20 จังหวัดที่ได้รับวัคซีนโควิด AstraZeneca สูงสุดเดือน มิ.ย.มีที่ไหนบ้าง เช็กที่นี่

21 พ.ค. 2564 | 02:12 น.
อัพเดตล่าสุด :21 พ.ค. 2564 | 12:48 น.

กรมควบคุมโรค ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง ผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด แจ้งแนวทางฉีดวัคซีนโควิดปูพรม เผยเดือนมิ.ย. มี 20 จังหวัดได้รับ AstraZeneca สูงสุด กทม.อันดับ 1 จำนวน 2.5 ล้านราย

ก่อนหน้านี้ บริษัท แอสตราเซเนกา (ประเทศไทย) จํากัด ออกมายืนยันว่า การผลิตวัคซีน AstraZeneca ในประเทศไทยมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก ยืนยันพร้อมทยอยส่งมอบวัคซีนลอตแรกที่ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ ให้แก่รัฐบาลไทยตามกำหนดภายในเดือนมิถุนายนนี้

ล่าสุด วันที่ 21 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กรมควบคุมโรค ส่งหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 โดย "นายโอภาส การย์กวินพงศ์" อธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ว่า

ขอแจ้งแนวทางให้บริการฉีดวัคซีน โควิด-19 แบบปูพรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระบาดตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรค โควิด-19 ตามความสมัครใจครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากร โดยกำหนดให้มีช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีนวัคซีน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

1.จองผ่านหมอพร้อม

2.นัดหมายผ่านสถานพยาบาลหรือ อสม.หรือผ่านองค์กร

3.ลงทะเบียน ณ จุดฉีดตามมติคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่2 / 2564 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้กำหนดให้การบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ของแต่ละพื้นที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครนั้น

กรมควบคุมโรคในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการการให้วัคซีนภายใต้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครและให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่

 

กำหนดจึงขอให้ดำเนินการ ดังนี้ 

1.เตรียมความพร้อมจุดให้บริการวัคซีนทั้งในและนอกโรงพยาบาล เช่นศูนย์การค้า สนามกีฬาศูนย์ประชุม โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยยึดหลักการป้องกันการแพร่ระบาดในจุดให้บริการ มีการสังเกตุอาการหลังได้รับวัคซีน 30 นาที เตรียมอุปกรณ์กู้ชีพและรถพยาบาลพร้อมส่งโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน 

2. กำหนดช่องทางการลงทะเบียนและการเข้ารับวัคซีนสามช่องทางดังนี้หนึ่งจองผ่านหมอพร้อมสองนัดหมายผ่านสถานพยาบาลหรือออสอมอหรือผ่านองค์กรสามลงทะเบียน ณ จุด ฉีดทั้งนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กรุงเทพมหานครสามารถพิจารณาปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม

3.จัดระบบการให้บริการฉีดวัคซีน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย /จำเพาะเช่นกลุ่มคณะทูตานุทูตและองค์กรระหว่างประเทศกลุ่มชาวไทยที่จะขอรับวัคซีนก่อนไปเรียนต่อ / ทำงานในต่างประเทศ

4.จัดการประชาสัมพันธ์เรื่องช่องทางการรับบริการฉีดวัคซีน โควิด-19 แบบปูพรมทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระบาด พร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 และขอส่งแผนคาดประเมินการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca ในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2564 ฉบับวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 และ2 

อนึ่ง แผนการจัดสรรวัคซีนดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 และจำนวนวัคซีนที่จัดหาได้

20 จังหวัดที่ได้รับวัคซีนโควิด AstraZeneca สูงสุดเดือน มิ.ย.มีที่ไหนบ้าง เช็กที่นี่

20 จังหวัดที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca สูงสุดเดือน มิ.ย.มีที่ไหนบ้าง เช็กที่นี่ 
1.    กรุงเทพมหานคร 2,510,000 ราย
2.    อุดรธานี 246,000 ราย
3.    สมุทรปราการ 237,000 ราย
4.    สกลนคร 181,000 ราย
5.    นครราชสีมา 147,000 ราย
6.    มหาสารคาม 131,000 ราย
7.    นครพนม 114,000 ราย
8.    สุราษฎร์ธานี 88,000 ราย
9.    อุบลราชธานี  87,000 ราย
10.    ภูเก็ต 82,000 ราย
11.    นครศรีธรรมราช 76,000 ราย
12.    สุรินทร์ 67,000 ราย
13.    กระบี่ 67,000 ราย
14.    สงขลา 58,000 ราย
15.    เลย 57,000 ราย
16.    สมุทรสาคร 56,000 ราย
17.    ชลบุรี 54,000 ราย
18.    ร้อยเอ็ด 54,000 ราย
19.    ยโสธร 51,000 ราย
20.    ตรัง 51,000 ราย

สำหรับประมาณการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 1 ในเดือนมิถุนายน-กันยายน 2564 ทั่วประเทศ เฉพาะในเดือนมิถุนายน รวมทั้งสิ้น  6,333,000 ราย 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศรับรองสยามไบโอไซเอนซ์เป็นโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโควิดของแอสตร้าเซนเนก้า 

โรงงานสยามไบโอไซเอนซ์แห่งนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและการผลิตในระดับสากลมากมาย อาทิ GMP ISO9001 ISO17025 และ ISO13485 จึงได้รับคัดเลือกจากแอสตร้าเซนเนก้าให้เป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประเทศไทย และอีก 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง