การพัฒนาศูนย์กลางการบิน

12 ก.ย. 2560 | 23:15 น.
P11-3295-B ปัจจุบันรัฐบาลไทยเร่งผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาประเทศที่เรียกว่า Thailand 4.0ซึ่งเป็นโมเดลทางเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-based Economy) และเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-drivenEconomy) โดยให้มีการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) และหนึ่งใน Cluster อุตสาหกรรม ที่ภาครัฐจะให้มีการผลักดันคืออุตสาหกรรมการบินโดยได้อนุมัติแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยาน โดยเฉพาะแผนพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงและอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน และการซ่อมบำรุงเครื่องบินของภูมิภาคบนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) ได้แก่ กิจการสาธารณูปโภค และบริการเพื่อการขนส่ง ศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์ทันสมัยการบริการและซ่อมบำรุงอากาศยานอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ธุรกิจมูลค่าสูงที่ต้องการความเร็วจากการขนส่งทางอากาศ(Time Sensitive Product) อากาศยานไร้คนขับ(Drone) การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ระบบนำทางและซอฟต์แวร์ต่างๆ และสถาบันการศึกษาและอบรมด้านการบิน เป็นต้น

EEC ดำเนินการตามแผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ของประเทศ รองจากสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองโดนมีแผนขับเคลื่อนที่มีความก้าวหน้าโดยมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนดังนี้การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาควบคู่กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ ส่งเสริมธุรกิจการซ่อมบำรุง MRO เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงของภูมิภาคเนื่องจาก MRO เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธุรกิจการบิน สนับสนุนให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินหลักที่รองรับการขนส่งทางอากาศที่จะเกิดขึ้นภายหลังการพัฒนาพื้นที่ EEC และมีการเชื่อมโยงการเดินทางเข้าสู่ กทม. ด้วยรถไฟความเร็วสูง

การพัฒนาเขตประกอบการค้าเสรี (FreeTrade Zone) ในบริเวณพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาเพื่อเป็นมาตรการส่งเสริมให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค BOI มีมาตรการให้สิทธิทางภาษีแก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรมการบิน เช่น การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,295 วันที่ 10 - 13 กันยายน พ.ศ. 2560 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว