ระนองจับตารัฐบาล‘เมียนมา’ เอกชนหวั่นกระทบแผนลงทุน

10 ก.พ. 2564 | 10:10 น.

เอกชนระนองเริ่มวิตก นโยบายใหม่รัฐบาลเมียนมาภายใต้กลุ่มปฏิวัติ หวั่นเปลี่ยนนโยบายการค้า การลงทุน หลังนักลงทุนส่วนหนึ่งโยกฐานผลิตเข้าปักฐานในเมียนมารับเปิดอาเซียนก่อนหน้านี้ 

เอกชนระนองเริ่มวิตก นโยบายใหม่รัฐบาลเมียนมาภายใต้กลุ่มปฏิวัติ หวั่นเปลี่ยนนโยบายการค้า การลงทุน หลังนักลงทุนส่วนหนึ่งโยกฐานผลิตเข้าปักฐานในเมียนมารับเปิดอาเซียนก่อนหน้านี้

 

นายกฤษณะ   เอี่ยมวงศ์นที  อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง  เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เอกชนระนองเริ่มวิตก นโยบายใหม่รัฐบาลเมียนมาภายใต้กลุ่มปฏิวัติ หวั่นเปลี่ยนนโยบายการค้าการลงทุน หลังนักลงทุนส่วนหนึ่งโยกฐานผลิตเข้าปักฐานในประเทศเพื่อนบ้าน รับเปิดประชาคมอาเซียนก่อนหน้านี้ 

การลงทุนในประเทศปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการต่างต้องดิ้นรนด้วยตนเองอย่างหนัก โดยแทบจะไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริมจากภาครัฐเลย ซึ่งต้องเจอปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย อาทิ การที่จะลงทุนก่อตั้งโรงงานในพื้นที่ ก็ต้องเจอกระแสต่อต้านของประชาชนในพื้นที่ การตรวจที่เข้มข้นของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม จนผู้ประกอบการรู้สึกว่าเหมือนไม่ต้องการให้มีโรงงานเกิดขึ้นในพื้นที่ หลายคนมองหาช่องทางกาฐานผลิตใหม่ เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ประกอบกับเงื่อนไขข้อตกลงอาฟตา การได้สิทธิพิเศษส่งออกสินค้าจากฐานผลิตในเมียน มาไปขายในตลาดโลก หลายคนตัดสินใจย้ายไปลงทุนในเเมียนมาที่คล่องตัวกว่า เกาะสอง

ระนองจับตารัฐบาล‘เมียนมา’  เอกชนหวั่นกระทบแผนลงทุน

อดีตประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดระนอง กล่าวอีกว่า จากการที่ได้พบปะพูดคุยกับนักธุรกิจชาวเมียนมา โดยเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ของประเทศในย่านมะริดและทวาย ซึ่งเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจ, อุตสาหกรรมที่สำคัญของเมียนมานั้น พ่อค้าชาวเมียนมาต้องการค้าขาย หรือร่วมทำธุรกิจกับนักธุรกิจไทย มากกว่านักธุรกิจประเทศอื่น โดยเฉพาะจีน ที่นักธุรกิจชาวเมียนมารู้สึกว่าสินค้ายังไม่ได้คุณภาพ ประกอบกับการขนส่งสินค้าก็ยาก มีต้นทุนสูง “การทำธุรกิจกับพ่อค้าไทยก็ยังติดปัญหาความไม่ไว้วางใจหรือหวาดระแวงต่อกัน ซึ่งสามารถขจัดได้ด้วยการพบปะพูดคุยกันบ่อย ๆ หากทำได้เชื่อว่าการค้าขายการลงทุนในย่านทางตอนใต้ของเมียนมายังสามารถขยายตัวได้อีกมาก” 

หลายคนไม่คาดคิดว่าวงจรการควบคุมอำนาจของทหารจะกลับมามีบทบาทอีกครั้ง หลังจากที่เมียนมามีความก้าวหน้าทางประชาธิปไตยมากขึ้นแล้ว ซึ่งได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าการลงทุน แต่การที่มีเหตุการณ์ยึดอำนาจเกิดขึ้นอีกครั้งนี้ ทำให้นักลงทุนที่เข้าไปในเมียนมากำลังวิตก ถึงแนวนโยบายในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  

“เมียนมาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา ทำให้มีช่องว่างทางการตลาดมากมายที่เป็นโอกาสของผู้ปะกอบการ ทั้งในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเกษตร การค้า การลงทุนอุตสาหกรรม ซึ่งไทยเราควรได้เปรียบมากที่สุดเนื่องจากอยู่ติดกัน แต่กลับเสียเปรียบ เนื่องจากนโยบายในอดีตทำให้ไม่ไว้วางใจ ทางการเมียนมามักจะไม่อำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจไทยนัก แต่ผลจากการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุนในเมียนมาเปิดกว้างมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ระนองที่มีนักลงทุนจากนานาชาติสนใจเข้ามาศึกษาหาช่องทางลงทุน ซึ่งจะส่งผลดีให้กับจ.ระนอง เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการเป็นจุดผ่านของสินค้า ทั้งจากเมียนมาสู่ไทย และจากไทยไปยังเมียนมาที่สำคัญจุดหนึ่ง ซึ่งเราเองมีแผนพัฒนาท่าเรือระนองรองรับอยู่ ซึ่งแผนงานทั้งหมดอาจสะดุดลงหากมีการเปลี่ยน แปลงนโยบายของเมียนมา ซึ่งคงต้องจับตาและติดตามอย่างใกล้ชิด” อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมระนอง กล่าวยํ้า

หน้า 17 ฉบับที่ 3,652 วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศรชล.ภาค3ตรึงเข้มพรมแดนทางทะเล"ระนอง"

ภาพประวัติศาสตร์ ต้านรัฐประหารเมียนมาลาม"เมียวดี-ท่าขี้เหล็ก"