เกาะติดศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตางบ'63วันนี้

06 ก.พ. 2563 | 23:00 น.

ลุ้นระทึกวันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดชี้ชะตาปมส.ส.เสียบบัตรแทนกัน ส่งผลร่างพ.ร.บ.งบปี 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท โมฆะหรือไม่ 

เกาะติดศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตางบ'63วันนี้

วันนี้(7ก.พ.)  เวลา 13.30 น. ศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติวินิจฉัยกรณีส.ส.เสียบบัตรลงคะแนนแทน นายฉลอง เทอดวีระพงศ์  ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย  น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สุมทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ  และนายสมบูรณ์ ชารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย  ทำให้ร่างร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ตามคำร้องที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของส่งความเห็นของส.ส.  ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า หากผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องมีการสนอกฎหมายให้สภาพิจารณาใหม่ อย่างเร็วที่สุดจะใช้เวลา 40-45 วันถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา 3 วาระแบบเต็มสภา  แต่ถ้าใช้กระบวนการพิจารณาแบบปกติโดยการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาอีกรอบจะใช้เวลานานถึง 160 วัน  หรือประมาณ 5 เดือน 

อย่างไรก็ตามหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่เป็นความผิดส่วนบุคคลของส.ส. กฎหมายดังกล่าวก็จะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนก.พ.หรืออย่างช้าต้นเดือนมี.ค.นี้

ตามกระบวนการปกติพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี จะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมถึงกันยายน ของปีถัดไป แต่เนื่องจากเป็นช่วงทีมีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ทำให้มีการเสนอร่างร่างพ.ร.บ.งบปี 2563 ล่าช้า อีกทั้งยังเกิดกรณีส.ส.เสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน จนนำมาสู่การยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ยิ่งให้ให้พ.ร.บ.งบปี 2563 ล่าช้าออกไปอีก รัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการขยายเพดานการใช้งบประมณปี 2562 ไปพลางก่อนจากเดิมที่กำหนดไว้ 50% เพิ่มเป็น 75% เพื่อให้งบประมาณรายจ่ายมีเพียงพอกับการบริหารราชการแผ่นดิน 

เกาะติดศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตางบ'63วันนี้

ผ่า 2 ทางออกศาลรธน.วินิจฉัย“พรบ.งบ63”

อย่างไรก็ เมื่อปี 2547 ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัย กรณีส.ส.เสียบบัตรแทนกันเพื่อลงคะแนนพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในสมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ว่าการกระทำดังกล่าว นอกจากจะเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือได้ว่า เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือการครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศ จากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 แล้ว ยังขัดต่อหลักความซื่อสัตย์สุจริต ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิญาณตนไว้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 123 และขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 126 วรรคสามที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงหนึ่งเสียง ในการออกเสียงลงคะแนน มีผลทำให้การออกเสียงลงคะแนน ของสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมพิจารณานั้น เป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย เมื่อกระบวน การออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจึงถือว่า มติของสภาผู้แทนราษฎรในกระบวนการตราร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ในประเด็นนี้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยให้ความเห็นว่า กรณีการเสียบบัตร ไม่ว่าเสียบแทนกัน หรือไม่แทนกันนั้น เป็นการเสียหายร้ายแรง และมีความผิด มีโทษด้วย แต่ผลของการกระทำดังกล่าวต่อร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2563 เมื่อกระบวนการไม่ถูก การจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมีสองอย่าง คือ 1. เนื้อหา และ 2. กระบวนการ ในกรณีนี้เป็นเรื่องกระบวนการ เพราะฉะนั้น การให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงดีที่สุดว่ากระบวนการอย่างนี้ชอบหรือมิชอบ ถ้าไม่ชอบแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไร นั้นคือผลจะเป็นอย่างไร ส่วนคำว่าไม่ชอบก็จะค้างอยู่เท่านั้นว่าจะเกิดอะไร

วิษณุ เครืองาม

ขณะที่ภาคเอกชนกังวลว่างบประมาณที่ล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก