อัพเดท สถานการณ์ทุเรียนไทย-ผลไม้ ตลาดเจียงหนาน นครกว่างโจว

23 เม.ย. 2566 | 02:33 น.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผนึกทูตเกษตร สำรวจตลาดทุเรียนไทย-ผลไม้ ตลาดเจียงหนาน นครกว่างโจว พร้อมตั้งคณะทำงาน Thai Premium Fruits ดูทุกผลไม้แล้วไม่ใช่ดูแลแค่ทุเรียน

นายปรัตถกร แท่นมณี กงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำนครกว่างโจว  เผยว่า ได้สำรวจสถานการณ์การค้าผลไม้ในตลาดค้าส่งผักและผลไม้เจียงหนาน นครกว่างโจว พบว่า ปัจจุบันเป็นช่วงที่ผลไม้ของไทยเข้าสู่ตลาดเจียงหนานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และมะพร้าวอ่อน ในขณะที่ลำไยมีเข้ามาจำหน่ายในตลาดเจียงหนานในปริมาณน้อย ประมาณวันละ 5-10 ตู้ โดยผลไม้ไทยดังกล่าวนำเข้าผ่านทางรถบรรทุก และทางเรือเป็นหลัก

ทุเรียน “ ในช่วงนี้มีการนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดเจียงหนาน ประมาณวันละ 150-180 ตู้  โดยปัจจุบันทุเรียนสายพันธุ์หลัก ได้แก่ หมอนทอง ชะนี พวงมณี ในขณะที่ทุเรียนพันธุ์กระดุมเริ่มไม่มีจำหน่ายในตลาดเจียงหนานแล้ว โดยสัดส่วนการจำหน่ายทุเรียนในตลาดเจียงหนาน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% ในขณะที่ทุเรียนเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10%

อัพเดท สถานการณ์ทุเรียนไทย-ผลไม้ ตลาดเจียงหนาน นครกว่างโจว

จากการสอบถามผู้ประกอบการให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ทุเรียนเวียดนามมีผลผลิตลดน้อยลง ในขณะที่ผลผลิตทุเรียนไทยมีจำนวนมากขึ้นและคุณภาพดีกว่าทุเรียนเวียดนาม ผู้นำเข้าจึงนิยมนำเข้าทุเรียนไทย เนื่องจากมั่นใจในคุณภาพของทุเรียนไทย รวมทั้งผู้บริโภคชาวจันยังคงมั่นใจในคุณภาพและชื่นชอบในรสชาติของทุเรียนไทย โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทยที่ได้รับความนิยมและขายดี เนื่องจากเนื้อนุ่มหนา เม็ดเล็ก  และรสชาติหวานอร่อย สำหรับราคาจำหน่ายทุเรียนในตลาดเจียงหนาน พบว่า ทุเรียนเกรด A ราคาลังละ 700-750 หยวน เกรด B ราคาลังละ 600-650 หยวน (บรรจุ 6-7 ลูก น้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม)

มังคุด” มีการนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดประมาณวันละ 20-30 ตู้ โดยส่วนใหญ่เป็นมังคุดผิวลาย ซึ่งผู้ประกอบให้ข้อมูลว่าช่วงนี้มังคุดคุณภาพเนื้อค่อนข้างดี ไม่มีเนื้อแก้ว โดยปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับผิวมังคุดมากนัก แต่ให้ความสนใจกับคุณภาพของเนื้อมังคุดด้านในมากกว่า โดยมังคุดที่วางจำหน่ายมีขนาดตั้งแต่ 2A – 6A ราคากล่องละประมาณ 200-300 หยวนแล้วแต่ขนาด (น้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม)

อัพเดท สถานการณ์ทุเรียนไทย-ผลไม้ ตลาดเจียงหนาน นครกว่างโจว

มะพร้าวอ่อน”  มีการนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดประมาณวันละ 30-50 ตู้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในตลาดจีนอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแตกต่างจากมะพร้าวของจีนที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน โดยปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ของมะพร้าวจะมี 2 ลักษณะ คือ แบบปกติ (ไม่มีที่เปิด) และแบบมีที่เปิดตรงด้านบนของมะพร้าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค สำหรับราคาจำหน่ายมะพร้าวในตลาดเจียงหนาน ราคาลังละประมาณ 60-80 หยวน (ลังละ 9 ลูก)

สอดคล้องนายระพีภัทร์ จันทร์ศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ให้กงสุลเกษตร กว่างโจว ช่วยติดตามสถานการณ์ผลไม้ไทยที่จีน เน้นย้ำ เกษตรกร ผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุรักษาคุณภาพผลไม้ ฝากถึงผู้ขนส่งlogistics ต่างๆ ด้วย ทั้ง เรือ รถ รถไฟ อากาศ ตัองใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ควบคุมอุณหภูมิ คุมความเย็น ให้ดี จะได้รักษาคุณภาพผลไม้ โดยเฉพาะยิ่งหน้าร้อน ยิ่งต้องตรวจตุ้มควบคุมอุณหภูมิให้ดีๆ ขนส่งทางบก เรือ หลายวัน เสียหาย  อย่าดราม่า กันอีก ไม่คุ้ม ที่สำคัญไม่ใช่แค่ทุเรียน ขอให้ทุกชนิด โดยเฉพาะ มังคุด และเงาะ ที่กำลังอยู่ในฤดูการผลิต เช่นกัน ซึ่งราคากำลังดีๆ อยู่ อย่ามักง่าย เรื่องคุณภาพ และอย่าตัดราคากันเอง

ระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

“กรมวิชาการเกษตร ตั้ง คณะทำงาน Thai Premium Fruits ไว้ ดูทุกผลไม้ ไม่ใช่แค่ทุเรียน  แต่บางคนบอกทำไม ไม่ดูเงาะ หรือมังคุด ด้วย  จริงๆ เราดูทั้งหมด แต่ คนก็ยังมักง่ายเยอะ  อะไรที่ ระเบิดจากข้างใน มันดีกว่าให้รัฐบาลคุมทุกอย่างดังนั้นจึงขอให้เกษตรกร ล้ง ผู้ประกอบการ ต้องร่วมมือกันจึงจะสำเร็จ  ย้ำนโยบาย DOA ยังต้อง DOA Together เลยสานพลังกับเครือข่ายเดินไปข้างหน้าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกัน