กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

01 ต.ค. 2562 | 15:00 น.

 

คำต่อคำ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกฐาพิเศษในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจําปี 2562 “พลิกโฉมเศรษฐกิจ พิชิตการแข่งขัน” Competitive Thailand ระบุ ในงานสัมมนาวิชาการครั้งที่ผ่าน ๆ มาเราได้พูดถึงปัจจัยหลายด้านที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสําคัญของการเพิ่มผลิตภาพ การยกระดับเทคโนโลยี รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรม สิ่งเหล่านี้ทําให้เราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นรากฐานสําคัญของการ พัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

กุญแจสําคัญตัวหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจให้เราก้าวข้ามขีดจํากัดของทรัพยากร ขีดจํากัดทางเทคโนโลยี และผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ครั้งแล้วครั้งเล่า คือ “การแข่งขัน” ซึ่งเป็นประเด็นหลักของงาน สัมมนาวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยประจําปีนี้

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

การแข่งขันเป็นกลไกสําคัญในการสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ การแข่งขันผลักดันให้ ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ต้องพัฒนาความสามารถของตนให้สูงขึ้นกว่าเดิม นําไปสู่ต้นทุนการผลิต ที่ต่ำลง คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้บริโภคและสังคมโดยรวม

ความสําคัญของการแข่งขันต่อผลิตภาพของประเทศนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่เป็นหลักพื้นฐานสําคัญที่ถือกําเนิดและพัฒนาควบคู่มากับวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ Adam Smith ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Wealth of - Nations เมื่อเกือบ 250 ปีที่แล้วว่า การแข่งขันเป็นกลไกสําคัญในการจัดสรรทรัพยากรไปสู่กิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่สร้างประโยชน์สูงสุด

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม หรือระบบเศรษฐกิจที่เน้นการวางแผนจาก ส่วนกลาง ปรับตัวเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงกลไกตลาดและการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิต ของประชากรในระบบเศรษฐกิจเหล่านั้นพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดยธรรมชาติแล้ว ผู้ประกอบการมักจะไม่ค่อยชอบการแข่งขัน และลืมไปว่าการแข่งขันก็เป็น ประโยชน์กับผู้ประกอบการในระยะยาวด้วย โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าระบบเศรษฐกิจในประเทศไม่มีการแข่งขันที่มากพอแล้ว ผู้ประกอบการอาจชะล่าใจ ไม่พัฒนาตนเองมาก เท่าที่ควร ระบบนิเวศของการทําธุรกิจจะเฉื่อยชาและมีต้นทุนสูง ผู้ประกอบการจะขาดทักษะในการปรับตัว อย่างรวดเร็ว เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันซึ่งอาจมาจากภายนอก หรือจากรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่มากับพัฒนาการของเทคโนโลยี ผู้ประกอบการก็จะตั้งตัวไม่ทัน

นอกจากนี้ การแข่งขันยังช่วยสร้างแรงจูงใจ ให้แรงงานพัฒนาทักษะของตนเองเพื่อเพิ่มโอกาสในการจ้างงานและมีรายได้สูงขึ้น รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้ ผู้ประกอบการลงทุนและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจอีกด้วย แรงงาน และธุรกิจที่ไม่พัฒนาตนเองให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและค่อย ๆ ถูก คัดกรองให้ออกจากตลาดไปในที่สุด

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่ดีจะต้องเป็นการแข่งขันที่เปิดกว้าง เป็นธรรม และส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เราปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายธุรกิจที่มีต้นทุนในการเข้าสู่ตลาดสูง หรือมีการ ประหยัดจากขนาด (economy of Scale) ผู้ประกอบการที่อยู่รอดมักเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบในด้านต่าง ๆ ในขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ประกอบการรายใหม่ไม่สามารถเข้ามาแข่งได้ ทํา ให้หลายครั้งการแข่งขันจึงอาจจบลงด้วยการผูกขาดกินรวบในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น การแข่งขันในหลายภาค ธุรกิจยังถูกจํากัดด้วยสิทธิพิเศษที่ผู้ประกอบการบางรายได้รับจากภาครัฐ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็น รัฐวิสาหกิจ 
 

 

หลายครั้งการแข่งขันถูกจํากัดด้วยการใช้ผลประโยชน์จากอํานาจผูกขาดไปยับยั้งกฎเกณฑ์และ กติกาที่จะทําให้ตนเองเสียประโยชน์และกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ให้เข้ามาแข่งขัน ถูกจํากัดโดยการใช้ อํานาจเหนือตลาดหลากหลายรูปแบบ ถูกจํากัดด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์ หรือถูกจํากัดด้วยกฎเกณฑ์กติกา ของภาครัฐที่ล้าสมัย สร้างภาระให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหม่ จนไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม 

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการแข่งขันไม่ใช่เรื่องง่าย มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบ ด้าน หลากหลายมิติ แต่ถ้าปล่อยปัญหาเหล่านี้ไว้ ไม่แก้ไขอย่างจริงจังแล้ว จะสร้างผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ หลายด้านเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ํา ทั้งด้านทรัพย์สิน รายได้ และโอกาส ที่กําลังเป็นปัญหา สําคัญของระบบทุนนิยมในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย นอกจากนี้ จะบั่นทอนความสามารถในการ แข่งขันของประเทศในระยะยาวด้วย ถ้าคนเก่งไม่ได้รับโอกาสให้เข้ามาแข่งขันอย่างเป็นธรรม

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดและกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันกําลังทําให้ภูมิทัศน์ ของการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เกิดความท้าทายมิติใหม่ ๆ ที่ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น

ในด้านหนึ่งนั้น เทคโนโลยีเป็นปัจจัยส่งเสริมการแข่งขัน ทําให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เกิด การทําธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ธุรกิจหลายประเภทต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งจากคู่แข่งรายเดิมและ จากคู่แข่งประเภทใหม่ ๆ หลายธุรกิจกําลังปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว มีต้นทุนการผลิตและต้นทุนการเข้าสู่ตลาดลดลง ระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (sharing economy) และ online platform ต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ และผู้ขายทั่วโลกเชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายขึ้น ให้บริการตั้งแต่ขายสินค้า จองที่พัก เช่าเครื่องจักรการผลิต ตลอด จนถึงระดมทุน ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้รวดเร็ว และเริ่มทําธุรกิจเล็ก ๆ ของตนเองได้โดย ไม่ต้องลงทุนสูง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยส่งเสริมการแข่งขันทั้งสิ้น

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

ในทางกลับกัน เทคโนโลยีก็สามารถเป็นปัจจัยหน่วงรั้งการแข่งขันได้เช่นกัน ความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงที่อาจต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และเงินทุนสูง ทําให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาด กลางและขนาดย่อมเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทําให้ธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถสร้างเครือข่ายและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทําให้ธุรกิจที่ครอบครองข้อมูล ปริมาณมากได้เปรียบคู่แข่ง 

โดยเฉพาะคู่แข่งรายใหม่ที่ไม่มีฐานข้อมูลเดิม ในวันนี้เราเห็นหลายธุรกิจที่พัฒนา online platform ยอมขาดทุนอย่างมากในช่วงแรก เพื่อแลกกับการเร่งยึดครองส่วนแบ่งการตลาด ซึ่ง หมายถึงการครอบครองข้อมูลของลูกค้าจํานวนมากที่สุดไว้ก่อนด้วย การแข่งขันที่เอื้อผู้ประกอบการรายใหญ่ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นนี้ อาจนําไปสู่การผูกขาดในระยะยาว และสร้างความเหลื่อมล้ําในรูปแบบใหม่ได้

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงเป็นเหรียญสองด้าน มีบทบาททั้งสนับสนุนและคุกคามการแข่งขันได้ ในเวลาเดียวกัน ความท้าทายสําคัญที่เรากําลังเผชิญในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อนี้คือ เราจะส่งเสริมการแข่งขันที่ เปิดกว้าง เป็นธรรม และยั่งยืน เพื่อนําไปสู่การสร้างนวัตกรรมและการยกระดับผลิตภาพอย่างต่อเนื่องใน อนาคต ไปพร้อมกับการดูแลให้ผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจกระจายอย่างทั่วถึงได้อย่างไร ในยุคที่โลก ไร้พรมแดนและเทคโนโลยีกําลังเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด

 

 

ในฐานะผู้กําหนดนโยบายและผู้เขียนกฎกติกาสําหรับการแข่งขัน ภาครัฐมีบทบาทสําคัญยิ่งในการ ส่งเสริมและออกแบบการแข่งขันที่จะทําให้ผลิตภาพและศักยภาพของประเทศพัฒนาได้ต่อเนื่อง มีอย่างน้อย 4 บทบาท ที่ผมอยากกล่าวถึง

บทบาทแรก ภาครัฐมีส่วนสําคัญในการสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) ที่เอื้อให้เกิดการแข่งขันอย่าง เปิดกว้างและเป็นธรรม เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามาแข่งขันและเติบโตในธุรกิจที่ ผู้ประกอบการรายเดิมเป็นเจ้าตลาดได้ โดยภาครัฐจะต้องดูแลไม่ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งเอาเปรียบ ผู้ประกอบการรายอื่นหรือใช้อํานาจเหนือตลาดกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ บังคับใช้กฎหมายป้องกันการ ผูกขาดอย่างเข้มงวดและไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ นโยบายและมาตรการของภาครัฐเองควรมีความเสมอภาค ไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ

บทบาทที่สอง การช่วยเหลือของภาครัฐให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถแข่งขันได้ ในโลกใหม่ที่กําลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะต้องเน้นที่การช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลิตภาพของผู้ประกอบการ มี ระบบจูงใจ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ของการทําธุรกิจ การให้เงินอุดหนุนหรือให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อลดภาระผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยไม่ได้ ยึดโยงกับการพัฒนาผลิตภาพและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทําธุรกิจ อาจเป็นเพียงการยืดปัญหาออกไปในอนาคต ทําให้ผู้ประกอบการติดอยู่ในวงจรหนี้ที่สูงขึ้น ไม่ได้ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่จะนําไปสู่ ความยั่งยืนในระยะยาว

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

บทบาทที่สาม ท่ามกลางเทคโนโลยีที่กําลังเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดและรูปแบบการทําธุรกิจที่ ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว กฎระเบียบภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่น สอดรับกับสภาวะแวดล้อมและรูปแบบ การทําธุรกิจที่เปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน โดยเฉพาะสําหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมที่มีต้นทุนต่อหน่วยของการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หลายอย่างสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งต้นทุนทางตรงและ ต้นทุนแฝงที่มีอยู่มากในสังคมไทย กฎหมายที่ไม่จําเป็นควรถูกยกเลิก ข้อบังคับที่ล้าหลังควรได้รับการแก้ไขให้ เท่าทันกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน

บทบาทสุดท้าย การแข่งขันจะต้องไม่นําไปสู่การเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ผู้บริโภคจะต้องได้รับการ คุ้มครองอย่างเหมาะสม กําไรที่เพิ่มขึ้นต้องมาจากการเพิ่มผลิตภาพ ไม่ใช่มาจากการผลักภาระต้นทุนไปให้ ผู้บริโภคหรือมาจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการเพื่อสร้างอํานาจผูกขาด นอกจากนี้ ในโลกยุคดิจิทัล การ คุ้มครองผู้บริโภคจะต้องรวมถึงการใช้ข้อมูลของผู้บริโภคด้วย ธุรกิจจะต้องไม่อาศัยศักยภาพในการประมวลผล ข้อมูลที่สูงกว่าหาประโยชน์จากผู้บริโภคอย่างไม่เป็นธรรม

ภาคการเงินเป็นภาคธุรกิจหนึ่งที่นวัตกรรมและการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทําธุรกิจไปจาก เดิมหลายด้าน นอกจากเทคโนโลยีจะช่วยลดต้นทุนและสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ แล้ว เทคโนโลยียัง ช่วยสร้าง platform เปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่จากทั้งในและนอกภาคการเงิน จากทั้งในและต่างประเทศ เข้า มาประกอบธุรกิจทางการเงินได้ง่ายขึ้นด้วย

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด

ตามที่ได้กล่าวไปตอนต้นแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นเหรียญสองด้านที่อาจสนับสนุน และคุกคามการแข่งขันได้ในเวลาเดียวกัน จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่าง เหมาะสม เปิดกว้าง และเป็นธรรม ในช่วงสามปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการชําระเงินของประเทศอย่างก้าว กระโดด ทั้งผ่านระบบพร้อมเพย์และการใช้ Thai Standard QR Code หลายท่านอาจคิดว่านี่เป็นเพียงเรื่อง ของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่แท้จริงแล้ว การออกแบบระบบนิเวศและโครงสร้างการแข่งขันเป็นสิ่งที่ สําคัญกว่า ทั้งสองโครงการถูกออกแบบโดยยึดหลัก interoperability ที่เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการชําระเงิน หลากหลายประเภท ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ สามารถใช้ประโยชน์จากมาตรฐาน กลางและโครงสร้างพื้นฐานกลางที่เชื่อมโยงกันได้สะดวก ไม่แบ่งแยกเป็นวง ๆ ทําให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้นมาก เกิดนวัตกรรมการชําระเงินรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเป็นฐานสําคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล 

นอกจากนี้ การยกเลิก โครงสร้างค่าธรรมเนียมแบบเดิมที่แบ่งรายได้ระหว่างสถาบันการเงินต้นทางกับสถาบันการเงินปลายทางซึ่งเป็น อุปสรรคสําคัญของการแข่งขัน ได้นําไปสู่การแข่งขันกันลดค่าธรรมเนียมการบริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย การมีระบบการชําระเงินที่เปิดกว้างยังทําให้ข้อมูลการชําระเงินรายธุรกรรมที่เป็นหัวใจสําคัญของโลกการเงินดิจิทัล อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่มาตรฐานของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งที่จะมีอํานาจ เหนือตลาดได้ในอนาคตอีกด้วย

กุญแจ4ดอก'ผู้ว่าแบงก์ชาติ'ปลอดล็อคธุรกิจผูกกขาด