KKPลุ้น 3ปัจจัย ดึงเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง –เตือนระวัง 2ความเสี่ยง

30 ก.ค. 2563 | 21:10 น.

KKPประเมินจีดีพีโดต่ำกว่าศักยภาพ –ลุ้น 3ปัจจัย “การติดเชื้อโควิด-ปัญหาหนี้-และข้อจำกัดอัดฉีดของรัฐ”ดึงเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง –เตือนระวัง 2ความเสี่ยง “จีน-สหรัฐฯ และเลือกตั้ง

KKP ลุ้น 3ปัจจัย!  ห่วงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศคิดเป็น 12%ของจีดีพีหาย -หวั่นกระทบอัตราว่างงาน 5ล้านคน-ฉุดความสามารถชำระคืนหนี้และปัญหาคุณภาพสินทรัพย์  ขณะเดียวกันยังต้องระวังอีก 2ความเสี่ยง “สถานการณ์ขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนและเลือกตั้งในอเมริกา

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน(KKP)ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2563 โดยระบุว่าการระบาดของโควิดปีนี้ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกถดถอยค่อนข้างรุนแรงนับตั้งแต่ปี2473 เนื่องเพราะเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบพร้อมกัน ประกอบกับยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก  ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลัง 3ปัจจัยที่ต้องลุ้นได้แก่ 1.การติดเชื้อของโควิดสถานการณ์การติดเชื้อของโควิดยังไม่จบ แม้ว่าในประเทศไทยจะสามารถควบคุมการติดเชื้อได้ดี แต่หากมองนอกประเทศภาวะการติดเชื้อยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะ 5ประเทศ ที่ยังมีความเสี่ยงจะมีผู้ติดเชื้ออาทิ  สหรัฐ  บราซิล  แอฟริกา  อินเดีย  สเปน เป็นต้น 
2.เศรษฐกิจไทยยังเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ 10-15% เพราะนอกจากเศรษฐกิยไทยต้องพึ่งพารายได้จากต่างประเทศ  ซึ่งการค้าการลงทุนจะไม่เหมือนเดิมแล้ว ในส่วนของการใช้จ่ายจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ที่คิดเป็น 12%ของจีดีพีไทยโดยยังไม่รวมด้านอื่นๆ ขณะที่มาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจจำนวนมากที่อาจจะไม่สามารถอยู่รอดได้และคาดว่าจะกระทบต่ออัตราการจ้างงาน4-5ล้านคน เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะสะท้อนถึงความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ แม้ว่าปัจจุบันลูกหนี้และเจ้าหนี้ 1ใน3 ของหนี้รวมทั้งระบบได้รับการพักชำระหนี้อออกไป 12.8ล้านบัญชีมูลหนี้กว่า 6.9ล้านล้านบาทซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินและต่อการปล่อยสินเชื่อ และ3.ข้อจำกัดเชิงนโยบาย เห็นได้จากรัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดสภาพคล่องไปแล้วกว่า 1ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่า 10%ของจีดีพีซึ่งสะท้อนสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่เพิ่มสูงกว่าช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 ประกอบกับธนาคารกลางได้อัดฉีดสภาพคล่องและปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0%ต่อปี อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ทยอยอัดฉีดสภาพเข้าสู่ระบบมากกว่า 4ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเวลาเพียง 3เดือน สำหรับประเทศไทยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปัจจุบันอยู่ที่ 45%ของจีดีพี ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมาอยู่ที่ 41%ของจีดีพีและคาดว่าภายในสิ้นปีหน้าจะเพิ่มเป็น60%ของจีดีพี
 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ยังกล่าวถึง 2ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังโดยระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและการเลือกตั้งในสหรัฐซึ่งจะมีผลต่อความไม่แน่นอนเชิงนโยบายและเศรษฐกิจไทย เช่น การตัดสินใจเข้าร่วมCPTPP ที่อาจส่งผลต่อการย้ายฐานการผลิตและด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น 
“ข้อจำกัดด้านนโยบายนั้น เป็นความกังวลถ้าการระบาดของโควิดยังไม่จบรัฐจะมีกระสุนเพียงพอหรือไม่ แต่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของเมืองไทยยังสามารถกู้เงินเพิ่มได้แต่ต้องมีการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ  สำหรับจีดีพีปีนี้คาดว่าจะหดตัว 9% บนสมมติฐานภาคส่งออกติดลบ 10% แต่ 2เดือนที่ผ่านมาส่งออกติดลบแล้วมากกว่า 10% ส่วนกรณีนักท่องเที่ยวไม่กลับมา จีดีพีมีโอกาสติดลบ 10% %และกรณี Worst Caseจีดีพีปีนี้น่าจะหดตัว 12-15%”