เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”

30 พ.ย. 2563 | 11:49 น.

เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์”ก่อนตีจาก“เพื่อไทย” เป็นอดีตส.ส.หลายสมัย อดีตรมช.คมนาคม-อดีตรมช.มหาดไทย-อดีตรมว.สาธารณสุข  และ อดีตรมว.เกษตรและสหกรณ์

วันนี้ (30 พ.ย.63) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นใบลาออกจากสมสชิกพรรคเพื่อไทย

 

สำหรับคุณหญิงสุดารัตน์  เป็นอดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ก่อนพรรคมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ มีบทบาทสำคัญในช่วงหาเสียงเลือกตั้งให้พรรคในการเลือกตั้งที่ผ่านมา จนชนะเลือกตั้งเป็นที่ 1 ประเทศ และยังเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย

 

สำหรับ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2504 ปัจจุบันอายุ 59 ปี  ที่ย่านลาดปลาเค้า ต.ลาดพร้าว อ.บางกะปิ จ.พระนคร (ปัจจุบันเป็น เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรสาวของ นายสมพล เกยุราพันธุ์ อดีตส.ส.นครราชสีมา

 

คุณหญิงสุดารัตน์ สมรสกับนายสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ นักธุรกิจชาวไทย มีบุตร-ธิดา รวมหมด 3 คน คือ ภูมิภัทร, พีรภัทร และ ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ

 

จบมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จากคณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

คุณหญิงสุดารัตน์ เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2535 ได้เป็น ส.ส.กทม.เขต 12 (มีนบุรี, บางเขน, หนองจอก, ดอนเมือง ยกเว้นแขวงทุ่งสองห้อง) ของพรรคพลังธรรม

 

แต่หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้วางมือทางการเมืองแล้ว พรรคพลังธรรม ก็ได้ผลัดเปลี่ยนหัวหน้าพรรคหลายคน มาจนถึง นายทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค

เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”         เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”    เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”  

อ่านประกอบ: 

“หญิงหน่อย-โภคิน-พงศกร”ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว

 

ในการเลือกตั้งปี 2539 พรรคพลังธรรมมี ส.ส. เหลือเพียงคนเดียว คือ คุณหญิงสุดารัตน์  และในปี  2541 เมื่อ ทักษิณ ชินวัตร ได้ออกมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย คุณหญิงสุดารัตน์ ก็เป็นหนึ่งใน 23 คน ที่ร่วมก่อตั้งพรรคด้วย และก็ได้ร่วมงานกับทางพรรคเรื่อยมา แม้จะเปลี่ยนมาเป็นพรรคเพื่อไทย ในเวลาต่อมา

 

ในปี  2543 คุณหญิงสุดารัตน์ ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามของพรรคเพื่อไทย โดยคู่แข่งขันสำคัญ คือ นายสมัคร สุนทรเวช ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายสมัคร ชนะด้วยคะแนนที่ท่วมท้น

 

หลังจากนั้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี  2544 คุณหญิงสุดารัตน์ ได้ย้ายไปลงในระบบบัญชีรายชื่ออันดับต้น ๆ ของพรรค รวมทั้งการเลือกตั้งในปี  2548

 

และในปี  2548 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทำให้สามารถใช้คำนำหน้านามว่า "คุณหญิง" โดยบทบาทในพรรคของคุณหญิงสุดารัตน์ เป็นที่รับรู้กันว่า มีอิทธิพลสูง มีสมาชิกในสังกัดอยู่ในความดูแลหลายคน ซึ่งเป็น ส.ส. ในพื้นที่ กทม. ทั้งหมด โดยมีฉายาที่เรียกตามชื่อเล่นที่ชื่อ "หน่อย" ว่า "เจ๊หน่อย" หรือสื่อก็ชอบเรียกว่า “หญิงหน่อย”

                                                                      เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”

ต่อมาในปี  2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง ปี 2549

 

ในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ปี 2553 นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ได้กล่าวยอมรับว่า มีการให้เงินสนับสนุนจากคุณหญิงสุดารัตน์ ซึ่งขณะนั้น คุณหญิงสุดารัตน์ ถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามทำธุรกรรมทางการเงินและต่อมา คุณหญิงสุดารัตน์ ได้ออกมาขู่ฟ้องร้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา มติคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีชี้มูลความผิดโครงการจัดทำระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาลปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547 ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ชี้มูลว่า คุณหญิงสุดารัตน์ มีความผิดในโครงการดังกล่าว

                                                                            เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”

ในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2562 คุณหญิงสุดารัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากสูตรคำนวณตามรัฐธรรมนูญ 2560

 

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายน 2563 คุณหญิงสุดารัตน์ ได้ลาออกจากประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

                                                                             เปิดเส้นทางการเมือง “คุณหญิงสุดารัตน์” ก่อนตีจาก“เพื่อไทย”

                       

ขณะเดียวกันได้ก่อตั้งสถาบันสร้างไทยเพื่อทำกิจกรรมทางสังคม

 

สำหรับตำแหน่งทางการเมืองของ คุณหญิงสุดารัตน์ อาทิ

 

- เลขาธิการพรรคพลังธรรม

 

- หัวหน้ากลุ่มรวมพลังไทย

 

- หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย

 

- รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

 

-พ.ศ. 2535 ส.ส.กทม.  เขต 12 บางเขน ดอนเมือง หนองจอก และ ส.ส.กทม. เขต 7 บางกะปิ บึงกุ่ม ลาดพร้าว

 

-พ.ศ. 2535 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

-พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

 

-พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

-พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

-พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

++++++

*ขอบคุณข้อมูลหลักจากวิกิพีเดีย

*ขอบคุณภาพประกอบจากเพจ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์