มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน นำองค์ความรู้สู่ชุมชน แก้พิษโควิด

10 ส.ค. 2563 | 04:35 น.

กระทรวงอุดมศึกษาฯแก้ปมงานหายากหลังโควิด ให้มช.จ้างเร่งจ้างงาน นำ 5 โปรแกรมเชื่อมชุมชน-สถานประกอบการ ม.อ.รับบัณฑิตอาสา เก็บข้อมูลทำแผนที่ภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ใหม่

เร่งแก้บัณฑิตจบใหม่เตะฝุ่น มช.- ม.อ. จับมือกระทรวงอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัทำโครงการจ้างงานบัณฑิตอาสา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้เป็นข้อต่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย มาใช้แก้ปัญหาพัฒนาศักย ภาพผู้ประกอบการและชุมชน

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) จัดทำโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด รุ่น 1 และรุ่น 2 รุ่นละ 400 คนและบัณฑิตโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อีก 200 คน รวม 1,000 คน ใน 9 จังหวัดภาคใต้ เพื่อออกพื้นที่ไปเก็บข้อมูลปัจจุบันเพื่อทำแผนที่สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ระหว่าง มิ.ย.-ก.ย. 2563 นี้ โดยมีบัณฑิตจากหลากหลายสถาบัน และมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน โดยเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานให้เรียนรู้ระบบไอที และสร้างความรู้ความ เข้าใจในการศึกษาชุมชนเบื้องต้น

หลังจากการลงพื้นที่ จะมีการประชุมนำเสนอผลการเก็บข้อมูล ให้บัณฑิตอาสารายงานความก้าวหน้าของการทำงาน วางแผนการทำงานครั้งต่อไป ร่วมกับส่วนราชการในที่พื้นที่ แลกเปลี่ยนและรับฟังข้อคิดเห็นกับนักพัฒนา เจ้าหน้าที่ และทีมงานศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งทำหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลบัณฑิตอาสาอย่างใกล้ชิด

 

มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

นายอรรถชัย หีมชาตรี บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด ปฎิบัติงานที่ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมาของการลงพื้นที่ การเรียนรู้ชุมชน เป็นสิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้เข้าถึงการพัฒนา ได้เรียนรู้ผลกระทบของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจิตใจหรือทางเศรษฐกิจ พบว่าชุมชนแห่งนี้ไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเป็นชุมชนเกษตรเข้มแข็ง มีต้นทุนธรรมชาติเด่นชัด

มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

พืชเศรษฐกิจหลักที่นี่ คือ ต้นตาลโตนด และการแปรรูปจากตาลโตนด มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เช่น เดอะฮัค ในฉาง ป่าขวาง มีเนื้อที่ 10 ไร่ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จ.สงขลา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแนววิถีชีวิตพื้นบ้าน มีวิวทุ่งนา ใช้จุดเด่นคือ ความสวยงามจากต้นตาลโตนดในทุ่งนามาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว เสริมด้วยหุ่นฟางผีเสื้อสมุทร หุ่นเดอะฮัค และอื่นๆ นับเป็นสถานที่เช็กอินถ่ายรูปเซลฟี่ ที่น่าสนใจ

นายเชิดพงศ์ บุญที่สุด นักพัฒนาชุมชน อบต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เผย ตามที่บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิดจากม.อ. มาลงพื้นที่เป็นเวลา 4 เดือน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี สิ่งที่ต.รำแดง ต้องการคือ การจัดทำฐานข้อมูล เป็นฐานข้อมูลทางแผนที่ทางภูมิศาสตร์จากโปรแกรม GIS และแผนที่ทางเดินเท้า การทำงานทุกอย่างของท้องถิ่น หากมีข้อมูลที่ชัดเจน อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม สัตว์เลี้ยง เป็นต้น มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

เมื่อเราได้แผนที่ก็สามารถมาวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงความต้องการของชาวบ้าน ไม่ยัดเยียดความช่วยเหลือ ปัญหาถึงจะได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน และเมื่อน้องๆ บัณฑิตอาสาลงพื้นที่ ผูกสัมพันธ์กับชุมชน จนได้รับของฝากจากชาวบ้าน
ด้วยความเอ็นดู เหมือนลูกหลานมาเยี่ยม

ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้พัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ กล่าวว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นฐานข้อมูลในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับม.อ. ในการเข้าไปให้บริการวิชาการตามความต้องการของพื้นที่ในสงขลา ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ต่อไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผุดโครงการ “อว.สร้างงาน” จ้างหมื่นอัตราจ่าย9พัน/เดือน

อว.สร้างงานระยะ 2 กว่า 3 หมื่นอัตรา

"1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย" ชงครม.เคาะ จ้างงาน 6 หมื่นคนทั่วประเทศ 30 มิ.ย.นี้

 

มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

ด้าน ศ.คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เพื่อจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวม 1,000 คน โดยเสริมศักยภาพการพัฒนาทักษะการทำงานด้านต่างๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อต่อยอดเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไปได้

ทั้งนี้ มช.นำทรัพยากรและความเข้มแข็งของมหา วิทยาลัย ร่วมช่วยการเร่งฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ให้เปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตวิถีใหม่ โดยพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และผลงานที่โดดเด่นของมช.รวม 5 โปรแกรม ที่มช.ได้ทุ่มเทงบประมาณกว่า 117 ล้านบาท วิจัยและพัฒนามาก่อนหน้านี้ อาทิ โปรแกรม มช.อาสา Plug and Play, เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานกับ มช. (Learning & Working with CMU)

มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

 

ด้านโปรแกรมสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพกับ มช. (CMU Startup) และ องค์ความรู้ มช. เพื่อทุกคน (CMU Knowhow for all) ได้ดำเนินการและถูกเชื่อมโยงไปพร้อมๆ กัน ในการสนับสนุนบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ต อัพ ภายใต้ บริษัท อ่างแก้ว สตาร์ทอัพ จำกัด ให้อาจารย์พัฒนางานวิจัยสู่ต้นแบบหรือแนวคิดเชิงพาณิชย์ ให้เกิดบริษัทสตาร์ตอัพได้จริง

การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ยกระดับคุณภาพ สร้างอาชีพให้กับผู้ประกอบการ ชุมชน และเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ล้านนา สร้างสรรค์เป็นการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านล้านนาไปใช้ประโยชน์เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ

ด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยโรงงานต้นแบบ มช. (CMU Pilot Plant for Value-Added) เป็นโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (Innovative Food Fabrication Pilot Plant) เป็นแห่งแรกของภาคเหนือ ด้วยงบกว่า 160 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่ยังไม่มีกำลัง สามารถมาทดลองใช้ เพื่อแก้ปัญหาอุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่ และเป็นสะพานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาครัฐ มหา วิทยาลัย เอกชน และชุมชนในภาคเหนือ พร้อมการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับนักศึกษา บัณฑิตว่างงานตลอดจนขยายฐานการเติบโตให้กับธุรกิจ SMEs และ Startup

 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งหวังว่า 5 โปรแกรมรวมพลังจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถกลับมาตั้งตัวได้อีกครั้ง

มช.-ม.อ.ระดม จ้างงาน  นำองค์ความรู้สู่ชุมชน  แก้พิษโควิด

หน้า 17 ฉบับที่ 3,598 วันที่ 6 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563