ คือ นำข้อมูลชุดที่ 3 เปรียบเทียบกับข้อมูลชุดที่ 1 และข้อมูลชุดที่ 2 ถ้าตัวเลขใกล้ข้อมูลชุดใดให้ใช้ตัวเลขชุดนั้นเป็นหลัก กรณีรายงานของผู้ประกอบการ (ข้อมูลชุดที่ 3) ไม่สมบูรณ์ คณะอนุกรรมการฯให้ใช้ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) (ข้อมูลชุดที่ 4) เป็นหลัก

NSA_6608

ด้านนายวสันต์   จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์ กล่าวว่า นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบและสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์เข้าพบ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาถึงโครงการนมโรงเรียนเพื่อเสนอแนวทางที่จะให้เกษตรกรโคนมได้ขายน้ำนมโคได้เพิ่มขึ้น  จึงได้เสนอแนวทางให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนั้นจะต้องนำน้ำนมดิบไปขายในตลาดนมพาณิชย์ด้วย ไม่ใช่นำน้ำนมดิบ 100% ทั้งหมดมาจำหน่ายในโครงการของรัฐบาล เพียงอย่างเดียว ในทุกปีจะเห็นว่าจำนวนเด็กอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนลดลง ปัจจุบันเหลือเพียง 7.4  ล้านคน ขณะที่โครงการเริ่มต้นในปี 2552 จำนวนเด็ก  8.4 ล้านคน  ใช้ปริมาณน้ำนมดิบ 1,200 ตัน/วัน  ผ่านมาถึงปัจจุบันระยะเวลา 9 ปี จำนวนเด็กหายไป 1 ล้านคน การใช้ปริมาณน้ำนมในโครงการนมโรงเรียนก็ลดลงเหลือเพียง 1,169 ตัน/วัน โดยใช้ 260 วันต่อปี

595959859