10+1 เรื่องต้องรู้ เมื่ออังกฤษออกจากยุโรป

01 ก.พ. 2563 | 03:47 น.

ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม  คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ถึงการถอนตัวของอังกฤษ(UK)ออกจากสหภาพยุโรป(EU) ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

1. #UK ออกจากสหภาพยุโรป #EU อย่างเป็นทางการ เมื่อ 23.00 น. ของวันที่ 31 มกราคม 2020 (6.00 น. วันที่ 1 ก.พ. 2020 เวลาในประเทศไทย) Officially #Brexit ธง Union Jack ของ UK ถูกปลดลงจากหน้าอาคารที่ทำการของสหภาพยุโรปที่ Brussels และ ธง EU ที่มีดาว 12 ดวงก็ถูกลดลงจากยอดเสาในทุกๆ ที่ทำการและสถานฑูตของ UK

2. #สำหรับประชาชน การค้า การลงทุน การเดินทางของคน และสินค้า รวมทั้งนโยบายที่ UK และ EU เคยตกลงร่วมกันไว้ #ทุกอย่างยังเป็นเหมือนเดิม จนกว่าจะพ้น Transition period

3. Transition period หรือ Implementation Period กินเวลา 11 เดือน 1 ก.พ. - 31 ธ.ค. 2020 ระหว่างนี้ UK และ EU ต้องคุยกันว่าจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไรในอนาคต

10+1 เรื่องต้องรู้ เมื่ออังกฤษออกจากยุโรป

 

4. ตัวแทนของ UK ในองค์กรของสหภาพยุโรปสิ้นสุดทันที ทั้ง European Council, European Parliament, etc. นั่นหมายความว่า UK จะ #ไม่ได้ร่วมตัดสินอนาคต ของ EU อีกต่อไป เช่นเดียวกับที่ EU ก็ไม่สามารถบังคับอะไร UK ได้อีก

5. UK มีอิสระทันทีที่จะ เจรจา FTA และความเมืองเรื่องต่างๆ กับใครๆ ก็ได้ในโลกนี้ทันที

6. UK ต้องจ่ายเงินให้ EU เพื่อออกจากความร่วมมือในราว 32.8 - 39 พันล้านปอนด์ และมีภาระต้องจ่ายเงินไปจนถึงปี 2059 นี่คือ #ค่าใช้จ่ายเพื่ออิสรภาพ

10+1 เรื่องต้องรู้ เมื่ออังกฤษออกจากยุโรป

7. กฎหมายต่างๆ ระหว่าง EU กับ UK ยังเหมือนเดิมจนถึง 31/12/2020

8. เรื่องสำคัญๆ ที่ต้องคุยกันในระหว่าง transition period นอกจากเรื่อง EU กับ UK จะอยู่ด้วยกันแบบไหน (FTA Custom Unions หรือ Single Market) ยังต้องคุยกันในเรื่องสำคัญๆ อื่นๆ อีก เช่น  Law enforcement, data sharing and security, Aviation standards and safet, Access to fishing waters, Supplies of electricity and gas, Licensing and regulation of medicine

10+1 เรื่องต้องรู้ เมื่ออังกฤษออกจากยุโรป

 

9. ตอนนี้เรื่องสำคัญที่สุดในทางการค้า การลงทุน การเคลื่อนย้ายคน ที่จะส่งผลต่อความมั่นคง คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง #ไอร์แลนด์เหนือ (ส่วนหนึ่งของ UK) กับ #ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิก EU แต่คนเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน ว่าจะมีความสัมพันธ์อย่างไร เพราะถ้าบริหารจัดการไม่ดี ความรุนแรง อย่างเช่นที่เคยเกิดตลอดทศวรรษ 1970-1980 เช่นกลุ่ม IRA อาจกลับมาใหม่

model หนึ่งที่ถูกเสนอคือ ใช้ #BackStop คือไม่มีด่านระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับประเทศไอร์แลนด์ไปก่อน แล้วลากเส้นเขตแดนเสมือนกั้นระหว่างเกาะอังกฤษกับไอร์แลนด์เหนือ สินค้าไหนออกจากเกาะอังกฤษก็เสียภาษีไป ถ้าสินค้าถูกกินถูกใช้ในไอร์แลนด์เหนือ ไม่ได้ข้ามไปประเทศไอร์แลนด์ ก็ค่อยเอาเงินภาษีมาเคลียร์กันภายหลัง (ดูรูป)

10. UK เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ European Economic Community หรือ #EEC ซึ่งจะพัฒนาต่อมาเป็น #สหภาพยุโรป (European Union: EU) ตั้งแต่ปี 1973 และออกจาก EU ในปี 2020 รวมเวลาที่อยู่ด้วยกัน 47 ปี การลงประชามติเพื่อออกจากยุโรปเกิดขึ้นในปี 2016  โดยผลประชามติ เชือดเฉือนมากเพราะมีคนต้องการออกจากยุโรป 52% แต่มีคนที่ต้องการอยู่กับยุโรป 48%

10+1 เรื่องต้องรู้ เมื่ออังกฤษออกจากยุโรป

#สำหรับคนไทย ระยะสั้นสิ่งที่ต้องจับตาคือ อัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุน ส่วนในระยะกลาง คงต้องดูว่า เส้นทางการขนส่งสินค้า ที่เคยทำการค้าขายกับอังกฤษและยุโรปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างไร ภาคการผลิตที่อาจจะมีกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงเยอะ คือ ภาคเกษตร ประมง การเงินการธนาคาร และ โทรคมนาคม ในระยะยาว คงต้องจับตาดูการเจรจา ASEAN-UK FTA, Thailand-UK FTA และ Thailand-EU FTA

เรียนหนังสือมาตลอดชีวิต เคยได้ยินแต่ หลายๆ ประเทศ ปลดปล่อยตนเอง ได้รับเอกราชจากอังกฤษ วันนี้ ไม่น่าเชื่อ เราได้เห็น อังกฤษปลดปล่อยตนเอง ได้รับเอกราชจากยุโรป