ศบค.ยกระดับ 28 จังหวัด 'พื้นที่ควบคุมสูงสุด'

02 ม.ค. 2564 | 04:59 น.

ด่วน !ศบค. ยกระดับ 28 จังหวัด 'พื้นที่ควบคุมสูงสุด'

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวันที่ 2 มกราคม 2564 ว่า การประชุม ศบค. ช่วงเช้าวันนี้ มีการกำหนดพื้นที่ที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.64 เวลา 06.00 น. ถึงวันที่ 1 ก.พ.64 เวลา 06.00 น.ดังนี้ 

 

พื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด

 

1. ตาก

2. นนทบุรี

3. ปทุมธานี

4. พระนครศรีอยุธยา

5. สระบุรี

6. ลพบุรี

7. สิงห์บุรี

8. อ่างทอง

9. นครนายก

10. กาญจนบุรี

11. นครปฐม

12. ราชบุรี

13. สุพรรณบุรี

14. ประจวบศีรีข้นธ์

15. เพชรบุรี

16. สมุทรสงคราม

17. สมุทรสาคร

18. ฉะเชิงเทรา

19. ปราจีนบุรี

20. สระแก้ว

21. สมุทรปราการ

22. จันทบุรี

23. ชลบุรี

24. ตราด

25. ระยอง

26. ชุมพร

27. ระนอง

28. กรุงเทพ

 

พื้นที่ควบคุม 11 จังหวัด 

1. สุโขทัย

2. กําแพงเพชร

3. นครสวรรค์

4. อุทัยธานี

5. ชัยนาท

6. เพชรบูรณ์

7. ชัยภูมิ

8. บุรีรัมย์

9. นครราชสีมา

10. สุราษฎร์ธานี

11. พังงา

 

พื้นที่เฝ้าระวังสูง 38 จังหวัด จังหวัดที่เหลือของประเทศไทย 38 จังหวัด

 

พื้นที่้ฝ้าระวัง ไม่มี

 

 

ศบค.ยกระดับ 28 จังหวัด 'พื้นที่ควบคุมสูงสุด'

 

 

นอกจากนี้ศบค ยังร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข  (EOC) ของกระทรวงสาธารณสุข ประเมินสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกันที่ประชุมศบค. ได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศ พบว่า
         

1.จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระจายไปตามพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีรูปแบบการแพร่ระบาดที่ต้องเฝ้าระวังเข้มข้น ดังนี้ ผู้ติดเชื้อหลายคนทราบดีว่าตนเองได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงหรือร่วมกิจกรรมที่เสี่ยงการติดเชื้อ แต่ไม่ยอมกักกันตัวเอง หรือไม่หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น หรือไม่เข้าไปปรึกษาแพทย์ ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นในสถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนยังมีกิจกรรมลักลอบมั่วสุมโดยผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการพนัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไป รวมถึงยังมีการมั่วสุมแบบเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย
          

2.จำนวนผู้ติดเชื้อและมีอาการ ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล มีจำนวนมากขึ้น และจะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องทบทวนมาตรการป้องกันภาพรวม          

 

3.ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม มีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการแพร่ระบาด และให้ความร่วมมือกับมาตรการป้องกันเป็นอย่างดี แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังขาดความระมัดระวังในมาตรการที่ศบค.ขอความร่วมมือ จึงมีความจำเป็นต้องบูรณาการดำเนินมาตรการป้องกันภาพรวม
          

"จากสถานการณ์ดังกล่าว ถ้าเราใช้มาตรการที่มีอยู่ซึ่งเป็นมาตรการที่ตามกันไปก็คงยาก เราต้องปรับมาตรการขึ้นมา วันนี้คุยกันทั้งใน EOC กระทรวงสาธารณสุข มาตรการต้องนำการติดเชื้อ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปตามปกติ แล้วเราวิ่งไล่ตาม ไล่แก้ หาจำนวนเตียงมารอผู้ป่วยอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เราต้องลดจำนวนผู้ป่วย มาตรการจะต้องเข้มข้นขึ้น จังหวัดที่เป็นสีแดงก็ต้องเข้มในการดูแล จังหวัดที่ยังไม่ได้เป็นสีแดง เป็นสีส้มก็ต้องเข้มด้วย รวมถึงตามแนวชายแดน" นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง