'คีรี' ท้ารบ 'ซีพี' ชิงไฮสปีด! เปิดอาณาจักรแสนล้าน - 'บีทีเอส' ประกาศยึดทุกโปรเจ็กต์

01 มิ.ย. 2561 | 13:02 น.
010661-1928

[caption id="attachment_286509" align="aligncenter" width="423"] คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ฯ คีรี กาญจนพาสน์
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ฯ[/caption]

เปิดอาณาจักรแสนล้าน! 'คีรี' เจ้าพ่อระบบรางเมืองไทย ประกาศยึดทุกโปรเจ็กต์รัฐ รถไฟฟ้า ยันศูนย์คมนาคมบางซื่อ ล่าสุด ชิง 'เจ้าสัวซีพี' ประมูลไฮสปีดเทรน มั่นใจ! "โนว์ฮาว-เงินทุน-พันธมิตร" แกร่ง ขณะที่ 'ธนินท์' ไร้ประสบการณ์

รถไฟฟ้าสายสีเขียว 'บีทีเอส' สร้างรายได้และผลกำไรอย่างมหาศาลให้กับ คีรี กาญจนพาสน์ ด้วยจุดแข็งทั้งพันธมิตรและประสบการณ์ ส่งผลให้แวดวงที่เกี่ยวข้องต่างมองว่า เค้กโครงสร้างพื้นฐานในมือรัฐ ย่อมหนีไม่พ้นมังกรผู้นี้ โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงอีอีซี แม้จะมีคู่แข่งระดับเบอร์หนึ่งของประเทศ แต่เขามั่นใจว่า จะได้เค้กก้อนนั้นมาครองไม่ยาก ขณะเดียวกัน การปักหมุดลงทุนอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ค่ายแสนสิริ ยังคงเดินหน้าอย่างมั่นคง กับ 28 โครงการเกาะแนวรถไฟฟ้า


Screen Shot 2561-06-01 at 19.22.04

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ฯ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประกาศทีโออาร์ประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน บริษัทใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ศึกษาเงื่อนไขการลงทุน ซึ่งมีพันธมิตรเดิม อย่าง บริษัท ซีโน-ไทย เอนจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และราชบุรี โฮลดิ้ง แต่หากมีต่างชาติเข้ามาร่วมทุนและให้ระบบเทคโนโลยีกับบริษัทไม่น้อยกว่า 50% ก็จะยินดี ซึ่งขณะที่ ปตท. เอง ยอมรับว่า ได้มีการพูดคุย เบื้องต้น ทุกค่ายจะเข้าไปซื้อซองเพื่อมาศึกษา

เมื่อถามถึง 'เจ้าสัวซีพี' นายธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งมีกระแสแรงมาตลอดต่อการเข้าชิงชัยประมูลรถไฟความเร็วสูง กับนักลงทุนจีนที่มีองค์ความรู้ด้านรถไฟความเร็วสูง บีทีเอสกรุ๊ปจะสู้ไหวหรือไม่ นายคีรี ตอกย้ำว่า เจ้าสัวซีพีถือเป็นเบอร์หนึ่งของเมืองไทย แต่ไม่มีประสบการณ์ทางด้านระบบราง หากเทียบกับบีทีเอส กลับมีประสบการณ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีความชำนาญ มีองค์ความรู้ มีเงินทุน ซึ่งสถาบันการเงินเข้ามาติดต่อต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนเงินลงทุน อีกทั้งยังดึงแหล่งผลิตวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพได้ดีกว่า ทำให้มั่นใจว่า จะเข้าไปลงทุนรถไฟความเร็วสูงอีอีซีได้

 

[caption id="attachment_286510" align="aligncenter" width="503"] ธนินท์ เจียรวนนท์ ธนินท์ เจียรวนนท์[/caption]

"ยืนยันว่า วันนี้บีทีเอสมีคู่แข่งสำคัญ ยิ่งซีพีมีพันธมิตรที่มีประสบการณ์ ยิ่งต้องแข่งขันแน่นอน และถือว่า เรามีคู่แข่ง ส่วนพาร์ตเนอร์ เรามี 2 ราย คือ ซิโน-ไทย มีความชำนาญด้านการก่อสร้าง และราชบุรีโฮลดิ้ง ที่เป็นบริษัทใหญ่ ที่มองบีทีเอสเป็นมืออาชีพด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น"


GP-3369_180601_0017

นอกจากนี้ ยังศึกษารูปแบบการพัฒนามักกะสัน ว่า ที่ดินก้อนนี้ เดิมที่เคยมองว่า อาจเป็นภาระ กลับกันจะทำให้ไม่เป็นภาระได้อย่างไร ส่วนศูนย์คมนาคมบางซื่อ เชื่อว่า ต.ค. นี้ สู้กันดุเดือดแน่ และบริษัทก็สนใจเข้าร่วมประมูล


appMAP-3193

ขณะที่ แลนด์แบงก์ในจังหวัดอีอีซี ยอมรับว่า ซื้อไม่ทันนักลงทุนค่ายอื่น แต่มีบ้าง ไม่มากถึง 10,000 ไร่ เหมือนซีพี และหากได้ลงทุนรถไฟความเร็วสูง แน่นอนว่าจะต้องพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเมืองรอบสถานีรถไฟควบคู่กันไป นอกจากรถไฟความเร็วสูงกว่า 2 แสนล้านแล้ว บริษัทยังเตรียมแข่งขันประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก กว่าแสนล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้กว่าแสนล้านบาท หลังชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองกว่าแสนล้านบาท ส่วนแผนขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเข้าในเมืองทองธานี จ.นนทบุรี จำนวน 2 สถานี ซึ่งบีทีเอสลงทุนร่วมกับ บี-แลนด์ ขณะนี้ รอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อนุมัติ คาดว่าเร็ว ๆ นี้ ขณะนี้ การประเมินรายได้ผลกำไร มั่นใจว่า บีทีเอสที่เปิดให้บริการและที่กำลังจะเดินรถสายสีเขียวใต้จะโตปีละ 25%

ส่วนแผนลงทุนอสังหาริมทรัพย์กับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัทได้ถ่ายโอนที่ดินแนวรถไฟฟ้าและที่ดินสะสมจังหวัดอีอีซี มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีที่ดินสะสมหลายแปลง ให้กับ บริษัท ยูซิตี้ฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่จะขยายออกไป

 

[caption id="attachment_286512" align="aligncenter" width="503"] กวิน กาญจนพาสน์ กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปฯ กวิน กาญจนพาสน์
กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปฯ[/caption]

นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปฯ เสริมว่า โครงการคอนโดมิเนียม ซึ่งจอยต์เวนเจอร์กับแสนสิริ ขณะนี้ เปิดขาย 11 โครงการ จากแผน 25 โครงการ และเพิ่มอีก 3 โครงการ รวม 28 โครงการ ล่าสุด ปิดการขายไปแล้ว 3 โครงการ มองว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จ และจะจับมือเป็นพันธมิตรไปด้วยกันตลอดไป

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า เตรียมประกาศเชิญชวนนักลงทุนที่สนใจร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และที่ดินมักกะสัน มูลค่ารวม 2.2 แสนล้านบาท ในวันที่ 30 พ.ค. 2561 หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ ขายซองโดยให้เวลาเอกชนเตรียมเอกสาร 4 เดือน วันที่ 12 พ.ย. กำหนดให้ยื่นซองประกวดราคา


TP12-3296-C-1

อย่างไรก็ดี เข้าใจว่า มีเอกชนไทยและต่างชาติให้ความสนใจจำนวนมาก อาทิ ตัวหลัก "บีทีเอส , ซีพี, ราชบุรีโฮลดิ้ง และ ปตท." ส่วนนักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาจอยต์เวนเจอร์กับนักลงทุนไทยได้ ส่วนเงื่อนไข ต้องผ่านงานระบบรางด้านรถไฟความเร็วสูง มีสภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น ส่วนศูนย์คมนาคมบางซื่อ จะให้สิทธิ์เอกชน เพียงช่องขายตั๋ว และพื้นที่ชานชาลา ซึ่งเอกชนให้ความสนใจพอสมควร


……………….
เซกชัน : อสังหาฯ โดย ฐานเศรษฐกิจ

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,369 วันที่ 27-30 พ.ค. 2561 หน้า 29-30

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
‘คีรี’เดินหน้าร้อยชักสามผุดโรงแรมหรู1.5พันล้าน
จันตราคีรี เชียงใหม่หรูหราสไตล์ล้านนา


e-book-1-503x62-7