โลกผันผวน หนุนบอนด์ไทยเนื้อหอม

29 ส.ค. 2562 | 23:30 น.

 

กสิกรไทย มองสิ้นปี บาทแข็งแตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ จาก 3 ปัจจัยหลัง สงครามทางการค้า-ข้อกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย-เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยและแบร็กซิทฉุดยอดถือครองพันธบัตรไทย 8 เดือนลด 4 หมื่นล้านบาท กรุงไทยมอง ทุนต่างชาติยังไหลเข้าต่อเนื่อง ซื้อสุทธิในหุ้น 1,000 ล้านดอลลาร์และพันธบัตร 6 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ความกังวลสงครามการค้ารอบใหม่ หลังสหรัฐฯประกาศตอบโต้จีนที่ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ รวมกว่า 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดููจะคลี่คลายลง หลังจากมีข่าวว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะเริ่มกลับมาเจรจาอย่างจริงจังร่วมกัน ทำให้ค่าเงินดอลลาร์เริ่มฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้น แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนัก ซึ่งนักค้าเงินมองว่า เงินบาทน่าจะวิ่งตามค่าเงินหยวนมากกว่า

        นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย กลุ่มงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัย กสิกรไทยฯ เปิดเผยกับ ฐานเศรษฐกิจว่า ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมานักลงทุน ต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิ 10,770.88 ล้านบาท แต่ลดการถือครองพันธบัตร (บอนด์) ไทยลงแล้ว 39,398 ล้านบาท โดย วันที่ 26 สิงหาคม มียอดคงค้างของนักลงทุนต่างชาติที่ 9.471 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดคงค้างที่ 9.865 แสนล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2561 ซึ่งแนวโน้มระยะข้างหน้ายังมองว่า บอนด์ไทยจะได้รับความนิยมของนักลงทุนต่างชาติ แม้มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ทั้งลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(Non-resident :NR) ทั้ง Non-resi dent Baht Account for Securities(NRBS)และบัญชี Non-resi dent Baht Account (NRBA)ที่เข้มขึ้น โดยบัญชี NRBS คือบัญชีเงินบาทของ NR ที่เปิดไว้กับสถาบันการเงินในไทย เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินจากเดิม 300 ล้านบาทเหลือ 200 ล้านบาท และการรายงานการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติให้ลึกขึ้นถึงระดับชื่อของผู้ได้รับผลประโยชน์แท้จริง เพื่อติดตามพฤติกรรมการลงทุนในตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติพักเงินระยะสั้น  

โลกผันผวน  หนุนบอนด์ไทยเนื้อหอม      

 

ช่วงที่เหลือเรายังให้นํ้าหนักกับมาตรการของแบงก์ชาติ ซึ่งทำให้การเข้ามาพักเงินในบัญชี Non-Resident ทั้งบัญชี NRBS และบัญชี NRBA ยากขึ้น โดยครึ่งหลังของปีนี้ นักลงทุนยังต้องการหาแหล่งหลบภัย แม้ฝรั่งจะต้องเข้ามาลงทุนแบบตรงไปตรงมาคือ รายงานการถือครองตราสาร ซึ่่งอัพไซซ์เกณฑ์ไม่มากเหมือนที่ผ่านมา แต่ปัจจัยความไม่แน่นอน จะหนุนตลาดบอนด์ไทยให้เป็นหนึ่งในตัวเลือก แม้จะมีมาตรการของธปท.คอยติดตามอย่างใกล้ชิดก็ตาม

ส่วนความเคลื่อนไหวของเงินบาทตั้งแต่สิ้นปี 2561 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2562 เงินบาทแข็งค่าประมาณ 6.4% เทียบจากสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 32.55 บาทต่อดอลลาร์กับระดับ 30.58 บาทต่อดอลลาร์ โดยสิ้นปี คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 30.50 บาทต่อดอลลาร์

  

โลกผันผวน  หนุนบอนด์ไทยเนื้อหอม  

 จิติพล พฤกษาเมธานันท์   

 

ด้านนายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคาร กรุงไทยกล่าวว่า ทิศทางเงินบาทยังเคลื่อนไหวได้ 2 ทาง โดยโอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่องจากแนวโน้มเงินทุนไหลเข้าจากตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นเงินทุนไหลเข้ามาในตราสารหนี้ ขณะที่ในทางตรงกันข้าม หากเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นโดยเฉพาะหลังการปรับมุมมอง โดยคาดว่า จะมีเงินไหลเข้าตลาดหุ้นเพียงประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ประเมินไว้ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ และตลาดพันธบัตรอาจมีเงินไหลเข้า 3 หมื่นล้านดอลลาร์จากเดิมคาดไว้ราว 8 หมื่นล้านดอลลาร์ สาเหตุของการปรับลดมุมมองดังกล่าว เพราะแนวโน้มตลาดผันผวนทั่วโลก ทำให้เงินลงทุนที่จะไหลเข้าปรับลดลง และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีโอกาสจะปรับลดเร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

ขณะเดียวกันปัจจัยกำหนดทิศทางเงินบาท แม้แนวโน้มเงินทุนไหลเข้าอาจจะปรับลดลง แต่เงินบาทก็มีโอกาสแข็งค่าได้ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าที่ปรับลดลงในทุกๆที่เป็นสถาน การณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดเงินและตลาดทุนอยู่ในความผันผวนทั่วโลกเช่นกัน

โอกาสเห็นเงินทุนไหลเข้าในทวีปเอเชีย มีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งเพราะนักลงทุนวิ่งหาผลตอบแทนที่ดี เพราะหลังจากเฟดปรับลดดอกเบี้ย ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนถ้วนหน้า ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่วิ่งหาสินทรัพย์เครดิตดี เหมือนปีก่อน นักลงทุนเลือกลงทุนในตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High yield)ทั้งภาคเอกชนและตลาดเกิดใหม่

 

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,500 วันที่ 29-31 สิงหาคม 2562

โลกผันผวน  หนุนบอนด์ไทยเนื้อหอม