Healthcare Platform ยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

17 เม.ย. 2564 | 02:00 น.

Telemedicine หรือโทรเวชกรรม นวัตกรรมการรักษาที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล และแน่นอนว่าลดการติดเชื้อจากสถานพยาบาลได้ด้วย

Telemedicine หรือโทรเวชกรรม นวัตกรรมการรักษาที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล และแน่นอนว่าลดการติดเชื้อจากสถานพยาบาลได้ด้วย

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ได้เริ่มต้นสร้าง Healthcare Platform จาก Pain point และแรงบันดาลใจจากความสูญเสียคนใกล้ชิด ซึ่งก่อนหน้านั้น ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐอยู่หลายแห่ง ทำให้มีโอกาสได้เข้าออกโรงพยาบาลรัฐอยู่หลายครั้งและหลายที่ จนรับรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ และความแตกต่างในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขของรัฐ จนทำให้เกิดความคิดในการยกระดับการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพของประชาชนคนไทยให้ดีขึ้นได้

หลังจากศึกษา ทำการบ้านและพูดคุยกับผู้คนในวิชาชีพด้านสุขภาพ จึงได้ทำให้เกิด Healthcare Platform โดยก่อตั้งบริษัท

สตาร์ทอัพน้องใหม่ในชื่อ Health Companion ทำหน้าที่ขับเคลื่อน Healthcare Platform 

นายอำนาจ สุกาญจนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Health Companion เล่าว่า การสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือ ต้องทำให้ดิจิทัลแพลทฟอร์มนั้น สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริงๆ สิ่งที่ Health Companion กำลังทำ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ป่วยและโรงพยาบาล ดังนั้น การดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในช่วงต้นของการดำเนินงาน เน้นการสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทั้งแพทย์ เภสัชกรLab หรือห้องปฏิบัติการหน่วย

การแพทย์ฉุกเฉิน และอีกมากมาย เพื่อมาร่วมกำหนดแนวทาง และให้ Know-how ในการออกแบบระบบที่ทุกวิชาชีพจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งต่อการบริการที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยได้

ระบบที่กำลังออกแบบจะมีหลายวิชาชีพ หลายโรงพยาบาล หลายหน่วยงาน เข้ามาร่วมมือกัน โดยยึดหลักสำคัญสูงสุดคือ Patient Centric หรือการมองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลา งและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ซึ่งคาดว่าเริ่มเห็นแพลตฟอร์มอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงกลางปี 2564 

Health Companion เริ่มต้นดำเนินงานตามแผน โดยร่วมงานกับ CUPE หรือ CU Pharmacy Enterprise บริษัทสตาร์ทอัพของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ PROLAB หรือ บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ลาโบราทอรี่แมเนจเม้นท์ คอร์ป จำกัด ซึ่งมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU - Memorandum of Understanding) โครงการแอปพลิเคชั่นบริการสาธารณสุขและระบบส่งเสริมสุขภาพ 

ปัจจุบันทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บ่มเพาะเภสัชกรเข้าสู่ระบบประมาณ 150 คนต่อปีตอบโจทย์ทั้งในด้านอุตสาหกรรมนวัตกรรมยา ด้านการดูแลสุขภาพและการใช้ยาประชาชนรวมทั้งผู้ป่วย และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เภสัชกรในปัจจุบันนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนได้ในรูปแบบการทำงานเชิงรุก ในบทบาท

เภสัชกรครอบครัว หรือ Family Pharmacist ที่เภสัชกรจะทำหน้าที่เป็นเสมือนที่ปรึกษาการใช้ยาประจำตัว ครอบครัวหรือชุมชน หนึ่งในกิจกรรมคือการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแลการใช้ยาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่สร้างความใกล้ชิด ช่วยป้องกันและแก้ปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม และเป็นที่พึ่งและที่ปรึกษาให้กับประชาชนในเรื่องการใช้ยา ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญในอนาคต และเมื่อวันนั้นมาถึง แน่นอนว่าเภสัชกรที่มีอยู่ทั่วประเทศย่อมไม่เพียงพอ 

หากมีดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่ทำให้เภสัชกรได้พบปะกับผู้ป่วย ครอบครัวหรือชุมชนได้ง่ายขึ้น จะช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของการเยี่ยมบ้าน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและบรรเทาปัญหาขาด แคลนบุคลากรลงได้ ขณะเดียวเพิ่มการเข้าถึงบริการทางเภสัชกรรมได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง

สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ PROLAB หรือ บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ลาโบราทอรี่ แมเนจเม้นท์ คอร์ปจำกัด จากการให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ใช้วิธีการติดต่อผ่านโทรศัพท์

เป็นหลัก มีความเชื่อมั่นว่าการให้บริการตรวจแล็บแบบเดลิเวอรี่จะมีประสิทธิภาพขึ้นมาก หากมีแพลต ฟอร์มเชื่อมต่อระหว่างห้องปฏิบัติการ กับบุคลากรทางการรักษา ซึ่งการตรวจแต่ละอย่างจะมีความเฉพาะเจาะจงต่อการรักษามากขึ้นหรือมีการตรวจตามข้อสันนิษฐานของแพทย์ ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพจริงๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลหรือแล็บด้วยตนเอง

การทำงานของ Health Companion ที่ทำงานประสานกับทุกวิชาชีพในสายงานและยังผสานเทคโนโลยีเข้ากับการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจ และคาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,670 วันที่ 15 - 17 เมษายน พ.ศ. 2564