ครม.เห็นชอบแนวปฏิบัติของคสช.ในการป้องกันและปราบปรามทุจริตระบบราชการ

27 มี.ค. 2561 | 09:31 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ครม.เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของ คสช.ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระบบราชการ

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เสนอแนวทางต่อรัฐบาลในมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระบบราชการ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)(27 มี.ค. 61) ได้มีมติเห็นชอบตามแนวทางดังกล่าวและขอให้แต่ละหน่วยราชการยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

"คสช. มีอำนาจที่จะเสนอแนะเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้รัฐบาลไปดำเนินการได้ ซึ่งมาตรการป้องกันปราบปรามการกระทำผิดและประพฤติมิชอบในระบบราชการนั้น ที่ประชุม คสช.เมื่อเช้าได้เสนอเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับรัฐบาล ซึ่งเมื่อเสนอแล้ว รัฐบาลได้นำมาพิจารณาในที่ประชุม ครม.ด้วย และมีมติเห็นชอบตามนั้น"
san โดยแนวทางที่ คสช.เสนอไว้ ระบุว่าเมื่อมีข่าวว่าเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ ขอให้หัวหน้าส่วนราชการเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงทันทีภายใน 7 วันที่ได้รับทราบข้อมูลการทุจริตเกิดขึ้น และให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในเวลา 30 วัน โดยหากตรวจสอบแล้ว มีข้อมูลเบื้องต้นพอเชื่อได้ว่าจะเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับ ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาตามขั้นตอนดังนี้

1. ให้ปรับย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นชั่วคราว แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงยังสามารถโยกย้ายภายในหน่วยงานหรือกระทรวงเดิมได้ แต่หากเป็นเรื่องที่ร้ายแรง หรือเห็นว่าอยู่ในหน่วยงานเดิมแล้วอาจทำให้เกิดความยุ่งเหยิงของพยานหลักฐาน ให้ย้ายไปปฏิบัติราชการที่หน่วยงานอื่นแทน เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งรองรับถึง 100 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานมีไม่เพียงพอ ให้ร้องขอมาที่สำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีได้

2. หลังจากตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่ามีหลักฐานชัดเจนถึงขั้นที่สามารถชี้มูลได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการดำเนินการทางวินัยทันที โดยไม่ต้องรอผลคดีอาญา เช่น การปรับลดเงินเดือน การให้ออกจากราชการไว้ก่อน เป็นต้น
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 3. หากมีข้อมูลที่สามารถสรุปส่งให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ศอ.ตช.) รับไปทำคดีอาญาได้ ก็ให้ส่งให้ ศอ.ตช.ดำเนินการทันที

ทั้งนี้ ในแนวทางของ คสช.ได้เน้นย้ำให้หัวหน้าส่วนราชการที่พบปัญหาการทุจริต จะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และไม่ประวิงเวลา หากข้าราชการมีความผิดทางวินัยร้ายแรง หรือมีการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แต่ไม่ถึงขั้นปลดออกหรือไล่ออก ให้หน่วยงานต้นสังกัดปรับย้ายไปอยู่ตำแหน่งอื่น แต่ห้ามย้ายกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมภายในเวลา 3 ปี รวมถึงห้ามย้ายไปในตำแหน่งที่สูงกว่าเดิมภายในเวลา 3 ปี ขณะเดียวกันให้หัวหน้าส่วนราชการวางแนวทางในการคุ้มครองพยานอย่างเหมาะสมด้วย

"ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การใช้อำนาจตามมาตรา 44 แต่เป็นการใช้อำนาจปกติ...เป็นการนำอำนาจของ คสช.ที่มีอยู่เดิม และมีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาพิจารณา ซึ่ง คสช.ได้เสนอไว้ และ ครม.รับเรื่องนี้มาประชุมหารือ และรับเป็นมติ ครม.ให้ดำเนินการตามนั้น" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

e-book-1-503x62