วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว ปัญหาที่ไร้ทางออก?   

19 ก.ค. 2562 | 02:00 น.

                ย้อนกลับไป ตั้งแต่ต้นปี 2561 จนถึงวันนี้  “สื่อ” ยังเผชิญกับวิกฤติรอบด้าน  มีสื่อมากกว่า 30 สื่อที่เกิดการเปลี่ยนแปลง  ทั้งปิดตัวลง  เปลี่ยนแพลตฟอร์ม รวมถึงคงสถานะเดิมแต่ลดคน ลดต้นทุน

                เมื่อต้องเผชิญปัญหาทั้งต้นทุนแพง โฆษณาไม่เข้า ยอดขายไม่เกิด  ฯลฯ  สิ่งแรกที่ทุกสื่อเลือกที่จะก้าวเดินคือ “ลดต้นทุน”  และต้นทุนแรกที่ถูกลดคือ “คน”

วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว  ปัญหาที่ไร้ทางออก?   

วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว  ปัญหาที่ไร้ทางออก?         

                                บรรยากาศการประมูลทีวีดิจิตอล ปี 2556 

              การที่ “ทีวีดิจิตอล” ประกาศลดคน สื่อสิ่งพิมพ์ก็เคยประกาศลด “คน” ไปแล้วหลายระลอก  แม้จะเป็นเหมือนคลื่นเล็กๆ มาเป็นระลอก (เล็กๆ) เสียงโอดครวญอาจไม่ดังเท่าคลื่นแรงๆ สูง 2-3 เมตร แต่เส้นทางของ “นักข่าว” ที่กำลังจะเป็นอดีตก็เลือกที่จะเดินหน้าต่อ หลายคนยังเดินในสายวิชาชีพสื่อ ทั้งที่เปลี่ยนหัวเรือหรือลงมือทำสำนักข่าวในแพลตฟอร์มอื่น หลายคนเลือกที่จะหันหลัง ขอนับ 1 ในอาชีพใหม่ ไม่ว่าจะเป็นค้าขาย  หรือสายงานอื่น   

                นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน ทีวีดิจิตอลทั้ง 7 ช่องที่ยื่นขอคืนใบอนุญาตก็ต้องปิดตัวลง แม้กสทช. จะจ่ายเงินค่าชดเชยให้รวมเบ็ดเสร็จ 7 ช่องเป็นเงินเกือบ 3,000 ล้านบาท เมื่อถึงวันนั้นคาดว่าจะมีคนตกงานอีกนับพันคน ทั้งที่เป็นนักข่าวและคนในแวดวงที่เกี่ยวข้อง               

                ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา “ข่าวในช่องทีวี” จะใช้คนเปลืองกว่าข่าวในสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ เพราะออกหาข่าวแต่ละครั้งต้องใช้ทั้งนักข่าวและทีมงานอีกอย่างน้อย 1-2 คน (ตากล้อง-ผู้ช่วยตากล้อง)  ขณะที่คอนเทนต์ข่าว กลายเป็นหัวใจของหลายๆ ช่อง ทั้งที่เป็นช่องข่าวและสาระ  รวมถึงช่องวาไรตี้ ทั้ง SD และ HD

                ในปีที่ผ่านมาขุมกำลังคนข่าวของแต่ละช่องถึงอัดแน่นไปแล้วคนคุณภาพ  จำได้ว่าย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อนหลังจากที่แต่ละบริษัททุ่มเงินก้อนโตชิงประมูลทีวีดิจิตอล เกิดศึกชิงตัวนักข่าวจ้าละหวั่น บางช่องทุ่มเงินให้เงินเดือนเพิ่มเท่าตัว + ตำแหน่งใหม่ นักข่าวใหม่ประสบการณ์ 1-3  ปี เงินเดือนเหยียด 3 หมื่น  ประสบการณ์ 3- 5 ปี เงินเดือน 4 หมื่นอัพ  จึงไม่แปลกอะไรที่จะเกิดการโยกค่าย ย้ายหัวกันแบบปัจจุบันทันด่วน

                แน่นอนว่า “ทีวีดิจิตอล” คือโอกาส  คือประวัติศาสตร์ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือการก้าวข้ามผ่าน ไม่เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเท่ากับ “ไทย” จะย่ำอยู่กับที่ เหมือนเช่นกับ 4G ที่กำลังเกิดขึ้น

วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว  ปัญหาที่ไร้ทางออก?   

                ปัญหาที่เกิดคือ ความไม่พร้อม   แต่ทางออกก็ไม่ใช่การคืนใบอนุญาต เพราะมาถึงวันนี้ ผู้ประกอบการคืนใบอนุญาตได้  กสทช. จ่ายเงินชดเชยได้ แต่ปัญหา “ฟองสบู่สื่อ”  ทางออกคืออะไร                 

                 ล่าสุด การประกาศเลิกจ้างกว่า 200 ชีวิตของช่อง 3 Family (ช่อง 13) และช่อง 3 SD (ช่อง 28)  คือคลื่นอีกระลอก ที่ลอยมากระทบฝั่ง ยังมีอีกหลายช่องที่ต้องปิดตัวลง ซึ่งก่อนจะถึงวันนั้น (เริ่มต้น 15 สิงหาคม 2562) แต่ละช่องเริ่มทยอยเสนอเงื่อนไขและข้อตกลง เพื่อให้พนักงานเซ็นยินยอมรับข้อเสนอที่บริษัทให้ พร้อมจากลากันไปด้วยดี (เพราะไม่อยากมีปัญหาฟ้องร้องกันทีหลัง) 

วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว  ปัญหาที่ไร้ทางออก?   

             ไม่ว่าจะเป็นสปริง 26  (ช่อง NOW เดิม) และสปริงนิวส์ (ช่อง 19) ที่จะยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2562  หรือจะเป็นวอยซ์ ทีวี ที่จะยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 พร้อมโยกไปออกอากาศในแพลตฟอร์มดาวเทียมแทน ปัญหาเรื่องคนก็น้อยหน่อย

วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว  ปัญหาที่ไร้ทางออก?     

              

                 ส่วนช่องอสมท ที่จะยุติการออกอากาศช่อง MCOT Family  (ช่อง 14)  ในวันที่ 16 กันยายน 2562 แม้ก่อนหน้านี้จะยืนยันว่า จะเอาคนออกให้น้อยที่สุด เพราะยังมีช่องหลักอย่าง MCOT ที่ยังคงออนแอร์อยู่ แต่ช่อง MCOT เองก็อยู่ในช่วงเจ็บออดๆ แอดๆๆ ทั้งอุ้ม ทั้งแบกคนเดิมก็ยังลำบาก หากต้องรับอีก ก็เข้าตำรา “เตี้ยอุ้มค่อม” เชื่อว่าเวลานี้  ขั้นตอนการศึกษา แผนลดคนของอสมท น่าจะยุติได้ในเร็วๆนี้

วิกฤติสื่อ วิบากกรรมคนข่าว  ปัญหาที่ไร้ทางออก?   

                 แต่ที่ระอุที่สุด กลายเป็น “ดราม่า” ท่วมจอแซงหน้า “กาสะลอง” เห็นจะเป็นข่าวการเก็บกระเป๋า สัมภาระ โบกมือลาถิ่นพระราม 4 ของคนข่าวทั้งช่อง 3 SD (ช่อง 28) และช่อง 3 Family (ช่อง 13)  ซึ่งหลายคนเกาะติดกันมาตั้งแต่สมัยหนองแขม  ไต่เต้า เติบโต ต่อสู้มาด้วยกัน เมื่อวันหนึ่งถูกขอ (ร้อง) ให้มาช่วยสร้าง ช่วยปั้นช่องใหม่ก็มา แล้ววันหนึ่งก็ถูกขอ (ร้อง) ให้ไปเพื่อช่วยให้องค์กรยืนหยัดอยู่ต่อไปได้

                แน่นอนว่า BEC เองปฏิบัติถูกต้องตามข้อกฎหมาย ข้อเสนอให้กับพนักงานเป็นไปตามที่กฏหมายแรงงานกำหนด แถมด้วยเงินชดเชยพิเศษที่ได้จากกสทช. ถือเป็นสินน้ำใจ

               แต่ชะตาชีวิตของคนสื่อเหล่านี้จะเป็นอย่างไร วิกฤติสื่อยังไม่หยุดแค่นี้  ฟองสบู่สื่อแตกจริงหรือ คลื่นมนุษย์สื่อ ที่กระแทกกระทั้นออกมาเป็นระลอกๆ  มีใครได้ยินเสียงนั้นบ้าง อย่าให้เสียงเหล่านี้หายไปเลย  อยากให้เป็นเสียงคลื่นที่ส่งต่อให้หลายๆคนได้ยิน...