ลุ้นพายุลูกใหม่ แรงขึ้นเป็น"โซนร้อน"ได้ไหม

16 ต.ค. 2563 | 05:00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ลุ้นพายุลูกใหม่ บ่ายนี้ชัดขึ้น แรงขึ้นเป็น"โซนร้อน"ได้ไหม

16 ต.ค.63 เพจ กรมอุตุนิยมวิทยา โพสตฺข้อความพร้อมภาพถ่ายดาวเทียมระบุว่า พายุฯลูกนี้ ลุ้นจริงๆ ว่าจะแรงขึ้นเป็นโซนร้อนได้ไหม บ่ายนี้ (16/10/63) น่าจะมีคำตอบชัดขึ้น เฝ้าติดตามครับ ยังไม่ต้องตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม 1-2 วันนี้ยังต้องระวังฝนหนัก ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออก และภาคใต้ (ฝั่งอันดามัน)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปภ.เตือน 49 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 16-19 ต.ค.นี้

เฝ้าระวัง “พายุดีเปรสชั่น” กระทบไทย 17-19 ต.ค.

อุตุฯ เตือน "พายุดีเปรสชัน" ฉบับที่ 4 รับมือฝนถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน 16-18 ต.ค.

 

16 ต.ค.63 เพจ เตือนภัยพิบัติ วาตภัย ฝนฟ้า พายุ โพสต์ข้อความระบุว่า #ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่ต่ำที่ลุ่มระวัง

อัพเดทพายุดีเปรสชั่นระดับ 2 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลาง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง16/10/2563 คาดว่าจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามดึกๆคืนนี้​ก่อนรุ่งเช้า​ และจะกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในประเทศกัมพูชา และกลายเป็นร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยโดยอัตโนมัติ บวกกับมีลมทิศตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยที่พัดนำพาความชื้นปกคลุมแผ่นดิน (ไทย กัมพูชา เวียดนาม ฝนหนัก)

ข้อมูล ecmwf ของยุโรป ลม 750 เมตรของกรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์ฝน https://www.rainviewer.com/weather-radar-map-live.html

 

โดยลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ (ภาคเหนือเป็นบางแห่ง)​ คาดว่ากลุ่มฝนตกหนัก จากร่องมรสุมและอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำ จะทำให้มีฝนตกยาวถึงวันที่16ถึง 19 ตุลาคม 2563

 

สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยเฉพาะทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองอาจสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง

 

โดยเฉพาะที่ต่ำที่ลุ่มให้ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ระยะนี้ต้องระมัดระวัง

เตือนฝนตกหนัก(คาดการณ์ปริมาณฝนสะสมระยะ 3 วัน16ถึง18​ตุลาคม​2563)​

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนสะสมหนัก

ยโสธร ต่ำสุด​100 สูงสุด​136 มิลลิเมตร

อำนาจเจริญ​ ต่ำสุด​100 สูงสุด​150 มิลลิเมตร

อุบลราชธานี ต่ำสุด​80 สูงสุด​150 มิลลิเมตร

ศรีสะเกษ ต่ำสุด​60 สูงสุด​150 มิลลิเมตร

สุรินทร์ ต่ำสุด​70 สูงสุด​150 มิลลิเมตร

บุรีรัมย์ ต่ำสุด​70 สูงสุด​150 มิลลิเมตร

ร้อยเอ็ด ต่ำสุด​50 สูงสุด​140 มิลลิเมตร

มหาสารคาม ต่ำสุด​80 สูงสุด​130 มิลลิเมตร

ขอนแก่น ต่ำสุด​40 สูงสุด​100 มิลลิเมตร

นครราชสีมา ต่ำสุด​80 สูงสุด​130 มิลลิเมตร

ลพบุรี ต่ำสุด​80 สูงสุด​130 มิลลิเมตร

อ่างทอง ต่ำสุด​100 สูงสุด​190 มิลลิเมตร

สุพรรณบุรี ต่ำสุด​90 สูงสุด​160 มิลลิเมตร

กาญจนบุรี ต่ำสุด​50 สูงสุด​120 มิลลิเมตร

พังงา ต่ำสุด​100 สูงสุด​130 มิลลิเมตร

ระนอง ต่ำสุด​60 สูงสุด​120 มิลลิเมตร

 

บริเวณที่กล่าวมานี้คือบริเวณที่คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกสะสมหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะพื้นที่เบาะบางที่ต่ำที่ลุ่มต้องระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

(ข้อมูลนี้เพิ่งจะมีการอัพเดท 16 ตุลาคม 2563 อัพเดทล่าสุด)​

ตรวจสอบปริมาณฝนสะสมเพิ่มเติมได้ที่ https://www.windy.com/…/-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%…