“บีทีเอส” ดับเครื่องชน รถไฟฟ้าสายสีส้ม

21 ส.ค. 2563 | 05:48 น.

“บีทีเอส”  ดับเครื่อง "รฟม." - บอร์ดคัดเลือก มาตรา 36 -  “ITD”    เปลี่ยนเงื่อนไข ทีโออาร์  ประมูลรถไฟฟ้า สะกัดผูกขาด หลัง   ร่อนหนังสือ ร้อนถึง  รฟม.คณะกรรมการ ตามมาตรา 36

 

 

 

  การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี)รูปแบบ พีพีพีเน็ตคอสลงทุนงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า  เริ่มไม่ชอบมาพากล เมื่อบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด(มหาชน) หนึ่งในเอกชนซื้อ เอกสารร่วม  ประกวดราคา สายสีส้ม ได้ยื่นหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ขอเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ โดย ยึด ผลประโยชน์สูงสุดในภาพรวม  ศักยภาพ บริษัท  วิธีการทำงาน ความชำนาญการ เพื่อ ให้ ได้โครงการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แก่รัฐ ประเทศชาติ ประชาชนผู้ใช้ทาง  และคำนึงถึงความปลอดภัย  มากกว่า ผลตอบแทนสูงสุดด้านราคาเพียงอย่างเดียว   ส่งผลให้ สคร.  ส่งหนังสือ ไปยังรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.)  ชี้ขาด  โดยคณะ กรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36  (พรบ. ร่วมทุนปี 2562 )   ได้ประชุมด่วนเพื่อ ตอบคำถามดังกล่าวของบมจ.อิตาเลียนไทย เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 21 สิงหาคม นั้นซึ่งเอกชนผู้ร่วมประมูล มีความกังวล อาจก่อให้เกิดการลอบบี้ เปลี่ยนหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทีโออาร์   ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ กับเอกชนบางกลุ่มที่อาจไม่มีความชำนาญ ด้านการขุดเจาะอุโมงค์ เพราะในเมืองไทยมีผู้รับเหมาเชี่ยวชาญด้านอุโมงค์ เพียง2รายเท่านั้น ซึ่ง มองว่า อาจ เกิดการผูกขาด สมยอมได้  

    

 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563  นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)  มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ BTS C.MRTA. P0000.0001.08.2020 ถึง ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ คณะกรรมการ คัดเลือกตามมาตรา 36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ –มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มี นายกิตติกร ตันเปาว์  ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. และรักาการรองผู้ว่าการรฟม. ในฐานะประธาน โดยระบุว่า ได้ทราบข่าวว่ามีผู้ซื้อเอกสาร ข้อเสนอการร่วมลงทุน

 

 

 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รายหนึ่งได้ทำหนังสือ เพื่อให้มีการพิจารณา ปรับเปลี่ยนการประเมิน และเปรียบเทียบข้อเสนอ เกี่ยวกับผู้ที่ จะได้รับการประเมิน ให้เป็นผู้ชนะการคัดเลือก โดยเสนอว่า ไม่ควรพิจารณาให้ผู้ที่เสนอ ผลประโยชน์ ทางการเงิน สูงสุด เป็นผู้ชนะการคัดเลือก แต่ควรพิจารณา ปัจจัยและผลประโยชน์อื่นๆเช่น ข้อเสนอด้านเทคนิค ร่วด้วย  จึงใคร่ขอเรียนถาม รฟม. ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจาก หากเป็นความจริง  บริษัทเห็นว่า หากมีการ พิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการ ประเมินข้อเสนอดังกล่าว จะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการในลักษณะนี้ กับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดใหญ่ ที่เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน

 

นอกจากนั้นบริษัทเห็นว่า ผู้ที่เข้ามายื่นข้อเสนอ ในโครงการนี้ได้ จะต้องผ่านเกณฑ์ด้านต่างๆ ของรฟม.ซึ่งจะต้องเป็นบริษัท หรือกลุ่มบริษัท ที่มีศักยภาพ และความเป็นไปได้ในการดำเนินงานสูง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่บริษัท ที่ผ่านเกณฑ์จะไม่ทำตามข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อรฟม. อีกทั้งบริษัท ที่ยื่นข้อเสนอ ยังต้องมีภาระรับผิดชอบค้ำประกันต่อ รฟม. ด้วยที่สำคัญ  การพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือก โดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิค ทั้งๆที่ ได้มีการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา ผู้ชนะ การคัดเลือกมาแล้ว จะเป็นช่องทาง ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ ต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ได้

การพิจารณา ผู้เสนอ ผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดให้กับรัฐให้เป็นผู้ชนะการประมูล จึงจะเป็นการก่อให้เกิด ประโยชน์สุงสุดแก่รัฐโดยแท้ และมีควมโปร่งใสเป็นธรรมมากที่สุด  บริษัทฯ จึงเห็นว่าเป็นการไม่สมควร หากจะมีการปรับแก้ วิธีการประเมินข้อเสนอ ดังกล่าว  นอกจากนี้บริษัทเห็นว่า แม้การร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้จะไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้าง กับหน่วยงานภาครัฐ แต่การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ในข้อเท็จจริงข้างต้น เทียบเคียงได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ ซึ่งแม้ว่าไม่มีกำหนด ไว้ในกฎหมายร่วมทุนด้วยก็ตาม  คณะกรรมการคัดเลือก  ควรนำกฎกระทรวงการคลัง กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง กับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ.2560 ลงวันที่ 23สิงหาคม 2560(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม และถือเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่สามารถกระทำได้