สั่งประสานจีน ปล่อยน้ำลงโขง กู้วิกฤติแล้ง

06 ก.พ. 2563 | 11:06 น.

นายกฯเรียกประชุมแกปัญหาภัยแล้ง สั่งกต.ประสานจีน ช่วยปล่อยน้ำลงแม่น้ำโขง

 

 

วันที่ 6 ก.พ. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งของหน่วยงาน ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

สั่งประสานจีน ปล่อยน้ำลงโขง กู้วิกฤติแล้ง

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า  ในส่วนของพื้นที่ภาคอีสานมีหารือกัน 3 ส่วน ส่วนแรกคือที่ติดไม่น้ำโขง นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปเจรจากับประเทศจีน เพื่อให้ปล่อยน้ำลงมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามกรอบแม่โขงล้านช้าง ที่มีคณะกรรมการร่วมกัน 6 ประเทศ รวมถึง คณะกรรมการลุ่มน้ำโขงไทย-จีน ส่วนเมื่อจีนปล่อยน้ำลงมาแล้วติดอยู่ที่ลาวก็ต้องเจรจากันต่อไป และทางสทนช.ก็จะติดตามต่อเนื่องว่าน้ำมาถึงไหนและคุณภาพน้ำเป็นอย่างไร และช่วยแก้ปัญหาได้มากน้อยเพียงใด

ส่วนลุ่มน้ำชี นายสมเกียรติ กล่าวว่า นายกฯห่วงไม่อยากให้มีการเร่งระบายน้ำมาจนเกินไป ขอให้มีการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ  ขณะที่แม่น้ำมูลมีโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำป่าสักสู่ลำตะคอง และพื้นที่ จ.นครราชสีมาได้มีการขุดบ่อบาดาลเพื่ออุปโภคบริโภค  

เลขาสทนช. กล่าวอีกว่า พื้นที่ภาคกลาง จะมีปัญหาบางจุดเป็นพื้นที่สูง โดยเฉพาะ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ได้ศึกษาเรื่องการผันน้ำเข้าไปเติมและขุดเจาะบ่อบาดาลเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันออกพื้นที่ EEC คาดการณ์ว่า “น้ำอาจจะขาด” หากไม่มีการผันน้ำมาจากพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งจากการเจรจาคณะกรรมการลุ่มน้ำที่จันทบุรีก็มีการตกลงจะนำน้ำเข้ามาช่วยจากอ่างเก็บน้ำเข้ามาช่วยที่ระยองและจังหวัดชลบุรีด้วย ที่สร้างแล้วเสร็จจึงได้พิจารณาผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแส 80 ล้าน ลบ.ม. ส่งไปยัง จ.ระยอง และชลบุรี มั่นใจว่าจะมีน้ำใช้ถึงเดือนมิถุนายน 

สั่งประสานจีน ปล่อยน้ำลงโขง กู้วิกฤติแล้ง

ส่วนภาคเหนือ สถานการณ์รายอ่างเก็บน้ำพบว่าน้ำที่ปล่อยมากกว่าแผนอยู่ที่ภาคเหนือประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากเมือต้นฤดูมีการปล่อยน้ำออกมามาก ตอนนี้จึงพยายามให้ควบคุมไม่ให้ปล่อยมาเกินไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับว่าต้องดูน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคต้องไม่ขาด  เน้นย้ำเรื่องการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยการเพิ่มแหล่งเก็บน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ที่ต้องเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ป่า หรือ สร้างแหล่งกักเก็บน้ำ ที่บรรจุอยู่ในแผนแม่บท   สำหรับพื้นที่ภาคใต้มีความกังวลในเรื่องน้ำท่วมระยะสั้น ที่มีการดำเนินโครงการที่โครงการระบายน้ำที่ จ.ตรัง และนครศรีธรรมราช 

สั่งประสานจีน ปล่อยน้ำลงโขง กู้วิกฤติแล้ง

นายสมเกียรติ กล่าวด้วยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ช่วงเดือนพ.ค. - มิ.ย.จะมีฝนน้อย อาจจะจีน้ำมากช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. จะมีพายุเข้ามา 1-2 ลูก ช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. ส่งผลให้มีปริมาณน้ำมากขึ้น นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้ สทนช. รวบรวมโครงการที่มีทั้งหมดที่มีความพร้อมหาแหล่งเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันภัยแล้ง ภายใน มิ.ย. เพื่อเก็บไว้ใช้ในปีหน้า สทนช.จึงรวบรวมโครงการได้ประมาณ 2-3 พันโครงการ และโครงการของชุมชน จากนั้นจะมีการประมวลร่วมกัน และจะคิกออฟปลายก.พ.นี้ เพื่อรับการจัดสรรงบประมาณ