รำลึก 30 ปี 'สืบ นาคะเสถียร'...การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

01 ก.ย. 2563 | 04:21 น.

ปีนี้ เป็นอีกหนึ่งปีที่ สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ ได้จัดงานรำลึกการจากไปของ "สืบ นาคะเสถียร" นักอนุรักษ์ชาวปราจีนบุรี เนื่องในวันครบรอบ 30 ปี การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร ในวันที่ 1 กันยายน 2563 ในตรีม "การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยหยุดนิ่ง"

กิจกรรมมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยจะมีการจะทำการถ่ายทอดสด กิจกรรมรำลึก 30 ปี สืบนาคะเสถียรและจุดเทียนรำลึกออนไลน์ สำหรับกิจกรรมงานรำลึกสืบ นาคะเสถียร ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ซึ่งจัดไปแล้วเมื่อคืนวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ไม่มีกิจกรรมให้บุคคลภายนอกเข้าร่วม เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทุกคนสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เพจ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 

นอกจากนี้ ยังกิจกรรม LIGHT IT UP ฉายเลเซอร์ข้อความรณรงค์สิ่งแวดล้อม เวลา 19.00 – 21.00 น. ข้อความรณรงค์สิ่งแวดล้อมจะถูกฉายพร้อมกัน 5 จุดทั่วกรุงเทพฯ

ในวันที่ 1 กันยายน ‘วันสืบ นาคะเสถียร’ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้มีจัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมรำลึกถึงคุณงามความดี อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นักอนุรักษ์ต้นแบบในความทรงจำ ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดสดงานรำลึก 30 ปี สืบ นาคะเสถียร ‘การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยหยุดนิ่ง’ ทางเฟซบุ๊กมูลนิธิสืบนาคะเสถียร www.facebook.com/SeubNakhasathienFD/ นับตั้งแต่เวลา 18.00 - 20.30 น.

รำลึก 30 ปี 'สืบ นาคะเสถียร'...การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

และกิจกรรมวางดองไม้และจุดเทียนรำลึก ในช่วงเวลา 18.00 - 21.00 น. ณ ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเจตรมณ์ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ผืนป่า และสัตว์ป่า ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ : https://www.seub.or.th/…/%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8…/

สำหรับประวัติของ "สืบ นาคะเสถียร" นักอนุรักษ์ชาวปราจีนบุรี ผู้ได้รับความไว้วางใจให้เป็น หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎธ์ธานี ก่อนที่จะเปลี่ยนบทบาทจากนักวิชาการไปสู่นักอนุรักษ์ โดยเข้าร่วมต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน จังหวัดกาญจนบุรี คัดค้านการขอสัปทานทำไม้ที่ป่าห้วยขาแข้ง

ต่อมาสืบตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยหาแข้ง และได้เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ของบุคคลที่มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเสียชีวิต ปัญหาความยากจนของชาวบ้านรอบผืนป่า และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่ในสายบริหารเลย เขาจึงทุ่มเทเขียนรายงานนำเสนอองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เพื่อพิจารณาให้ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก อันจะนำมาสู่สิ่งค้ำประกันให้พื้นที่แห่งนี้ได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่
 

อย่างไรก็ตาม เขาได้ตัดสินใจสะสางงาน และเขียนพินัยกรรมไว้ ก่อนจะกระทำอัตวิบาตรกรรมลงในวันที่ 1 กันยายน 2533 เพื่อเรียกร้องให้สังคมและราชการหันมาสนใจกับปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ผืนป่า และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง

การจากไปของสืบ นาคะเสถียร ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสังคมในเวลานั้นเป็นอย่างมาก และกลายเป็นการผลักดันให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจผืนป่าและสัตว์ป่า ต่อมามูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยเพื่อนพี่น้องนักอนุรักษ์ธรรมชาติของสืบ เพื่อสานต่อเจตนาอันมุ่งมั่นในการดูแลรักษาผืนป่าและความหลากหลายทางชีวภาพให้ยังคงอยู่ และสืบต่อมาจนถึงปีที่ 30