ทีเอ็มบีลุ้นปิดดีลรัฐ-เอกชนต่อยอดซัพพลายเชน

04 มิ.ย. 2561 | 03:40 น.
ด้วยพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจ เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาบริการทางการเงินที่มุ่งสร้างประสบการณ์ใหม่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจและการใช้ชีวิตเพื่อให้ลูกค้าแต่ละกลุ่ม “ได้มากกว่า” ส่งผลให้ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี สามารถคว้ารางวัลยอดเยี่ยมด้านบริหารเงินและเงินทุนหมุนเวียนจากภาครัฐ (Best in Treasury and Working Capital-Public Sector Award) จาก  THE Asset นิตยสาร ด้านการเงินและการธนาคารชั้นนำของเอเชียตอกยํ้าผลสัมฤทธิ์จากความมุ่งมั่นให้บริการด้านซัพพลายเชนมาตั้งแต่ปี 2552 จนสามารถตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ

[caption id="attachment_285725" align="aligncenter" width="503"] TMB รัชกร ชยาภิรัต[/caption]

“รัชกร  ชยาภิรัต” หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ทีเอ็มบีได้บุกเบิกและเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงการภาครัฐทั้งซัพพลายเชน โดยทำงานเป็นกระบวนการแบบ End to End ทั้ง 3 ส่วนคือ ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งเอกชนจะแบ่งเป็นผู้รับเหมาที่เข้าประมูลกับผู้ขาย

โดยจะสนับสนุนผู้ประ กอบการทั้งรายใหญ่และขนาดกลาง ตั้งแต่ให้คำแนะนำ ให้วงเงินหนังสือคํ้าประกันหรือสินเชื่อในการประมูลงาน และขอรับเงินล่วงหน้า ซึ่งภาครัฐจะให้ราว 15% ของมูลค่าโครงการ เท่ากับทีเอ็มบีช่วยซัพพลายเชนในส่วนที่เหลือ เช่น สินเชื่อหมุน เวียนระยะสั้น(O/D, P/N)ในรูปแบบ P/N ซึ่งต้นทุนจะลดลงจาก แบบ O/D ที่ค่อนข้างแพงและเพิ่ม ความสะดวก รวดเร็วด้วยการยกระดับงานเป็นระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น e-Guaranty e-Bidding หรือ e-Invoice

นอกจากนั้น การให้บริการในกลุ่มธุรกิจอื่นๆบนหลักการคือ ลดต้นทุนและนำเสนอบริการได้ในเวลาสั้นและราคาไม่แพง ที่สำคัญธนาคารเห็นการเคลื่อนไหวบัญชีการค้าทั้งขาซื้อ/จ่ายและรับทำให้วิเคราะห์โดยลดความเสี่ยงด้านเครดิตและสามารถบริหารเอ็นพีแอลได้อยู่ในระดับตํ่ากว่า 1%

“ที่ผ่านมา เราให้บริการสินเชื่อด้าน Buyer Financing คิดเป็น 70% ของทั้งจำนวนลูกค้าและวงเงิน และกำลังจะเพิ่มในส่วนของ Supplier Financing มากขึ้น ซึ่งจุดแข็งคือ เราใส่ใจที่จะตอบโจทย์ของลูกค้าจริงไม่ใช่แค่ทำผิวๆ และยังใช้เวลาสั้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการหรือนวัตกรรมในราคาสมเหตุสมผลสามารถคุมต้นทุนและได้รับวงเงินที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสนับสนุนซัพพลายเชนของเรา จะมีธีมลูกค้าต้องได้มากกว่าหรือ Get More with TMB เมื่อลูกค้าและคู่ค้าเห็นประ โยชน์จะบอกต่อซึ่งปากต่อปากจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ”

สำหรับช่วงที่เหลือปีนี้ จะเริ่มขยายฐาน Developer และผู้ประกอบการรายใหญ่ต่อยอดจากรางวัลภาครัฐ โดยอยู่ระหว่างเจรจากับหน่วยงานรัฐอีก 4 แห่งและเอกชนอีก 2 รายคาดว่า ภายในสิ้นปี จะสามารถเพิ่มฐานลูกค้าภาครัฐได้ 4 หน่วยงานจากที่มีอยู่แล้ว 4 หน่วยงาน และในกลุ่มลูกค้าเอกชน 2 รายจากที่มีอยู่ 4 ราย ซึ่งแต่ละซัพพลายเชน จะมีลูกค้า 50-60 รายต่อเชน บางเชนมีถึง 100 ราย ซึ่งการทำตลาดยังเกาะกลุ่มภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจเอสเอ็มอีที่มียอดขายตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป โดยตั้งเป้าเติบโตทั้งปี 50%

นอกจากนั้น ทีเอ็มบียังมุ่งหวังจะยกระดับบริการงานเอกสาร เพื่อให้บริการโอน รับ จ่ายเป็นอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งใบกำกับภาษีและบริการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการวางบิลเรียกเก็บเงิน ซึ่งจะจูงใจลูกค้ามาใช้ช่องทางนี้มากขึ้นและสนับสนุนการใช้ QR สำหรับนิติบุคคลที่ให้ความสนใจเพิ่มขึ้น แต่ในขั้นตอนต้องให้ความรู้ความเข้าใจควบคู่กันด้วย

                   หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจปีที่38 ฉบับ 3,370 วันที่31 พ.ค.-2 มิ.ย. 2561 e-book-1-503x62-7