IPO ไทย ปี 63 พุ่ง 1.17 แสนล้าน มากกว่า 5 ประเทศอาเซียนรวมกัน

26 พ.ย. 2563 | 12:02 น.

ปี 2563 ไทยเป็นดาวเด่น ระดมทุนด้วยหุ้นไอพีโอ รวม 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.17 แสนล้านบาท มากกว่ามูลค่าหุ้นไอพีโอของอีก 5 ประเทศในอาเซียนรวมกัน

ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19  แต่ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ยังสามารถระดมทุนหุ้นไอพีโอ(IPO)ได้เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยปี 2563 ไทยเป็นดาวเด่น ด้วยมูลค่าหุ้น IPO รวม 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 1.17 แสนล้านบาท ซึ่งมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้น IPO ของอีก 5 ประเทศในอาเซียนรวมกัน

 

ดีลอยท์เปิดเผยข้อมูลล่าสุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ยังคงแข็งแกร่งท่ามกลางวิกฤติและความไม่แน่นอนมากมายในปี 2563 นับตั้งแต่วิกฤติโควิด-19 ความตึงเครียดในสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงผลกระทบจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ  ส่งผลให้ภาพรวม 10 เดือนครึ่งของ ปี 2563 หุ้นไอพีโอของบริษัทในภูมิภาคจำนวน 100 บริษัท ที่มีการเสนอขายต่อสาธารณะ สามารถระดมทุนได้เป็นมูลค่ารวม 6.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 193.2 ล้านบาท(อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อดอลลาร์)

 

อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนไอพีโอ รวมจะลดลง 38% จาก 161 บริษัท ในปี 2562 และมูลรวมหุ้นรวมลดลง 12% จาก 7.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 220.2 ล้านบาท แต่มูลค่ารวมของตลาดไอพีโอกลับสูงขึ้น 3% หรือเท่ากับ 25.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 778,800 ล้านบาท ในปี 2563 นับเป็นข่าวดีที่ตลาดทุนในอาเซียนยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน

 

ประเทศไทยยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำที่สามารถระดมทุนได้สูงสุดในตลาดอาเซียนเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC และ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ของประเทศไทย อยู่ในตำแหน่งที่ 1 แล 2  ในกระดานผู้นำหุ้นไอพีโอของภูมิภาคอาเซียน สามารถระดมทุนได้เป็นจำนวนเงินรวม 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 53,100 ล้านบาท และ 1.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 38,100 ล้านบาท ตามลำดับ   

 

มูลค่ากว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าหุ้นไอพีโอรวมทั้งหมดที่สามารถระดมทุนได้ในตลาดอาเซียน และจากการเติบโตต่อเนื่องของเศรษฐกิจ  ค่าเงินที่มีความแข็งแกร่ง  อัตราดอกเบี้ยต่ำ  และสภาพคล่องของเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้ไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสามารถระดมทุนได้มีมูลค่าสูงถึง 3.94 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 118,200 ล้านบาท  ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563  ถือเป็น 61% ของทุนที่ระดมได้ในปี 2563 ทำให้ไทยเป็นดาวเด่นของภูมิภาค นับเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่ประเทศไทยสามารถระดมทุนจากไอพีโอที่เข้าตลาดได้สูงกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ  และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2558 ที่มีมูลค่าการระดมทุนทะลุ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ  90,000 ล้านบาท 
 

นางวิลาสินี กฤษณามระ  Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า  ตลาดไอพีโอของประเทศไทยมีศักยภาพและแข็งแกร่งมากที่สุดตลาดหนึ่งในภูมิภาคเซาท์อีสท์เอเชีย  เป็นผลจากความสามารถของบริษัทของไทยเอง และได้แรงสนับสนุนจากนักลงทุนที่มีความสนใจในธุรกิจด้านอุปโภคบริโภค  ทำให้ตลาดไอพีโอในประเทศไทยยังคงดึงดูดนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนได้

  IPO ไทย ปี 63 พุ่ง 1.17 แสนล้าน มากกว่า 5 ประเทศอาเซียนรวมกัน


ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซาของมาเลเซีย  กลุ่ม Mr D.I.Y. Group (M) Berhad สามารถระดมทุนได้ 326 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 9.78 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าในการเข้าตลาดสูงสุดในสามปี ในขณะที่บริษัทเข้าตลาดใหม่มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 18 บริษัทในปีนี้ เทียบกับ 30 บริษัท ในปีก่อน  โดยในปี 2563 ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย สามารถระดมทุนได้มีมูลค่ารวม 481 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 14.43 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีมูลค่า 447 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 13.41 ล้านล้านบาท 

 

มร. หว่อง คา ชุน  Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ มาเลเซีย กล่าวว่า ตัวเลขปริมาณการซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้นจากประมาณ 86% และ 208% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน  ปริมาณการซื้อยังคงมีมูลค่าสูง โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในหุ้นที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยี และ เฮลท์แคร์

 

AREIT, Inc ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  REIT (Real Estate Investment Trust) บริษัทแรกที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ ด้วยมูลค่าหุ้นไอพีโอ 255 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 7.65 ล้านล้านบาท ในเดือนสิงหาคม 2563 คิดเป็น 31% ของการระดมทุนหุ้นไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์ของฟิลิปปินส์  นอกเหนือจากบริษัท Converge Information and Communications Technology Solutions Inc, ที่สามารถระดมทุนได้ 523 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 15.69 ล้านล้านบาท หรือ 65% ของทุนหุ้นไอพีโอในตลาด

 

ในปี 2563 มีบริษัท ไอพีโอ จำนวน 46 บริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย เป็นถือเป็นจำนวนไอพีโอที่มากที่สุด ในเซาท์อีทส์เอเชียในปีนี้  เป็นผลจากการที่บริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลาง จำนวนมากที่เข้าตลาด หลังจากที่มีการผ่อนคลายกฎระเบียบในการเข้าตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ในปี 2560

ทางด้านของสิงค์โปร์ Nanofilm Technologies International Limited (Nanofilm Technologies) บริษัทสัญชาติสิงค์โปร์ ระดมทุนได้ 345 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่ามากที่สุดในกระดานหลักซึ่งโดยปกติบริษัทที่ครองกระดานในระยะหลังจะเป็น REITs ที่จดทะเบียนในตลาด  

 

ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์ สามารถระดมทุนหุ้นไอพีโอได้ 852 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 25.56 ล้านล้านบาท จากจำนวนไอพีโอที่เข้าตลาดทั้งหมด 8 บริษัท ซึ่งนอกจาก  Nanofilm Technologies ก็ยังรวมถึง ไอพีโอ REIT อีก 2 บริษัทในกระดานหลักที่สามารถระดมทุนได้ถึง 479 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 14.37 ล้านล้านบาท และอีก 5 บริษัทที่ทำการซื้อขายบนกระดาน Catalist ที่สามารถระดมทุนได้ 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 870,000 ล้านบาท เทียบกับ 2.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 67,800 ล้านบาท จากจำนวน 11 ไอพีโอ ในปีที่แล้ว

 

มิส เท ฮวี ลิง Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ เซาท์อีสท์ เอเชีย และสิงค์โปร์ พูดถึง ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อตลาดทุนว่า ช่วงวิกฤติเช่นนี้ บริษัทยังสามารถเติบโตได้โดยการปรับโมเดลธุรกิจ  ธุรกิจเฮลธ์แคร์ได้ผลกระทบในแง่บวกจากวิกฤติโควิด-19  นักลงทุนเองก็มีการตอบรับกับตลาดและมีการปรับตัวสำหรับ next normal  เราเห็นปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นในช่วงล็อกดาวน์  เทคโนโลยีมีส่วนช่วยอย่างมาก และการทำไอพีโอโรดโชว์แบบเวอร์ชวล ก็ช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงนักลุงทุนได้มากยิ่งขึ้น

 

สำหรับบางประเทศ REITs ยังคงดึงดูดนักลงทุนได้ดี เนื่องจากมีความผันผวนต่ำ  อัตราเงินปันผลสูงและสามารถเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง สถานพยาบาล รวมถึงสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับ e-commerce หรือ ดิจิทัลได้  REITs ในเซาท์อีสท์ เอเชีย ยังมีโอกาสสูงในการเติบโต จากแนวโนมการเติบโตของประชากรและสังคมเมืองในภูมิภาคนี้


มิส เท ฮวี ลิง Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ เซาท์อีสท์ เอเชีย และสิงค์โปร์ เชื่อว่าปี 2564 เซาท์อีทส์ เอเชียก็จะยังคงเติบโตต่อไป และตลาดจะกลับตัวเป็นขาขึ้นทันทีที่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ปลอดภัยและได้ผล 

 

"โควิดทำให้บริษัทต่างๆ ต้องทบทวนวิธีการดำเนินธุรกิจและการคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ  อีกทั้งยังต้องมองหาโอกาสในการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์เพื่อสร้างความเติบโตของธุรกิจ เพื่อคงความสามารถแข่งขันต่อไปได้ในสถานการณ์อันท้าทายนี้  ถึงโควิดจะยังไม่จบและเราต้องอยู่ในภาวะนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ตลาดเซาท์อีสท์ เอเชียก็ยังคงมีความหลากหลายและน่าดึงดูดสำหรับนักลงทุน”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จีนเบรกซื้อขายหุ้นไอพีโอ 'Ant Group' ฉุด 'แจ็ค หม่า' มั่งคั่งฮวบ 3 พันล้านดอลล์

จับตาไอพีโอบิ๊กแคป SCGP เทรด 22 ต.ค.63

CRC เริ่มเข้าคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 ตั้งแต่ 25 ก.พ. 63