เส้นทางวิบาก แก้รัฐธรรมนูญ ส่อยืดเยื้อ

09 พ.ย. 2563 | 20:10 น.

แก้รัฐธรรมนูญ ส่อยืดเยื้อ 73 "ส.ส.-ส.ว." กังขายื่นญัตติด่วนขอมติรัฐสภา ชง ศาลรธน.วินิจฉัยตีความอำนาจ-หน้าที่ เหตุ ร่างแก้รธน.3 ฉบับให้จัดทำฉบับใหม่ ขัดรธน.หรือไม่

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังคงถูกจับจ้องจากคอการเมืองอย่างต่อเนื่อง หนึ่งเงื่อนไขสำคัญที่หลายฝ่ายมองว่า จะเป็นประตูเปิดไปสู่ทางออกให้กับประเทศที่ต้องรีบดำเนินการ แต่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นทางข้อกฎหมาย เมื่อกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. จำนวนหนึ่งกังขาในเรื่องของหน้าที่และอำนาจ ขอบเขตของรัฐสภาว่า กระทำได้มากน้อยแค่ไหน 

 

จากกรณีที่ สมาชิกรัฐสภา ได้มีการยื่นญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดย  2 ฉบับ อยู่ในระหว่างการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาในวาระที่ 1 ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเข้าชื่อยื่นญัตติอีก 1 ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเตรียมบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมนั้น

 

ปรากฏว่า ญัตติในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 3 ฉบับ มีหลักการและเหตุผลให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น โดยเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้มีหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมาตรา 256/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น ตามหลักกฎหมายมหาชน "ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ" หมายความว่า หากไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจไว้จะกระทำมิได้ รัฐสภาจึงไม่มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐสภามีอำนาจเฉพาะที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 256 คือ ให้มีแต่อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น

 

การกระทำใดๆ เพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น จึงเป็นการกระทำที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 5

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แก้รัฐธรรมนูญ ทางออกของประเทศ 

หนุนเปิดวิสามัญโหวตแก้ รธน. 6 ญัตติ

ร่างแก้ไขรธน.ฉบับ "ไอลอว์" เข้าสภากลางพ.ย.นี้

แก้รธน.ราคาแพงหมื่นล้าน ได้อะไร..ถ้าไม่ปฏิรูปการเมือง

 

จึงเป็นที่มาของการร่วมกันของ ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 73 คน ยื่นญัตติด่วนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเพื่อมีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ (ศาลรธน.) พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) โดยเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อที่ 31   

 

สมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนการเสนอญัตติด่วนในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

 

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)  48 คน 

 

1.นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ 2.นายออน กาจกระโทก 3.นางดวงพร รอดพยาธิ์  4.นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา 5.นางจินตนา ชัยยวรรณาการ

 

6.นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 7.นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน 8.พ.ต.อ.ยุทธกร วงเวียน 9.นายพิทักษ์ ไชยเจริญ 10.นางจิรดา สงฆ์ประชา

 

11.นายกิตติ วะสีนนท์ 12.นายประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 13.นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์  14.ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ 15.นายธานี สุโชดายน

 

16.นายจเด็จ อินสว่าง 17.พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์  18.พล.อ.บุญธรรม โอริส 19.นายปัญญา งานเลิศ 20.นายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล

 

21.นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร  22.นางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ 23.นายทวีวงษ์ จุลกมนตรี 24.นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ 25.นายสำราญ ครรชิต

 

26.นายศักดิ์ไทย สุรกิจบวร 27.นายสมเดช นิลพันธุ์ 28.นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม 29.นายประมาณ สว่างญาติ 30.นายไพโรจน์ พ่วงทอง

 

31.นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ 32.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 33.นายภาณุ อุทัยรัตน์ 34.นายสัญชัย จุลมนต์ 35.นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์

 

36.นายวิชัย ทิตตภักดี 37.นายอนุศักดิ์ คงมาลัย 38.นายนิพนธ์ นาคสมภพ 39.นายสมชาย เสียงหลาย 40.นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา

 

41.พล.อ.นิวัตร มีนะโยธิน 42.นายวิรัตน์ เกสสมบูรณ์ 43.นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา 44.นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา 45.นายถาวร เทพวิมลเพชรกุล

 

46.นายสมชาย ชาญณรงค์กุล 47.นายจิรชัย มูลทองโร่ย และ 48.นายชาญวิทย์ ผลชีวิน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 25 คน

 

1.นายสมพงษ์ โสภณ 2.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ 3.นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ 4.นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ 5.นายยงยุทธ สุวรรณบุตร

 

6.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร 7.นายสาธิต อุ๋ยตระกูล 8.นายประสิทธิ์ มะหะหมัด 9.นายชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ 10.พันตำรวจโท ฐนภัทร  กิตติวงศา

 

11.นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก 12.นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ 13.นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ 14.นายชูศักดิ์  คีรีมาศทอง 15.นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ

 

16.นายรงค์ บุญสวยขวัญ 17.นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม 18.นายประทวน สุทธิอำนวยเดช 19.นายกฤษณ์ แก้วอยู่  20.นายสะถิระ เผือกประพันธุ์

 

21.นายสายัณห์ ยุติธรรม 22.นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ 23.นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ 24.น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ และ 25.นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์