สศช.ห่วงแรงงานนอกระบบ16ล้านคน

17 ส.ค. 2563 | 04:18 น.

สศช.ชี้แรงงาน1.76ล้านคนกลุ่มเสี่ยง-หลังตกงานแล้ว 4แสนคน-ห่วงอีก 16 ล้านคนที่อยู่นอกระบบ ขณะแนวโน้มเอ็นพีแอลยังเพิ่ม

สถานการณ์ว่างงาน-การเพิ่มขึ้นทั้งเอ็นพีแอล และ หนี้ครัวเรือนยังเป็นโจทย์ของรัฐบาล หลัง ไตรมาส 2 ปี 2563ส่งสัญญาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ถ้าเศรษฐกิจไม่ฟื้นหรือปิดสถานประกอบการดดันแรงงาน1.76 ล้านคนป็นกลุ่มเสี่ยงหลังพบตกงานแล้วกว่า 4 แสนคน

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม นายทศพ รศิริสัมพัน ธ์เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (สศช.หรือสภาพัฒน์) แถลงภาวะ สังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2563 โดยระบุว่า สถานการณ์การว่างงานมีผู้ว่างงานจำนวน 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราการว่างงานในช่วงปกติและเป็นอัตราการว่างงานที่สูงสุดตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2552 ผู้ว่างงาน 64.2% เคยทำงานมาก่อนโดย 58.7%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาพัฒน์ เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2563 ติดลบ 12.2% ปรับเป้าทั้งปี -7.5%

สภาพัฒน์ เตรียมชง ครม.เห็นชอบเงินกู้ฟื้นศก.รอบสอง 8.3 พันล้าน

“สภาพัฒน์” แจงข้อเท็จจริง กรณีหั่นเงินเพิ่มพิเศษของ อสม.

“เอกชน”เสนอลดเงินสมทบ “ประกันสังคม” เหลือ 1% ถึงสิ้นปี 63

 สาเหตุที่ว่างงานเกิดจากสถานที่ทำงานเลิกหรือหยุดกิจการรวมทั้งหมดสัญญาจ้าง ปัจจุบันมีแรงงานว่างถูกเลิกจ้างและใช้สิทธิ์ประกันสังคมจำนวน 4.2 แสนคนแล้วที่เหลืออีก 1.76 ถึง 1.8 ล้านคนแม้จะมีงานทำแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงของการได้รับการเยียวยาและชดเชย ตามมาตรา 33 และมาตรา 75 ของพรบ.ประกันสังคม

"กลุ่มนี้ 1.76-1.8 ล้านคนแม้จะมีงานทำ แต่มีความเสี่ยงถ้า เปิดเมืองไม่ได้ เศรษฐกิจไม่ฟื้นซึ่ง สถานประกอบการอาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจหรือต้องปิดกิจการในช่วงที่เหลือ แต่เราเป็นห่วงกลุ่มแรงงานอิสระที่อยู่นอกระบบ16ล้านคนแม้เบื้องต้นจากฐานข้อมูลของคนรับเงินเยียวยา5,000บาทของกระทรวงการคลังแต่ต้องหาคนที่เหลือให้เจอและให้ความช่วยเหลือ"

 ด้านสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2563 ขยายตัว3.9%เป็นมูลค่า 13.48 ล้านล้านบาท ชะลอลง จาก5.1% ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ลดลง ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของโควิชที่มีความไม่แน่นอนสูงทำให้ความต้องการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนปรับตัวลดลงรวมถึงความต้องการสินเชื่อของครัวเรือน เกือบทุกประเภทโดยสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ จีดีพีอยู่ที่80.1% สูงสุดในรอบ 4 ปี ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2559 ขณะที่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อด้อยลงโดยยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค มีหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)มูลค่า1.56แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น23.6% และมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่3.23%เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน2.9%ในไตรมาสก่อน

ทั้งนี้ แม้ว่าที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อแก้ปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งยกระดับรายได้ภาคครัวเรือนให้กลับสู่ระดับปกติเพื่อให้สามารถชำระหนี้และเสริมสร้างกันชนทางการเงินโดยเฉพาะเงินออมของภาคครัวเรือนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

เลขาธิการสศช. กล่าวเพิ่มเติมว่า การเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ทุกคนเป็นห่วง เรื่องการจ้างงานภายในประเทศ รวมถึงเอ็นพีแอลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการคงอยู่ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีจำนวน3ล้านราย อย่างไรก็ตาม มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายใต้พรกเงินกู้วงเงิน 400 ล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติไปเบื้องต้น เน้นเรื่องการจ้างงานในพื้นที่คาดว่าน่าจะช่วยการจ้างงานได้ 4 แสนอัตรา และน่าจะชะลอปัญหาการว่างงานในระดับหนึ่ง

สศช.ห่วงแรงงานนอกระบบ16ล้านคน

 

สศช.ห่วงแรงงานนอกระบบ16ล้านคน

 

สศช.ห่วงแรงงานนอกระบบ16ล้านคน