KBANK ปรับกลยุทธ์ ลูกค้าไพรเวตแบงก์

25 ม.ค. 2562 | 12:32 น.
ภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในทิศทางชะลอตัว จากความกังวลว่า เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ปัญหาสงครามการค้าระหว่าง

จีนและสหรัฐฯที่ยังยืดเยื้อ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศหลักๆที่จะส่งผลต่อตลาดเงินตลาด ทุนทั่วโลกให้มีความผันผวนและคาดเดาได้ยากมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) อาจต้องปรับกลยุทธ์ทิศทางการดำเนินธุรกิจ หรือปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดรับกับภาวะตลาดที่มีแนวโน้มความผันผวนและความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

แนวโน้มดังกล่าว“จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์” Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เล่าถึงกลยุทธ์ธุรกิจปี 2562 ให้ “ฐานเศรษฐกิจ”ฟังว่า ทิศทางของลูกค้า Private Banking จะไม่เน้นการลงทุนเป็นหลัก เพราะบรรยากาศการลงทุนผันผวนค่อนข้างสูง ทำให้ลูกค้าระมัดระวังการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเราคาดว่า ความผันผวนนี้จะอยู่ไปถึงกลางปี ดังนั้นระหว่างรอบรรยากาศการลงทุนกลับมา จึงจะเน้นการวางแผนการลงทุน (Wealth Planning Service) หรือให้คำปรึกษาวางแผนการเงิน ทั้งในส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงออกผลิตภัณฑ์ลงทุนใหม่ๆ อย่างเร็วๆนี้ จะออกผลิตภัณฑ์ลงทุนในหุ้นที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากภาวะตลาดกลับมาดีขึ้น ก็พร้อมเดินหน้าลงทุนให้ลูกค้าทันที

[caption id="attachment_378527" align="aligncenter" width="503"] จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์[/caption]

อย่างไรก็าม การปรับพอร์ตในช่วงที่ตลาดผันผวน จะต้องแบ่งลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ค่อนข้างอ่อนไหว (Sensitive)ควรปรับพอร์ตถี่ขึ้นและเพิ่มสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงตํ่า และกลุ่มที่รับความเสี่ยงได้ และถือยาว อาจไม่ต้องปรับพอร์ตบ่อย เพราะทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส จึงควรมองระยะยาวเกิน 5 ปี ซึ่งจากความผันผวนของตลาด ทำให้ผลตอบแทน(Yield) อาจจะยังไม่เป็นบวกจากปี 2561 ที่ผลตอบแทนพอร์ตเฉลี่ยติดลบ 6-8% สอดคล้องกับตลาดหุ้นในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่บางประเทศติดลบกว่า 20% ตลาดเอเชียติดลบ 20% ต้นๆ ยุโรปติดลบ 6% และสหรัฐฯ ติดลบ 8%

“ภาวะตลาดที่ผันผวนรวมถึงทิศทางดิจิตอลที่เข้ามามีบทบาท เราจึงปรับกลยุทธ์ที่เคยเน้นให้สิทธิประโยชน์พิเศษในด้านไลฟ์สไตล์ต่างๆที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้า หันมามุ่งส่งเสริมองค์ความรู้และต่อยอดธุรกิจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแผนใหญ่บรรจุในการดำเนินธุรกิจ เพราะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการแข่งขันของไพรเวตแบงค์ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิตอล ขณะที่การจัดสัมมนาให้ความรู้การลงทุนเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อเดือน แนะนำผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ และสิทธิพิเศษต่างๆ เราก็ยังทำเป็นปกติ แต่จะเพิ่มองค์ความรู้ด้านดิจิตอลเทคโนโลยีที่จะปรับใช้ในธุรกิจของลูกค้าเข้าไป”

090861-1927-9-335x503-8-335x503-9-2-335x503

โครงการแรกที่จะเพิ่มองค์ความรู้และต่อยอดให้ลูกค้า จะเป็นการจัดทริปดูงานในด้านดิจิตอลเทคโนโลยี ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ช่วงเดือนมีนาคมนี้ โดยจะรับลูกค้าเพียง 20-30 คน เพื่อศึกษาดูงานสตาร์ตอัพเทคโนโลยีราว 15-20 บริษัท เน้นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจลูกค้าได้ เช่น ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง ซัพพลายเชน การทำบัญชี และโลจิสติกส์ โดยจะมี Use Case เพื่อนำมาต่อยอดและเกิดประโยชน์กับธุรกิจของลูกค้าอย่างแท้จริง

เบื้องต้นจะเน้นดูงานเพื่อให้เห็นถึงเทคโนโลยีต่างๆที่อาจนำมาต่อยอดธุรกิจลูกค้าได้ แต่อาจยังไปไม่ถึงการต่อยอดลงทุนในเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะการลงทุนต้องหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญและอยู่ในระดับโลก เพราะจะเห็นว่า การลงทุนในเทคโนโลยีสตาร์ตอัพส่วนใหญ่จะถูกเพียง 1% และผิด 99% แต่ส่วนที่ถูก 1% สามารถทำรายได้ถึง 99% ซึ่งคุ้มค่าการลงทุนเพราะการลงทุนในสตาร์ตอัพ ไม่ได้พูดถึงผลตอบแทน(Yield )แค่ 6-7% ต่อปี แต่เป็น 7 เท่าต่อปี หรือเติบโต 700% ดังนั้นธนาคารจะต้องทำให้การลงทุนนั้นถูกต้องด้วย ซึ่งการผลักดันเรื่องนี้ไม่ยาก เพราะลูกค้าสนใจเรื่องเทคโนโลยีสตาร์ตอัพมาก แต่เริ่มต้นไม่ถูก ธนาคารจึงต้องเริ่มต้นให้ลูกค้าก่อน

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,438 วันที่  24 - 26 มกราคม พ.ศ. 2562

595959859