ทุจริตในองค์กร-ซื้อฝูงบินยุคทักษิณ ฉุด “การบินไทย” ดิ่งเหว

21 ส.ค. 2563 | 12:41 น.

“ถาวร เสนเนียม” ร่ายยาวปฐมบท “การบินไทย” เผยผลสอบทุจริต พนักงานบางกลุ่มร่ำรวยผิดปกติ ชี้ขาดทุนหนักปี46-47 เกิดจากการซื้อเครื่องบินในยุคทักษิณ ที่สภาพัฒน์ ทักท้วงแล้วแต่ไม่ฟัง ต่อเนื่องถึงการเข้าฟืนฟูกิจการ

          “ถาวร เสนเนียม” ร่ายยาวปฐมบท “การบินไทย”  เผย ผลสอบทุจริต พบพนักงานบางกลุ่มร่ำรวยผิดปกติ บริหารงานมิชอบ เตรียมชงป.ป.ช. สอบต่อ หลังคณะทำงานสิ้นสภาพ เมื่อกฤษฏีกา ตีความว่าหมดอำนาจหลัง บริษัทพ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจ  ทั้งเผย ขาดทุน หนักปี46-47 เกิดจากการซื้อเครื่องบินใน ยุคทักษิณ ที่สภาพัฒน์ ทักท้วงแล้วแต่ไม่ฟัง

ทุจริตในองค์กร-ซื้อฝูงบินยุคทักษิณ ฉุด “การบินไทย” ดิ่งเหว
           นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผยว่า จากการที่ได้เคยกำกับดูแลการบินไทย ตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคมปี 2562  ในช่วงที่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงคมนาคม และ ผมได้แต่งตั้ง คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารงานกิจการของบริษัทและปัญหาการทุจริต บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทำให้ประสบภาวะขาดทุน ซึ่งได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน2563 โดยมีคณะทำงานจำนวน 33 คน ซึ่งมีพล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธาน โดยที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการตรวจสอบมาอย่างต่อเนื่อง
      กระทั่งเมื่อ การบินไทย เปลี่ยนฐานะมาเป็นบริษัทจำกัด กระทรวงคมนาคม ได้ทำหนังสือสอบถามไปยั งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าคณะทำงาน ชุดที่ตั้งมานี้ ยังมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารกิจการของบริษัทและปัญหาการทุจริตของบมจ.การบินไทยหรือไม่ ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบกลับมาว่าคณะทำงานชุดดังกล่าวหมดอำนาจแล้ว
       อย่างไรก็ตามจากการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พบหลักฐานชัดเจนว่ามีการกระทำทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้น โดยพบว่าพนักงานบางกลุ่มของ การบินไทย มีฐานะร่ำรวยผิดปกติ จากการบริหารงานที่มิชอบ และส่งผลสอบทั้งหมดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อไป และจะเปิดแถลงข่าวให้สื่อมวลชนรับทราบข้อมูลดังกล่าว ภายใน 1 สัปดาห์ต่อจากนี้
       นอกจากนี้จากผลของการตรวจสอบเบื้องต้น  ย้อนหลังประมาณ 2 ปีกว่า พบว่า สาเหตุที่ทำให้การบินไทย ขาดทุน ในช่วงปี 2546-2547  เกิดจากรัฐบาลในยุคนั้น ที่การบินไทย จัดซื้อเครื่องบิน A340- 500 และเครื่องบิน A 340- 600 รวม 10 ลำเป็นเครื่องบินชนิด 4 เครื่องยนต์และตั้งใจว่าจะนำมาบินระหว่างประเทศ ไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกานั่นคือระหว่างกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส และกรุงเทพ-นิวยอร์ก
          ผลของการดำเนินการบินในช่วงนั้นปรากฏว่าขาดทุนทุกเที่ยวบินแค่เพียง 2-3 ปีก็ขาดทุนไปแล้ว 12,000 ล้าน หลังจากนั้นการบินไทยก็กลับมาคิดทบทวนใหม่นำเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ 10 ลำนี้ไปบินในเส้นทางเส้นเพิ่มเติม อีก 51 เส้นทางก็ปรากฏว่ายังขาดทุนหนักไปกว่าเดิมขาดทุนไปอีกประมาณ 39,000ล้านบาท
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ถาวร" ข้องใจขายตั่่วผ่านเอเย่นต์ ถูกกว่าผ่านเน็ต
วิกฤติซํ้า! บินไทยซื้อแอร์บัส 340 จอดทิ้งอู่ตะเภาเจ๊ง 1.4 หมื่นล้าน
“ถาวร”จี้การบินไทยปั๊มรายได้คาร์โก-ครัวการบิน​​​​​​​
“ถาวร”ไข 2 ปม  บิ๊กบินไทยไขก๊อก​​​​​​​
"ถาวร" เดินหน้า บี้บอร์ด‘TG’ ประเมินตัวเอง​​​​​​​

        หลังจากนั้นถามกลับมาว่าแล้วซื้อเครื่องบินเหล่านั้นไปได้อย่างไร ส่วนตัวได้ไปตรวจสอบย้อนหลังก็พบว่าสภาพัฒน์ ทำการทักท้วงแล้วทักท้วงทั้งบอร์ดการบินไทย และทักท้วง ทั้งทางรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้มีการรับฟังข้อทักท้วงของ สภาพัฒน์ ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ขณะนี้ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยแล้ว
       ดังนั้นตนจึงได้หาข้อมูลต่อไปว่า แล้วจากนั้นมีการดำเนินการอย่างไรก็พบว่า ขณะนี้เครื่องบินทั้ง 10 ลำนั้นขายออกไปให้กองทัพอากาศแล้ว 1 ลำยังคงจอดอยู่และยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำรุงรักษาค่าประกันภัยและค่าจอดรวมแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันนี้ขาดทุนทั้งค่าด้อยค่าและค่าประกอบการขาดทุนทั้งหมดกว่า 62,000ล้านบาท
       ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ได้มีมติว่าในระหว่างที่ การบินไทยขาดทุนนั้นจะดำเนินการฟื้นฟูอย่างไรก็ปรากฏว่าการบินไทยได้เสนอแผนฟื้นฟูผ่านมาที่คณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะดำเนินการฟื้นฟูปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้ให้ความใส่ใจและมีความเป็นห่วงใหญ่การบินไทยเป็นอย่างมากก็มาพิจารณาดูว่าการที่จะฟื้นฟูการบินไทยได้นั้นมีกี่ช่องทางช่องทางแรกคือรัฐบาลช่วยเข้าไปอุ้ม
      ปรากฏว่าจะการบินไทย เสนอแผนมาว่าจะเข้าไปกู้เงินอีก 54,000 ล้านบาท และรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้ำประกันและถ้านำเงินก้อนดังกล่าวมาใช้จ่ายในการบริหารจัดการในช่วงนั้นถ้าหากไม่ได้ผลอีกก็จะต้องเพิ่มทุนด้วยการออกหุ้นกู้อีก แปดหมื่นกว่าล้านบาท นั่นคือทางเลือกที่ 1 รัฐบาลยังไม่เห็นด้วยส่วนในทางเลือกที่ 2 รัฐบาลปล่อยให้ดำเนินกิจการต่อไปจะล้มหรือจะฟื้นก็แล้วแต่ความสามารถของการบินไทยและทางเลือกที่ 3 คือบริษัทการบินไทยจำกัดมหาชนเป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการฟื้นฟูด้วยการส่งเข้าสู่ศาลล้มละลาย ตามพรบ.ล้มละลาย
        ทั้งการจะให้เกิดความคล่องตัวได้นั้น การบินไทย ต้องลดการถือหุ้นของกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 51% ไม่ให้ถือหุ้นเกิน 50% เพื่อเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจ มาเป็นบริษัทปกติธรรมดาเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์หลังจากนั้นเมื่อโอนหุ้นแล้วการบินไทยก็ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไปรัฐมนตรีทุกคนไม่มีอำนาจที่จะกำกับรัฐบาลชุดนี้ก็ยังคงห่วงใยจึงตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะเพื่อดำเนินการติดตามให้เกิดความเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างการบินไทยกับรัฐบาล
       โดยมีนายวิษณุ เครืองามเป็นประธานและมีกรรมการอื่นอีก 8 คนเพื่อติดต่อประสานงานในเหตุขัดข้องในการฟื้นฟูกิจการการบินไทยไปยังรัฐบาลและรัฐบาลจะมีคำแนะนำในการให้ความช่วยเหลืออย่างไร เช่นประสานกับหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดรัฐบาลว่าในขณะที่จะทำการฟื้นฟูเกิดปัญหาอะไรบ้างจะได้ช่วยเหลือได้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการการบินไทยผ่านไปได้ด้วยดีทางรัฐบาลได้แต่งตั้ง นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ให้ทำหน้าที่รักษาการณ์ ผู้บริหารการบินไทยแทนนายจักรกฤษที่ลาออกไป

        หลังจากนั้นการบินไทยก็ยื่นเข้า ฟื้นฟูกิจการ ต่อ ศาลล้มละลายกลาง และเมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลได้ดำเนินการไต่สวนไปแล้วสองปากนั่นคือคนที่จะเป็นผู้บริหารแผนและจะดำเนินยื่นต่อศาลผู้ที่เข้าไปเบิกความก็คือนายปิยสวัสดิ์และนายชาญศิลป์และวันที่ 20 และ 25 สิงหาคมนี้ศาลนัดอีก 2 นัด ก็คงจะเสร็จสิ้น
        ส่วนในเรื่องของการบริหารแผนฟื้นฟูที่มีการถามกันมานั้นซึ่งแผนนี้ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของศาลแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดแผนฟื้นฟูที่จะเป็นไปได้หรือไม่เกิดความมั่นใจกับเจ้าหนี้หรือไม่เกิดความสบายใจของลูกค้าหรือไม่เพราะมีเจ้าหนี้อยู่ 2 ล้านกว่าคนยอดหนี้ทั้งหมดคือ 3 แสนกว่าล้านบาท สินทรัพย์มีอยู่กว่า 3 แสนล้านบาทสิ่งสำคัญ

ทุจริตในองค์กร-ซื้อฝูงบินยุคทักษิณ ฉุด “การบินไทย” ดิ่งเหว
        ที่สุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือของราชการที่เป็นเจ้าหนี้หรือผู้ที่มีอิทธิพลทางด้านการตัดสินใจในการฟื้นฟู ว่าจะเป็นไปได้อย่างราบรื่นหรือไม่ให้กลุ่มเหล่าความร่วมมือ เพราะลูกหนี้ทั้งหมด 2 ล้านกว่าราย เจ้าหนี้รายใหญ่ให้ความร่วมมือหมดแล้วและศาลก็ได้มีความเมตตาด้วยการให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ติดต่อประสานงานกันผ่านระบบออนไลน์การไต่สวนจึงสะดวกยิ่งขึ้นสิ่งสำคัญที่มีการถามมาว่าการฟื้นฟูมีความหวังหรือไม่อย่างไร
         สิ่งแรกคือต้องบอกว่าการบริหารแผนของนายชาญศิลป์ ที่เข้ามากำกับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้แยกการบริหารจัดการออกเป็น 2 แนวทาง แนวทางการบริหารภายในนั้นได้พบพนักงานและชี้แจงเริ่มต้นโครงการที่เรียกว่า Together we care นั่นคือขอความร่วมมือจากพนักงานทุกคนในการลดเงินเดือนลดรายได้ที่เคยได้รับปรากฏว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานทั้งหมดจาก 2หมื่น กว่าคนให้ความร่วมมือแม้แต่พนักงานที่มีเงินเดือนระดับ 20,000 กว่าบาทก็ให้ความร่วมมือ เพราะพวกเขาเหล่านั้นรักองค์กร
         ส่วนเรื่องการบริหารการปรับพนักงานออกหรือไม่มีคำถามขึ้นมามากมาย ถ้าแผนของการบินไทยฟื้นฟูเป็นไปตามที่คาดหวังและขณะนี้การลดค่าใช้จ่ายเป็นไปตามแผนการที่จะลดพนักงานหรือปรับออกนั้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากแผนฟื้นฟูที่ผ่านเข้าไปในศาลผู้บริหารแผนพบปัญหาอุปสรรคก็อาจต้องใช้วิธีการลดพนักงานด้วยการสมัครใจลาออกโดยมีค่าตอบแทนและไม่มีการบังคับนั่นคือสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างไรก็ตาม
        แค่นั้นยังไม่พอสิ่งที่เราพบก็คือเมื่อตนเข้ามาบริหารการบินไทยก็พบว่ามีฝูงบินอยู่ทั้งหมด 102 ลำปรากฏว่ามีเครื่องบินที่ต้องปลดระวาง และมีแผนที่ต้องจัดหาเครื่องบินเพิ่ม 38 ลำใช้เงินกว่า 1หมื่น ล้านบาท ซึ่งตนก็ได้ให้นำโครงการดังกล่าวกลับไปทบทวนเรื่องการจัดซื้อทดแทนเครื่องบินกลุ่มไหนบินเส้นทางใดบ้างลำตัวกว้างลำตัวแคบวิสัยไกลวิสัยใกล้ก็ไม่ได้มีคำตอบกลับมา
       ดังนั้นตนจึงได้นำแผนนั้นกลับไปดำเนินการใหม่จนกระทั่งวันนี้ยังชะลอโครงการและไม่มีการจัดซื้อเครื่องบินใหม่มาถึงวันนี้ 102 ลำในขณะที่ยังรออยู่ปรากฏว่าผู้บริหารแผนดำเนินการให้ลดดาวไซส์ซิ่ง ลงทั้งองค์กร และที่ถามมาครั้งสุดท้ายน่าจะลดจาก 102 ลำ เหลือฝูงบินของการบินไทยไม่เกิน 60 ลำและรถจาก 11 แบบให้เหลือประมาณ 3 แบบ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและหากเป็นไปตามนี้ก็คาดหวังว่าการบินไทยจะต้องกลับมาฟื้นเป็นสายการบินแห่งชาติที่เราภาคภูมิใจรักคุณเท่าฟ้าอีกครั้งหนึ่ง
      แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขอชี้แจงว่าไม่ต้องกังวลใจการบริหารงานของการฟื้นฟูจะเป็นไปได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ปัจจัยคือ
      1.พนักงานการบินไทยและวัฒนธรรมของการบินไทยว่าคุณจะร่วมมือปรับเปลี่ยนจากความไม่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ติดขัดโน่นนี่นั่น การตัดสินใจได้เร็วดำเนินการธุรกิจให้เป็นธุรกิจที่แท้จริงอุตสาหกรรมการบินที่มีการแข่งขันกันมากขึ้นบริษัทการบินในเมืองไทยอย่างน้อย
      2. บริษัทเข้าไปช่วยกันฟื้นฟูและต่างชาติล้มละลายไปแล้วคุณจะต้องปรับการทำงานลง ประการที่ 2 นั่นคือผู้บริหารแผนจะต้องจริงใจและจริงจังในการบริหารแผน
        3 แผนฟื้นฟูจะต้องฟังเจ้าหนี้ด้วยทั้งหลายเหล่านี้หากสมัครใจทำกันอย่างสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวมั่นใจว่า Together we care เราไปด้วยกันได้และสามารถฟื้นฟูกิจการไทยให้กลับมาฟื้นฟูได้