GGCผนึกChempolisฟินแลนด์นำเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มชานอ้อยเหลือใช้

22 ส.ค. 2561 | 09:25 น.
GGC จับมือ Chempolis ฟินแลนด์ ใช้เทคโนโลยีเฉพาะทาง สร้างมูลค่าเพิ่มชานอ้อยเหลือใช้  พัฒนา NBC เฟส 2 ให้ก้าวไกลสู่ขั้นสุด

22 สิงหาคม 2561- Mr. Mika Tapani Lintilä รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ สาธารณรัฐฟินแลนด์และ Her Excellency Miss Satu Suikkari-Kleven เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ได้ให้เกียรติเป็นประธานใน “พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ Cellulosic Technology มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากชานอ้อย เพื่อต่อยอดโครงการนครสวรรค์ ไบโอคอมเพล็กซ์ในระยะที่ 2” ระหว่างบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS และ Chempolis Limited เจ้าของเทคโนโลยี Cellulosic

ggc

นายเสกสรร อาตมางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC กล่าวว่า ตามที่ GGC และ KTIS ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อต้นปี 2561 เพื่อศึกษาและวางแผนก่อสร้างโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (Nakhon Sawan Biocomplex) หรือ NBC ซึ่งแบ่งโครงการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งเป็นโครงการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร ประกอบด้วยโรงงานผลิตเอทานอล ไฟฟ้าชีวมวล ระบบสาธารณูปโภค และระบบส่งเสริมกระบวนการผลิตกลางของโครงสร้างพื้นฐานรองรับโครงการระยะที่สอง (มูลค่าโครงการจากการประเมินราว 7,650 ล้านบาท)

ต่อด้วยโครงการระยะที่สองประกอบด้วย โรงงานเคมีและพลาสติกชีวภาพ โรงงานอาหารเสริม (มูลค่าการลงทุนจากการประเมินราว 10,000-30,000 ล้านบาท และในระยะที่สองนี้ GGC และ KTIS มีแนวทางในการนำชานอ้อย ซึ่งเป็น Biomass มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการนำมาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม กอปรกับพบว่า Chempolis เป็นผู้พัฒนา Cellulosic Technology ของตนเอง สามารถนำชานอ้อยมาเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและสารมูลค่าสูง อาทิ Furfural Acetic Acid และ Lignin จึงสนใจในการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อพัฒนาไปสู่โครงการในอนาคต และเป็นที่มาของพิธีลงนามในวันนี้

090861-1927-9-335x503

ความคาดหวังของบริษัทฯ ต่อผลลัพธ์ในระยะยาว (5-10 ปี) จากการลงทุนก่อสร้างนครสวรรค์ ไบโอคอมเพล็กซ์ในพื้นที่นำร่องจังหวัดนครสวรรค์ คือ มูลค่าทางเศรษฐกิจชีวภาพและมูลค่าเพิ่มจากอ้อยจะเพิ่มขึ้น เกิดการพัฒนาและส่งเสริมความรู้สมัยใหม่ด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ในระยะเริ่มต้น รายได้เกษตรกรต่อคนต่อปีเพิ่มขึ้นจากอัตราการจ้างงาน เกิดการจ้างงาน Knowledge workers / High-tech labor ในกลุ่มพลังงานชีวภาพ เคมีและพลาสติกชีวภาพหลายหลายตำแหน่ง

ช่วยสนับสนุนการผลิตพลังงานชีวภาพที่สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน (ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558 - 2579) การพัฒนาต่อยอดด้านการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งสร้างศูนย์นวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงผ่านความร่วมมือจาก หน่วยงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และท้ายที่สุด คือ ช่วยส่งเสริมการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกชีวภาพด้วย

e-book-1-503x62-7