11 ข้อควรรู้ "มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้"รายย่อย

04 พ.ค. 2563 | 09:54 น.

ธปท. ตอบ 11 คำถาม "มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้"รายย่อยของธนาคารพาณิชย์ Non- bank ฝ่าวิกฤติโควิด-19

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่ Q&A มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (COVID-19) โดยมีคำแนะนำ “ข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้รายย่อย” ไว้อย่างน่าสนใจใน 11 ข้อดังนี้

1.ลูกหนี้กลุ่มไหนที่สามารถเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของ ธปท. ได้บ้าง

ลูกหนี้ทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ทั้งประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกจ้าง พนักงาน อาชีพอิสระ ธุรกิจ SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ โดย ติดต่อสถาบันการเงินที่ใช้บริการเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการต่าง ๆ ตามประเภทสินเชื่อที่มีอยู่

2. ลูกหนี้ที่เป็น NPL แล้วเข้าร่วมมาตรการได้หรือไม่

ลูกหนี้ที่เป็น NPL (ค้างชำระหนี้เกินกว่า 90 วัน) สามารถเข้าร่วมโครงการตามมาตรการวันที่  28 ก.พ. 63 โดยการขอปรับโครงสร้าง หนี้กับสถาบันการเงินที่ใช้บริการอยู่ ทั้งนี้ ต้องเป็น NPL ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 62 หรือก่อนหน้านั้น หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็น ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ

เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว สถาบันการเงิน จะเปลี่ยนสถานะของลูกหนี้จากการเป็น NPL ให้เป็นปกติ เมื่อลูกหนี้ได้ชำระเงินตามสัญญาใหม่ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนหรือ 3 งวดแล้วแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่า

3.การเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือขั้นต่ำ ต้องลงทะเบียนหรือไม่

มาตรการช่วยเหลือขั้นต่ าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 63 ซึ่งสถาบันการเงินบางแห่งอาจขอให้ลูกหนี้ลงทะเบียนใช้สิทธิตาม มาตรการขั้นต่ำนี้ด้วย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลภายใน แต่จะเป็นการลงทะเบียนแบบง่าย ๆ ผ่านช่องทาง online ต่าง ๆ เช่น QR Code, SMS, หรือ mobile banking application

ทั้งนี้ สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน ที่ลดอัตรา ผ่อนชำระขั้นต่ำรายเดือนจาก 10% เป็น 5% ของยอดคงค้าง ลูกหนี้ไม่ต้องลงทะเบียน

4. มาตรการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน จะสามารถพักชำระหนี้ได้หรือไม่

หากลูกค้ามีความจำเป็น ได้รับผลกระทบรุนแรง ทำให้ไม่สามารถจ่ายชำระขั้นต่ำได้ ขอให้ติดต่อสถาบันการเงินเพื่อแจ้งความ จำเป็นนี้ ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งที่ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน ก็ได้ช่วยเหลือลูกหนี้มากกว่า เกณฑ์ขั้นต่ำที่ ธปท. กำาหนด เช่น การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย การพักชำระเงินต้น และการลดดอกเบี้ย

5. เป็นไปได้หรือไม่ที่สถาบันการเงินจะไม่คิดดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้

สถาบันการเงินได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้ที่กระจายเป็นวงกว้าง หลายคนต้องหยุดงานและไม่มีรายได้เข้ามา หรือมี รายได้ลดลง ซึ่งที่ผ่านมานี้หลายธนาคารได้ปรับเปลี่ยนโปรแกรมการช่วยเหลือให้สอดรับกับสถานการณ์และพิจารณาลด ดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้เพิ่มเติมจากเกณฑ์ขั้นต่ำ

โดยพิจารณาตามความเหมาะสมกับลูกหนี้แต่ละราย ที่ประสบปัญหาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การพิจารณาพักดอกเบี้ย หรือ ลดดอกเบี้ยนั้น ทุกสถาบันการเงิน และ non-bank ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะสถาบันการเงินทุกแห่งมีต้นทุนทางการเงินจากการกู้ยืมเงินมาจากประชาชนเช่นกัน และต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

6. ขั้นตอนการช่วยเหลือของแต่ละมาตรการจะยุ่งยากหรือไม่

สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ ได้ลดกระบวนการพิจารณา และเพิ่มช่องทางเพื่อให้สามารถบริการลูกค้าใน จำนวนมากได้รวดเร็วขึ้น เช่น การให้ความช่วยเหลือทันทีแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องให้ประชาชนมาติดต่อ

โดยการสื่อสารผ่าน facebook, line, หรือ mobile banking application ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและภาระของลูกค้ารายย่อย ซึ่ง ธปท. ได้ รวบรวมข้อมูลและสามารถเข้าดูได้ที่ website ของ ธปท. www.bot.or.th การเปรียบเทียบมาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละสถาบันการเงินของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ สามารถกด link นี้ซึ่ง ธปท. ติดตามและรวบรวมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Documents/FI_Supoort_Infograhic_update.pdf 

5 รูปภาพ infographic ของมาตรการการให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน รวมทั้งผู้ประกอบการ ที่ไม่ใช่สถาบันกรเงิน (Non- bank) ที่แต่ละแห่งเผยแพร่ไว้ธปท. ได้รวบรวมไว้ที่เดียวแล้ว ท่านก็สามารถกดได้ตาม link นี้

https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Documents/AllBankMeasureInfographic.pdf

หากลูกหนี้ท่านใดประสงค์จะศึกษารายละเอียดของแต่ละมาตรการ สามารถกดได้ที่ link นี้ https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Pages/FI_Support.aspx

7.ขั้นตอนการตรวจสอบว่าบุคคลนั้นได้รับผลกระทบจริงทำอย่างไร

ในเบื้องต้นสถาบันการเงินจะพูดคุยกับลูกค้า และขอหลักฐานประกอบ เช่น slip เงินเดือนที่ลดลง เอกสารประกาศปิดกิจการ ของที่ทำงานที่ทำอยู่ เป็นต้น ซึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สถาบันการเงินจะตระหนักและทราบอยู่แล้ว เช่น ธุรกิจ โรงแรม การท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจส่งออก หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ เป็นต้น

8. กรณีหัวหน้าครอบครัวยังไม่ได้ลดเงินเดือน แต่คนในครอบครัวไม่มีรายได้ในช่วงนี้ จะทำอย่างไรได้

ขอให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมแก่สถาบันการเงิน สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการสามารถพิจารณากำหนด วงเงินฉุกเฉินที่มีความจำเป็นต่อการด ารงชีพ ให้แก่ลูกหนี้ได้ตามความเหมาะสม

นอกจากนี้ สำหรับสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบ อาชีพอิสระที่ไม่มีรายได้ในช่วงนี้ สามารถขอสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการให้สินเชื่อ แก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผ่าน ธ.ออมสิน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ให้กู้วงเงิน 10,000 บาท ต่อราย โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งเริ่มโครงการในวันที่ 15 เม.ย. 63  

https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Documents/Measure_Loan.pdf

9.กรณีลูกหนี้ต้องการจ่ายชำระหนี้ตามปกติจะทำได้หรือไม่

ธปท. สนับสนุนให้ลูกหนี้ที่ยังมีกำลังความสามารถจ่ายชำระหนี้ตามปกติ ถึงแม้ว่าจะได้สิทธิพักชำระหนี้เป็นการทั่วไป เพื่อให้มี เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงินก็จะสามารถน าเงินที่ได้รับชำระมาหมุนเวียนช่วยเหลือผู้ที่มีความเดือดร้อน ต่อไปได้

นอกจากนี้ การชำระหนี้ตามกำหนดก็จะไม่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยค้างชำระที่อาจจะเพิ่มขึ้นมาภายหลังด้วย ทั้งนี้ สถาบัน การเงินจะพิจารณาให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแก่ผู้ที่ชำระหนี้ได้ตามปกติตามความเหมาะสม

10. กรณีมีสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์กับผู้ประกอบธุรกิจ non-bank จะได้รับความช่วยเหลือหรือไม่

ธปท. ได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมเช่าซื้อไทย เพื่อให้ช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อตามมาตรการขั้นต่ำ ซึ่งบริษัทสมาชิกได้ให้ ความร่วมมือในการช่วยเหลือลูกหนี้และหลายบริษัทได้ให้ความช่วยเหลือมากกว่าที่ ธปท. กำหนดด้วย ลูกหนี้สามารถเปรียบเทียบมาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละสถาบันการเงินของทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และ non-bank โดยสามารถกด link นี้ซึ่ง ธปท. ติดตามและรวบรวมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

 https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Documents/FI_Supoort_Infograhic_update.pdf

ลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ non-bank ที่เป็นเจ้าหนี้ ผ่านช่องทางตาม Link ที่แนบมานี้ 

https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Documents/FI_Bank_Contact.pdf

11. สถาบันการเงินที่ร่วมโครงการมีแห่งใดบ้าง

สถาบันการเงินทุกแห่ง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบัน การเงินเฉพาะกิจ และ non-bank ที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต Ploan นาโนไฟแนนซ์และบริษัทลูกของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ non-bank ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การก ากับของ ธปท. เช่น ธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง ก็ได้ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือ ลูกหนี้ด้วยเช่นกัน